ผลของความหนักในการออกกำลังกายต่อระดับสารต้านอนุมูลอิสระในพลาสมา

Main Article Content

ปรียาลักษณ์ โคหนองบัว
ศราวุธ อินทราพงษ์
ผกาพร ธนปริสุทธิ

Abstract

       การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการออกกำลังกายที่ความหนักระดับปานกลาง และความหนัก สูงต่อระดับของสารต้านอนุมูลอิสระในรูป TAC  กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตหญิงจากมหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง จำนวน 30 คน สุขภาพแข็งแรง และไม่ได้ออกกำลังกายเป็นประจำมาก่อน  แบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็น 3 กลุ่ม ๆ ละ 10 คน คือ  1) กลุ่มควบคุม ปฏิบัติกิจวัตรประจำวันปกติ  2) กลุ่มทดลองที่ 1 ฝึกโปรแกรมออกกำลังกายที่ระดับความหนัก ปานกลาง และ 3) กลุ่มทดลองที่ 2  ฝึกโปรแกรมออกกำลังกายที่ระดับความหนักสูง  ทั้งนี้กลุ่มทดลองทั้งสองกลุ่มทำการ ฝึก 3 วันต่อสัปดาห์ เป็นระยะเวลา 10 สัปดาห์ จากนั้นทำการทดสอบหาระดับสารต้านอนุมูลอิสระ  
        ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า  กลุ่มทดลองที่ 2 มีระดับสารต้านอนุมูลอิสระเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05  แต่อย่างไรก็ตามกลุ่มทดลองที่ 1 มีแนวโน้มของระดับสารต้านอนุมูลอิสระเพิ่มขึ้น   มากกว่ากลุ่มควบคุม
       ผลการทดลองพบว่า โปรแกรมการรออกกำลังกายแบบแอโรบิกด้วยเป็นระยะเวลา 10 สัปดาห์ กระตุ้นให้มีการ เพิ่มขึ้นของระดับสารต้านอนุมูลอิสระในเลือด

        This study was undertaken to investigate the effect of  moderate intensity exercise and  high intensity  exercise on total antioxidant capacity (TAC)  level. Studied subjects included 30 healthy  women from  Thaksin University, Phattalung Campus, who had not been engaged in regular aerobic exercise. Subjects were divided into 3 groups: 1) the control group  (n = 10) was assigned to perform regular activities; 2) the experimental group I (n = 10) was trained with a moderate intensity exercise program; and 3) the experimental group II  (n = 10) was trained with a high intensity exercise program. The training regime for both experimental groups I and II was conducted 3 days per week for a period of 10 weeks. The plasma levels of  TAC was  then measured at the end of the training period. 
          Results showed that there were a significant increase of the TCA level among subjects from the experimental group II  when compared to the control group (both p < 0.05). Subjects from the experimental group I also tended to have an increased level of TAC when compared to the control group. 
           The present study demonstrates that a regular aerobic exercise over the 10 week period can increase the TAC level. This study provides evidence supporting the importance of the aerobic exercise. 

Article Details

Section
Research Articles