อิทธิพลของตำแหน่งของัสันใบพัดแบบโค้งต่อประสิทธิภาพของกังหันลมแกนตั้งเพลาร่วมหมุนสวนทางกัน

Main Article Content

ธเนศ ไชยชนะ
ะสัมพันธ์ ไชยเทพ

Abstract

        งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำการศึกษาอิทธิพลของตำแหน่งหนาสุดของส่วนโค้ง หรือสันของใบพัด กังหันลมแบบโค้ง ต่อความเร็วลมเริ่มหมุนของกังหัน และประสิทธิภาพของกังหัน โดยกังหันที่ใช้ในการศึกษาเป็น กังหันลมแกนตั้งแบบเพลาร่วมหมุนสวนทางกัน ทำการศึกษาในอุโมงค์ลมแบบเปิดความเร็วต่ำ ทดสอบที่ความเร็ว ลม 1-7 เมตร/วินาที และภาระที่กระทำที่เพลาของกังหัน 100-1,000 กรัม ใบพัดของกังหันสร้างจากไม้โดยมีตำแหน่ง หนาสุดของส่วนโค้ง หรือสันของใบพัดกังหันที่ตำแหน่ง 25% 50% และ 75% ของความกว้างของใบกังหันวัดจาก ปลายของใบกังหัน ผลการศึกษาพบว่าตำแหน่งสูงสุดของส่วนโค้ง หรือสันของใบพัดกังหันแบบโค้งที่เหมาะสม ที่สุดคือ ที่ตำแหน่ง 50% ซึ่งมีค่าความเร็วลมเริ่มทำงานเฉลี่ยเท่ากับ 1.85 เมตร/วินาที โดยมีค่าน้อยว่ากรณีที่ตำแหน่ง หนาสุดของส่วนโค้งของใบพัดกังหันที่ 25% และ 75% ของความกว้างของใบกังหันประมา  ณ 8-10% และให้ค่า สัมประสิทธิ์กำลังและสัมประสิทธิ์แรงบิดสูงที่สุดเฉลี่ยเท่ากับ 6.2% และ 31.8% ตามลำดับ

            The objective of this research was to study the effect of ridge position of curved blade to cut in speed and power coefficient. The Vertical Co-Axis Counter-Rotating Wind Turbine type was used to study. The turbine was examined in open flow and low wind speed wind tunnel type of 1-7 m/s. Moreover, sizes of load in a range of 100 to 1,000 g were varied. The blades were made from wood and the position of ridge at 25%, 50% and 75% of length from tip of rotor. It was found that the suitable position of ridge was 50% of length from tip of rotor or symmetry blade. The average cut in wind speed was 1.85 m/s, which less than 25% and 75% of length from tip 8-10%. The highest power and torque coefficient was 6.2% and 31.8%, respectively. 

Article Details

Section
Research Articles