การตอบสนองทางสรีรวิทยาของยางพาราภายใต้ระบบกรีดแบบ DCA และระบบกรีดแบบรอยกรีดเดียวในจังหวัดสงขลา

Main Article Content

ศักดิ์อนันต์ แซ่ลิ่ม
สายัณห์ สดุดี

Abstract

        ศึกษาการตอบสนองทางสรีรวิทยาและผลผลิตของยางพาราพันธุ์ RRIM 600 ภายใต้ระบบกรีดแบบ DCA และ ระบบกรีดแบบรอยกรีดเดียวในอำเภอหาดใหญ่ และอำเภอนาหม่อม จังหวัดสงขลา ระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงเดือน กันยายน 2552 บันทึกข้อมูล ปริมาณแสง ค่าศักย์ของน้ำในใบ ค่าชักนำปากใบ ความชื้นภายในดิน การเจริญเติบโตของราก ปริมาณน้ำยาง และปริมาณเนื้อยางแห้งเฉลี่ย ผลการศึกษาพบว่า ค่าการชักนำปากใบของยางพาราที่ใช้ระบบกรีดแบบ DCA มีค่าสูงกว่ายางพาราที่ใช้ระบบกรีดแบบรอยกรีดเดียว และค่าศักย์ของน้ำในใบของยางพาราที่ใช้ระบบกรีดแบบ DCA มีค่าต่ำกว่ายางพาราที่ใช้ระบบกรีดแบบรอยกรีดเดียวทั้งในพื้นที่อำเภอหาดใหญ่ และอำเภอนาหม่อม ปริมาณความ ชื้นภายในดิน และการเจริญเติบโตของรากยางพาราที่ใช้ระบบกรีดแบบ DCA มีปริมาณต่ำกว่ายางพาราที่ใช้ระบบกรีด แบบรอยกรีดเดียวทั้งสองพื้นที่ และที่อำเภอหาดใหญ่ผล ผลิตน้ำยางของยางพาราที่ใช้ระบบกรีดแบบ DCA สูงกว่า ยางพาราที่ใช้ระบบกรีดแบบรอยกรีดเดียวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ที่อำเภอนาหม่อมไม่มีความแตกต่างทางสถิติ ปริมาณเนื้อยางแห้งเฉลี่ยของยางพาราที่ใช้ระบบกรีดแบบ DCA เปรียบเทียบกับระบบกรีดแบบรอยกรีดเดียวไม่มีความ แตกต่างกันทางสถิติทั้งสองพื้นที่ 

         The physiological responses and yield of rubber tree (RRIM 600) under DCA tapping system compared with conventional tapping system were investigated. The experiments were established at Hat Yai and Namom District, Songkhla Province during July-September 2009. Stomatal conductance, leaf water potential, light intensity, soil moisture, root growth, dry rubber content and latex yield were recorded. The results showed that physiological responses, stomatal conductance of DCA tapping system was higher than the conventional tapping system, but leaf water potential of DCA tapping system was lower than the conventional tapping system. Soil moisture content and root growth in the treatment of DCA tapping system were lower than the conventional tapping system in both areas. At Hat Yai District, latex yield of DCA tapping system provided significantly higher than that of the conventional tapping system. However, there was no significant difference of latex yield between the both treatments at Namom district. The average dry rubber content in DCA tapping system was not significantly different from that of the conventional tapping system in both districts. 

Article Details

Section
Research Articles