การคัดเลือกตัวกลางที่เหมาะสมต่อการยึดเกาะของเมือกชีวภาพเพื่อบำบัดไนเตรท จากน้ำทิ้งการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง

Main Article Content

อาภาวรรณ พ่อค้า
สมพงศ์ โอทอง
สุภฎา คีรีรัฐนิคม
นุกูล อินทระสังขา

Abstract

        ทำการศึกษาเปรียบเทียบชนิดของตัวกลางที่เหมาะสมต่อการเกิดเมือกชีวภาพในการบำบัดไนเตรท ในน้ำเสียสังเคราะห์จากการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งที่ระดับความเค็ม 15 พีพีทีด้วยระบบการทดลองแบบกะ โดยใช้ ตัวกลาง 4 ชนิดคือ ไบโอบอล  หินภูเขาไฟ  เปลือกหอยนางรม  และแผ่นอวนไนลอนชนิดทอไม่มีปม เปรียบเทียบ กับชุดควบคุม ติดตามประสิทธิภาพการบำบัดน้ำทางเคมี  ร่วมกับการตรวจลักษณะของเมือกชีวภาพด้วยกล้อง จุลทรรศน์แบบฉากสว่างและแบบส่องกราด และตรวจสอบชนิดและปริมาณของแบคทีเรียที่เกี่ยวข้องด้วยเทคนิค Fluorescence In  Situ  Hybridization  (FISH) และการนับปริมาณแบคทีเรียดีไนตริไฟอิงด้วยเทคนิค MPN  แบบ ไมโครเทคนิค ผลการศึกษาพบว่าแผ่นอวนไนลอนที่ตัดเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมขนาด 1×1 นิ้ว มีประสิทธิภาพดีที่สุดในการ บำบัดไนเตรท เนื่องจากมีลักษณะโครงสร้างของตัวกลางเหมาะสมต่อการยึดเกาะของจุลินทรีย์ ระบบสามารถเข้าสู่ สภาวะคงที่ได้เร็วที่สุด สอดคล้องกับการผลการนับปริมาณแบคทีเรียดีไนตริไฟอิง  พบว่าในช่วงแรกของการทดลอง พบการเกิดเมือกชีวภาพบางๆ แต่เมื่อระบบดำเนินไปอย่างต่อเนื่องพบว่าเมือกชีวภาพเริ่มหนาและจับเกาะตัวกัน เป็นกลุ่ม ตรวจพบปริมาณแบคทีเรียในไฟลัม  Proteobacteria  คลาส  Gammaproteobacteria  เป็นกลุ่มเด่น

          This  study  was  to  compare  4  types  of  media  suitable  for  biofilm  formation  prior  to  be  used  in  semi-batch system  for  nitrate removal  from  synthetic  coastal  aquaculture  wastewater  at  15 ppt  salinity.  They  were  bioball, pumice, oyster shell and a square cut woven nylon net (1×1 inch) and suspended system as a control experiment. The selection criteria were to monitor each reactor’s performance  of  nitrate  removal  using chemical  analysis  and  the  observation  of  biofilm  characteristics  using  microscope   both  light  and scanning electron  microscopes..  In addition,  the  bacterial  communities   involving  to  nitrate  removal  were  investigated using Fluorescence In Situ Hybridisation (FISH) technique and  MPN with microtechnique analyses. It was found  that  the  nylon  net  showed  the  best  nitrate  removal  performance. This may mainly due to the proper structure and physical characteristic of nylon net for bacterial adhesion. It was confirmed with the  presence  of  denitrifying  bacteria when using MPN with microtechnique  analysis  and  the  dominant of  bacteria  belong  to  Gammaproteobacteria  group  when  using  FISH  technique. 

Article Details

Section
Research Articles