การวัดประสิทธิภาพการดำเนินงานของโรงพยาบาลทั่วไป ในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เส้นห่อหุ้ม (DEA)

Main Article Content

ศุภศิว์ สุวรรณเกษร
ณรงค์ศักดิ์ หนูสอน
ณัฐเชษฐ์ พูลเจริญ

Abstract

การจัดสรรงบประมาณทางด้านสุขภาพจากส่วนกลางนั้น จะต้องยึดหลักความเสมอภาคบนพื้นฐานของความมี ประสิทธิภาพ และเช่นเดียวกันโรงพยาบาลทุกแห่งที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณ จะต้องบริหารจัดการกับงบประมาณ ที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์สูงสุด จึงจำเป็นที่ภาครัฐ และโรงพยาบาลทุกแห่ง (ในสังกัดสำนักงานปลัด กระทรวงสาธารณสุข) จะต้องเข้าใจและสามารถประยุกต์เครื่องมือ หรือตัวชี้วัดเชิงประสิทธิภาพต่างๆ เพื่อใช้ในการ บริหารจัดการ
        วัตถุประสงค์ในการศึกษาครั้งนี้คือ (1) ศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพทางเทคนิค (2) ศึกษาเพื่อวัดความมี ประสิทธิภาพจากขนาดการผลิตของโรงพยาบาลทั่วไปในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข โดยการนำข้อมูล ตัวแปรปัจจัยนำเข้า (งบประมาณ) และผลผลิต(ปริมาณบริการของโรงพยาบาล) ในปี 2550 ไปวิเคราะห์ด้วยเทคนิค Data Envelopment Analysis : DEA ซึ่งเป็นโปรแกรมคณิตศาสตร์เชิงเส้นที่ใช้วัดประสิทธิภาพการทำงานขององค์กรชนิดหนึ่ง 
         ผลการศึกษา พบว่า โรงพยาบาลทั่วไปที่ทำการศึกษามีประสิทธิภาพโดยรวม (Global Technical Efficiency) เฉลี่ย เท่ากับร้อยละ 78.9 ซึ่งในจำนวนนี้มีโรงพยาบาลทั่วไปที่มีประสิทธิภาพโดยรวม 12 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 18.18 และ มีประสิทธิภาพโดยรวม จากโรงพยาบาลทั่วไปที่ทำการศึกษา และจากการศึกษาความมีประสิทธิภาพจากเทคนิคการ ผลิต (Pure Technical Efficiency) พบว่า โรงพยาบาลทั่วไปที่ทำการศึกษา มีค่าประสิทธิภาพจากเทคนิคการผลิตเฉลี่ย เท่ากับ 0.827 นั่นหมายความว่าในภาพรวมแล้วโรงพยาบาลทั่วไปทุกแห่งสามารถลดการใช้ปัจจัยการผลิตลงได้อีกร้อยละ 17.3  เพื่อทำให้เกิดการใช้ปัจจัยการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับการศึกษาความมีประสิทธิภาพด้านขนาด (Scale Efficiency) พบว่า โรงพยาบาลทั่วไปที่ทำการศึกษา มีค่าประสิทธิภาพด้านขนาดเฉลี่ย เท่ากับ 0.952 นั่นหมายความว่าใน ภาพรวมแล้วโรงพยาบาลทั่วไปทั้งหมดสามารถปรับขนาดการใช้ปัจจัยการผลิตอีกเพียง ร้อยละ 4.8  เพื่อทำให้เกิด ประสิทธิภาพทางเทคนิค 
       การวิเคราะห์ประสิทธิภาพด้วยแบบจำลอง DEA สามารถนำไปใช้ปรับปรุงการบริหารปัจจัยการผลิต โดยการ แนะนำเพื่อให้เกิดความเหมาะสมมากขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับโรงพยาบาลที่มีประสิทธิภาพ  โรงพยาบาลที่ยังขาด ประสิทธิภาพ จึงสามารถนำผลการวิจัย มาอ้างอิงเพื่อเปรียบเทียบหาข้อบกพร่องจากการดำเนินงานและกำหนดแนว นโยบาย หรือเป้าหมายการดำเนินงาน เพื่อให้โรงพยาบาลดังกล่าวมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นจนถึงระดับ  “แนวหน้า”

Article Details

Section
Research Articles