การส่งเสริมพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จังหวัดชัยนาท

Main Article Content

พรเจริญ บัวพุ่ม
ปารวีร์ กุลรัตนาวิโรจน์

Abstract

         ผลการศึกษา พบว่า พฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของกลุ่มตัวอย่างมีความสัมพันธ์เชิงเส้นตรงกับตัวแปร พฤติกรรมเดิม การรับรู้สถานะสุขภาพ การรับรู้ประโยชน์ของการมีพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ ปัจจัยแวดล้อม สิ่งกระตุ้นภายนอก ความหมายของสุขภาพ รายได้ การรับรู้ความสามารถของตนเอง การรับรู้การควบคุมสุขภาพและความ สำคัญ ของสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยตัวแปรพยากรณ์ทั้ง 10 ตัวแปรสามารถพยากรณ์พฤติกรรมสร้างเสริมสุข ภาพของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จังหวัดชัยนาทได้ร้อยละ 47.6 ซึ่งสามารถนำมากำหนดแนวทางในการส่งเสริมพฤติกรรมสร้าง เสริมสุขภาพผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จังหวัดชัยนาท ประกอบไปด้วยการบูรณาการ 4 แนวทางหลัก คือ การส่งเสริมพฤติกรรมสร้าง เสริมสุขภาพตนเองของผู้ป่วย การส่งเสริมบทบาทสมาชิกครอบครัวในการดูแลผู้ป่วยโดยใช้ครอบครัวเป็นฐาน การส่งเสริม บทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขในการเยี่ยมบ้านแบบเสริมพลังอำนาจและการพัฒนาบริการสาธารณสุขเชิงรุกในชุมชน 

         Prior health promotion behavior, perceived health status, perceived benefits of health promoting behaviors, situational factors, external cues to action, perceive definition of health, incomes, perceived self-efficacy, perceived control of health, and importance of health were the factors significantly predicting health promotion behavior of patients with chronic illness. These factors could explain 47.6% of the variance in health promotion behavior of patients with chronic illness. There were four major strategies to enhance health promotion behavior of patients with chronic illness in Chainat province: encouraging 

Article Details

Section
Research Articles