ประสิทธิภาพของระบบกรองน้ำของการเลี้ยงหอยหวาน (Babylonia arcolata)
Main Article Content
Abstract
ศึกษาระบบกรองน้ำที่เหมาะสมในการเลี้ยงหอยหวานระยะวัยรุ่นที่ระดับความหนาแน่นเชิงพาณิชย์ โดยทำ การทดลอง ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งสงขลา ซึ่งหอยหวานที่นำมาใช้ในการทดลองมีความยาวเปลือก เริ่มต้น 1.026 – 1.047 เซนติเมตร วางแผนการทดลองแบบสุ่มตลอด ชุดการทดลองละ 3 ซ้ำ การทดลองใช้ตู้กระจกขนาด (กว้างxยาวxสูง) 45x75x45 เซนติเมตร ภายในตู้ทดลองใส่ทรายทะเลที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของเม็ดทราย ประมาณ 0.2 มิลลิเมตร ชั้นทรายมีความหนาประมาณ 10 เซนติเมตร บรรจุน้ำทะเลตู้ละ 100 ลิตร และให้หอยกิน เนื้อปลาหลังเขียวเป็นอาหาร โดยใส่หอยในตู้ทดลองจำนวน 12 ตู้ ๆ ละ 170 ตัว (ความหนาแน่นเท่ากับ 500 ตัว/ ตารางเมตร) ทำการทดลองเป็นระยะเวลา 68 วัน แบ่งระบบน้ำออกเป็น 4 ชุดการทดลอง ทุกชุดการทดลองน้ำทะเล จะไหลผ่านตลอดด้วยอัตรา 2.25 ลิตร/ชั่วโมง โดยชุดการทดลองที่ 1 ใช้ระบบเปิดน้ำไหลผ่านตลอด ชุดการทดลองที่ 2 ใช้ระบบน้ำหมุนเวียนที่ผ่านการบำบัดโดยใช้ระบบกรองชีวภาพ ชุดการทดลองที่ 3 ใช้ระบบน้ำหมุนเวียนที่ผ่านการ บำบัดโดยใช้ระบบกรองร่วมกับการใช้โอโซน และชุดการทดลองที่ 4 ใช้ระบบน้ำหมุนเวียนที่ผ่านการบำบัดโดยใช้ ระบบกรองชีวภาพร่วมกับการใช้โอโซน พบว่าชุดการทดลองที่ใช้ระบบกรองชีวภาพร่วมกับการใช้โอโซนมีความ เหมาะสมในการเลี้ยงหอยหวานมากที่สุด เพราะหอยมีอัตราการรอดตาย (70.98%) อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อ (0.99) และผลผลิตของหอยที่เพิ่มขึ้น (681.14 กรัม/ตารางเมตร) ดีเกือบที่สุดเป็นรองจากชุดการทดลองที่ใช้ระบบ เปิดน้ำไหลผ่านตลอดเท่านั้น นอกจากนี้ยังพบว่า อุณหภูมิ ความเค็ม ความเป็นกรด–ด่าง ความเป็นด่าง ไนไตรท์ ฟอสเฟต และ BOD ในแต่ละชุดการทดลองไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p > 0.05) แต่แอมโมเนีย และของแข็งแขวนลอยในชุดการทดลองที่ใช้ระบบเปิดน้ำไหลผ่านตลอดสูงกว่าชุดการทดลองอื่นๆ (p < 0.05)