การเก็บก๊าซชีวภาพจากโคลนมาใช้ประโยชน์

Main Article Content

ชัยรัตน์ หงษ์ทอง
เกรียงไกร แซมสีม่วง

Abstract

      งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการผลิตก๊าซชีวภาพที่ได้จากโคลนที่มีการทับถมของเสียอยู่ในโคลนเป็นเวลานาน การนำก๊าซชีวภาพที่ได้นั้นมาใช้ให้เกิดประโยชน์ โดยแทนที่เราจะรอให้ก๊าซลอยขึ้นมาเหนือน้ำแล้วทิ้งไปโดย ไม่เกิดประโยชน์งานวิจัยนี้ทำการกระตุ้นโดยใช้คนย้ำไปที่โคลนเพื่อให้ก๊าซชีวภาพเกิดและลอยขึ้นมาหลังจากนั้น นำมาเก็บไว้และนำมาทดลอง โดยการใช้กับหัวเตาก๊าซที่ผลิตมาใช้กับก๊าซชีวภาพจากการทดลองพบว่าจะต้อง ใช้ผู้ปฏิบัติงานจำนวน 2 คน เพื่อลงไปในน้ำและทำการกระตุ้นโคลนเพื่อให้เกิดก๊าซลอยตัวผ่านน้ำขึ้นมาและ จัดเก็บก๊าซชีวภาพที่เกิดขึ้นไว้ในภาชนะที่ครอบไว้บนผิวน้ำมีหลังจากนั้นนำก๊าซชีวภาพที่ได้ไปจัดเก็บ ไว้ในภาชนะทรงกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 18 นิ้ว เมื่อก๊าซชีวภาพที่ได้เต็มภาชนะที่จัดเก็บแล้วโดยใช้ เวลาที่ 10 นาที นำขึ้นมาวัดหาปริมาณก๊าซชีวภาพโดยเครื่องมือวัดก๊าซชีวภาพแบบพกพา GFM 416 ผลที่ได้คือ ก๊าซมีเทน (CH4) ประมาณ 20.5% และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ประมาณ 0.8% ส่วนที่เหลือเป็นแก๊สชนิดอื่นๆ ขั้นตอนต่อไปนำต่อเข้ากับหัวเตาก๊าซที่สามารถใช้ได้กับก๊าซชีวภาพเพื่อทดลองการนำไปใช้งานจากการทดลอง สามารถใช้งานได้เฉลี่ยที่ 11.17 นาที ขั้นตอนต่อไปทดลองการหาประสิทธิภาพในการนำไปใช้งานจริง โดยการนำไปทอดไข่ไก่  สามารถทอดได้ 2 ฟองในเวลาโดยเฉลี่ยที่ 11.56  นาที 

         The objective of this research work was to Collecting Biogas from Mud Utilization. There were several steps that used in this experiment. Firstly, the biogas from mud could be obtained by using two operators that were catalyzed the mud in the canal. Secondly, the biogas from mud could be collected into the balloon with diameter size 18 inch and the time consuming around 10 minutes. Thirdly, the biogas from mud was measured the gas component by using biogas GFM 416 handheld instrument. Finally, the biogas performance was recognized. From the gas component and the performance of biogas from mud data was recognized. The conclusion can be drawn that the working time period from the biogas from mud used was 11.17 minutes and the biogas from mud was consist of 20.50% (CH4), 0.80% (CO2) and others. Thus, the performance result provides 11.56 minutes time consuming when the author was recognized with two egg fir

Article Details

Section
Research Articles