การเปรียบเทียบวิธีการต่างๆที่ใช้ในการวินิจฉัยโรคเต้านมอักเสบของโคนม

Main Article Content

นุกูล อินทระสังขา
มงคล ประทุมมณี
สุชาติ สุขสถิตย์
ไชยวรรณ วัฒนจันทร์

Abstract

       ปัจจุบันการตรวจวินิจฉัยโรคเต้านมอักเสบ (Mastitis) ในโคนมมีหลายวิธี เช่น การตรวจด้วยน้ำยาทดสอบ California Mastitis Test (CMT)   การตรวจนับปริมาณเซลล์โซมาติกด้วยเครื่อง Somacount 150 และ/หรือการตรวจ จุลินทรีย์สาเหตุของโรคเต้านมอักเสบด้วยเทคนิคการใช้อาหารเลี้ยงเชื้อ (culture-based technique) สำหรับการศึกษา ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพการตรวจวินิจฉัยโรคเต้านมอักเสบของเทคนิคดังกล่าวกับเทคนิค ที่ดัดแปลงจากวิธีการดั้งเดิม ได้แก่ เทคนิคการย้อมสีเซลล์ด้วยสี methylene blue  การนับตรงด้วยกล้องอีพิฟลูออเรสเซนซ์ โดยย้อมสีเซลล์ด้วยสารเรืองแสง 4ʹ, 6-diamidino 2-phenylindole (DAPI) และเทคนิค Fluorescence In Situ Hybridization (FISH) ด้วยวิธีดัดแปลงให้เหมาะสมกับตัวอย่างน้ำนมดิบ จากผลการศึกษาพบว่าวิธีการที่เหมาะสม คือ การตรวจปริมาณเซลล์โซมาติกในน้ำนมดิบด้วยเครื่อง Somacount 150 ซึ่งเป็นการตรวจเชิงปริมาณที่มีความแม่นยำและ รวดเร็ว แต่มีค่าใช้จ่ายสูงและใช้เครื่องมือที่มีราคาแพง ส่วนเทคนิคการนับจำนวนเซลล์โซมาติกด้วยกล้องจุลทรรศน์ โดยการย้อมเซลล์ด้วยสี methylene blue มีประสิทธิภาพทัดเทียมกับการตรวจด้วยเครื่อง Somacount 150 ในตัวอย่าง น้ำนมดิบที่มีปริมาณเซลล์โซมาติกมากกว่า 200,000 เซลล์/มล. (P>0.05) นอกจากนั้นยังสามารถนับปริมาณเซลล์ แบคทีเรียโดยตรงร่วมด้วยได้ในการย้อมสีเพียงครั้งเดียว ทำให้มีค่าใช้จ่ายน้อยและเป็นทางเลือกที่เหมาะสมสำหรับ ห้องปฏิบัติการทั่วไปในการตรวจวินิจฉัยโรคเต้านมอักเสบ  สำหรับการใช้เทคนิค FISH ที่พัฒนาขึ้นมีความเป็นไปได้ ในการนำมาใช้ตรวจชนิดของแบคทีเรียในน้ำนมดิบ (เช่น Staphylococcus spp. และ Streptococcus spp.) ได้ โดยจะ มีผลทำให้การวินิจฉัยโรคเต้านมอักเสบมีความรวดเร็วและถูกต้อง และมีราคาถูกกว่าวิธีการที่ใช้กันอยู่ทั่วไป

            A number of techniques has commonly been used in mastitis diagnosis, for example, California Mastitis Test (CMT), Somatic cell count by Cytofluorometry (such as Somacount 150) and /or direct mastitis pathogens detection using culture-based technique. The aims of this study, therefore, were to compare the current techniques and the newly developed techniques, namely modified methylene blue staining, DAPI direct count and Fluorescence In Situ Hybridization (FISH). This study indicated that the use of Somacount 150 was most efficient, consuming lesser time with more accuracy but rather expensive and difficult for small laboratory to obtain the equipment. Modified methylene blue staining technique showed a similar result (P>0.05) with the Somacount 150 when numbers of somatic cell were higher than 200,000 cell/ml. Methylene blue staining, however, was the most appropriated method to detect this disease due to its efficiency with low cost as well as provides dual results of somatic cell and bacterial cell number in one test. Nevertheless, the results from this study showed that the modified FISH technique has a high potential in diagnosing the mastitis caused by pathogenic bacteria such as Staphylococcus spp. and Streptococcus spp. Moreover, the technique consumes less time and be more economical than the conventional methods.

 

Article Details

Section
Research Articles