ความพร้อมขององค์การบริหารส่วนตำบลในการรับการถ่ายโอนสถานีอนามัย

Main Article Content

เรืองฤทธิ์ ฤทธาภัย
วัลลภา คชภักดี
จุฑารัตน์ สถิรปัญญา

Abstract

        การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความพร้อมขององค์การบริหารส่วนตำบล ในการรับการถ่ายโอนสถานีอนามัย กลุ่มตัวอย่างเป็นนายก ประธาน และปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลในพื้นที่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 222 คน ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2551 ถึงวันที่ 25 มกราคม 2552 ด้วยแบบสอบถามความพร้อมขององค์การบริหารส่วนตำบลในการรับการถ่ายโอนสถานีอนามัย ซึ่งผู้วิจัยพัฒนาจากการทบทวนวรรณคดีและเอกสารวิชาการที่เกี่ยวข้อง มีค่าสัมประสิทธิแอลฟาของคลอนบาค 0.94 ผลการวิจัยพบว่า ระดับความพร้อมขององค์การบริหารส่วนตำบลในการรับการถ่ายโอนสถานีอนามัยอยู่ในระดับ มาก ทั้งภาพรวม  ( x = 3.16, SD = 0.74) และรายด้าน   คือ ด้านการบริหารจัดการ (x = 3.26) รองลงมาคือด้านงบประมาณ (x = 3.19) ส่วนด้านบุคลากรและด้านทรัพย์สินคะแนนเฉลี่ยเท่ากัน (x = 3.08) ซึ่งประเด็นความพร้อม 36 ประเด็น (ร้อยละ 80)  มีความพร้อมระดับมาก และความพร้อม 9 ประเด็น (ร้อยละ 20) อยู่ในระดับน้อย  
           องค์การบริหารส่วนตำบลมีความพร้อมในการรับการถ่ายโอนสถานีอนามัยระดับมาก แต่ยังมีข้อจำกัดบางประเด็น ทั้งการบริหารจัดการ ด้านงบประมาณด้านบุคลากร และด้านทรัพย์สิน จึงยังมีความจำเป็นที่จะต้องเตรียมความพร้อม ต่อไป โดยควรจัดการฝึกอบรมหรือประชุมชี้แจงแนวทางการบริหารจัดการ แก่บุคลากร เจ้าหน้าที่สาธารณสุขให้มีความ ชัดเจนในการปฏิบัติงานและพร้อมดำเนินงานด้านสาธารณสุขขององค์การบริหารส่วนตำบลให้มีประสิทธิภาพ ควร สนับสนุนความรู้ทางวิชาการสาธารณสุขเพื่อพัฒนางานและบุคลากรเพื่อรับการถ่ายโอนแก่บุคลากร หรือผู้มี ส่วนเกี่ยวข้องในการบริหารและรับผิดชอบงานด้านสาธารณสุขขององค์การบริหารส่วนตำบลควรกำหนดระเบียบขั้นตอน การถ่ายโอนทั้ง 4 ด้านให้ชัดเจนก่อนที่จะดำเนินถ่ายโอนในระยะต่อไป 

         The objective of this descriptive research was to examine the level of readiness of Subdistrict Administrative Organization (SAO) in acceptance of the transferring primary care unit (PCU). Two hundred and twenty two samples drawing from head of SAO, chairman of SAO council, and SAO head office who has been working at SAO in Suratthani province. The questionnaire was developed by researcher framing based on related literature. The alpha’s chronbach of the questionnaire was 0.94. The results showed that the level of readiness of SAO on transferring PCU to SAO was at high level for the total score (x = 3.16, SD = 0.74) and each dimension: management (x = 3.26), budget management (x = 3.19), personnel management (x = 3.08), and asset management (x = 3.08).  Thirty six items (80%) were rated at high level nine items (20 %) were rated at low level of readiness.
           Although the readiness of SAO in acceptance the transferring PCU to SAO for the total score was at high level, nine items were rated at low level of readiness. These need to be taken into serious considered for readiness preparation.

    

Article Details

Section
Research Articles