ชีววิทยาและคุณค่าทางโภชนาการบางประการของด้วงงวงมะพร้าว

Main Article Content

สุปาณี เลี้ยงพรพรรณ

Abstract

         ด้วงงวงมะพร้าว Rhynchophorus ferrugineus Olivier (Coleoptera: Curculionidae) เพาะเลี้ยงได้ในต้นลาน และต้นสาคู การวิจัยนี้เพื่อศึกษาลักษณะทางชีววิทยาและพฤติกรรมของด้วงชนิดนี้ในห้องปฏิบัติการและเพื่อหา คุณค่าทางโภชนาการของตัวหนอนและเนื้ออาหารที่ใช้เลี้ยง มี 2 กลุ่มคือ ด้วงที่เลี้ยงด้วยชิ้นเนื้อต้นลานและเนื้อต้น สาคูเรียกว่าด้วงลานและด้วงสาคูตามลำดับ ด้วงทั้งสองกลุ่มเจริญเติบโตแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (P > 0.05, t-test) ในทุกลักษณะ วัฏจักรชีวิตของด้วงลานและด้วงสาคูเท่ากับ 169.34 วัน และ 163.86 วันตามลำดับ ระยะตัวหนอนของด้วงลานและด้วงสาคู 64.44 ± 4.98 วัน และ 62.26 ± 5.87 วันตามลำดับ ตัวหนอนลอกคราบ 10 ครั้งและมีอัตราส่วนเพศเท่ากัน ตัวหนอนด้วงลานมีโปรตีนหยาบ คาร์ไบไฮเดรต ไขมันทั้งหมด พลังงาน คอเลสเตอรอลและเถ้ามากกว่าตัวหนอนด้วงลาน แต่มีความชื้นน้อยกว่าสอดคล้องกับที่เนื้อต้นลานมีโปรตีน เยื่อใย หยาบและไขมันหยาบมากกว่าเนื้อต้นสาคู ดังนั้นการบริโภคตัวหนอนด้วงควรคำนึงถึงสุขภาพของผู้บริโภคด้วย 

         Red palm weevil, Rhynchophorus ferrugineus Olivier is cultured with gebang palm and sago palm. This research aims to study the notably biology and behavior of this weevil in the laboratory and to evaluate the nutritive value of larvae larva and food plant tissue (gebang palm and sago palm) used in culturing. The weevil reared on a small piece of gebang palm trunk and sago palm trunk called gebang palm weevil and sago palm weevil respectively. Both treatments showed no significantly difference in all parameters of growth performance. The complete life cycle of gebang palm weevil and sago palm weevil took 169.34 days and 163.86 days respectively. The larval period of gebang palm weevil and sago palm weevil were 64.44 ± 4.98 days and 62.26 ± 5.87 days respectively. Both larva groups molted ten times and had the same sex ratio. Crude protein, carbohydrate, total fat, energy, cholesterol, and ash were higher in the gebang palm larvae but moisture is lower. This nutritive value correlated to the result indicated that the gebang palm tissue was higher in protein, crude fiber, and crude fat than in sago palm tissue. Consuming gebang palm larva or sago palm larva, consumers, therefore, have to consider about theirown health conditions. 

Article Details

Section
Research Articles