ประสิทธิภาพของน้ำส้มควันไม้จากกระท้อน มะขามเทศ มะม่วง และลิ้นจี่ ต่อการไล่แมลงสาบอเมริกัน (Periplaneta americana L.)

Main Article Content

ทศพร คมกริช
อัญชลี สวาสดิ์ธรรม

Abstract

         การศึกษาประสิทธิภาพของน้ำส้มควันไม้จากกระท้อน มะขามเทศ มะม่วง และลิ้นจี่ต่อการไล่แมลงสาบ อเมริกัน (Periplaneta americana L.) ซึ่งได้ดำเนินการระหว่างเดือนธันวาคม 2553 ถึง พฤษภาคม 2555 ที่ห้องปฏิบัติการ ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี โดยมีการทดลองทั้งหมด 6 ขั้นตอน ผลการทดลองในแต่ละขั้นตอนมี ดังต่อไปนี้ การทดลองวงจรชีวิตของแมลงสาบอเมริกัน พบมีการเจริญเติบโต 3 ระยะ คือ ระยะไข่ ตัวอ่อน และ ตัวเต็มวัย โดยแต่ละระยะมีอายุระหว่าง 38.34 � 6.19, 176.50 � 13.28 และ149.50 � 12.22 วัน ตามลำดับ ผลการ ศึกษาคุณสมบัติทางกายภาพ และองค์ประกอบทางเคมีของน้ำส้มควันไม้ 5 ชนิด คือ น้ำส้มควันไม้จากกระท้อน มะขามเทศ มะม่วง ลิ้นจี่ และพืชหลายชนิดรวมกัน พบว่า น้ำส้มควันไม้แต่ละชนิดมีสีแตกต่างกัน ตั้งแต่สีน้ำตาลอ่อน ออกเหลืองจนถึงสีน้ำตาลเข้ม ค่าความเป็นกรดเป็นด่างมีค่าตั้งแต่ 2.86 ถึง 3.69 และมีค่าความถ่วงจำเพาะตาม มาตรฐานผลิตภัณฑ์น้ำส้มควันไม้ชุมชน คือ ไม่น้อยกว่า 1.005 และมีปริมาณกรดอะซิติก และฟีนอลแตกต่างกันใน น้ำส้มควันไม้แต่ละชนิด โดยน้ำส้มควันไม้จากลิ้นจี่มีปริมาณของสารทั้ง 2 ชนิดสูงสุด คือ มีปริมาณอะซิติก และฟีนอล เท่ากับ 82.56 และ6.56 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และน้ำส้มควันไม้จากมะขามเทศ มีปริมาณกรดอะซิติก ต่ำสุด คือ 46.32 เปอร์เซ็นต์ น้ำส้มควันไม้จากกระท้อนมีค่าฟีนอลต่ำสุด คือ 2.16 เปอร์เซ็นต์ จากการทดสอบ ประสิทธิภาพขององค์ประกอบต่างๆ ของน้ำส้มควันไม้ คือ น้ำมันเบา น้ำส้มควันไม้ และน้ำมันทาร์ ในการ ไล่แมลงสาบ พบว่า  เฉพาะส่วนของน้ำส้มควันไม้เท่านั้นสามารถไล่แมลงสาบได้ เมื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของน้ำส้มควันไม้ 5 ชนิด คือ น้ำส้มควันไม้จากกระท้อน มะขามเทศ มะม่วง ลิ้นจี่ และพืชหลายชนิดรวมกัน ในการไล่แมลงสาบอเมริกัน ผลการทดลองพบว่า น้ำส้มควันไม้จากลิ้นจี่มีประสิทธิภาพในการไล่แมลงสาบ อเมริกันสูงสุด การศึกษาความเข้มข้นที่เหมาะสมของน้ำส้มควันไม้จากลิ้นจี่ในการไล่แมลงสาบอเมริกัน โดย เปรียบเทียบความเข้มข้น 50, 80 และ 100 เปอร์เซ็นต์ ผลการทดลองพบว่า น้ำส้มควันไม้จากลิ้นจี่ที่ 100 เปอร์เซ็นต์ สามารถไล่แมลงสาบอเมริกันได้ 24 ชั่วโมง ในการทดสอบหารูปแบบการใช้น้ำส้มควันไม้ในการไล่แมลงสาบ อเมริกัน   ในเชิงพาณิชย์ โดยการผสมน้ำส้มควันไม้กับกลีเซอรอลในอัตราส่วนต่างๆ 5 ระดับ คือ 90 : 10, 80 : 20, 70 : 30 60 : 40 และ 50 : 50 โดยมีกลีเซอรอลผสมน้ำเป็นกรรมวิธีควบคุม ผลการทดลองพบว่า น้ำส้มควันไม้ และกลีเซอรอล ในอัตรา 90 : 10 สามารถไล่แมลงสาบอเมริกันได้นานถึง 24 ชั่วโมง 

           This study was conducted to determine the repellent efficiency of santol, manila tamarind, mango and lychee wood vinegars to American cockroach (Periplaneta americana L.). The study operated during December 2010 to May 2012 at the Laboratory of Pathumthani Rice Research Center. This study composed  of 6 experiments. The results areas follows :- Life cycle study of American cockroach showed three stages of growth :- egg, larva and adult. The stadium of all stages were 38.34 � 6.19, 176.50 � 13.28 and 149.50 � 12.22 days respectively. The physical properties and chemical composition of 5 wood vinegars from santol, manila tamarind, mango, lychee and mixes wood showed variation in colors of different wood vinegars from yellowish brown to dark brown. Vinegar acidity varied from 2.86 to 3.69 and a specific gravity of wood vinegar reached community standard product which were not less than 1.005. Lychee wood vinegar has the highest amount of acetic acid and phenol (82.56 and 6.56 percent respectively). Manila tamarind wood vinegar has the lowest amount of acetic acid (46.32 percent) and santol wood vinegar had the lowest phenol (2.16 percent). Repellent efficacy of wood vinegar components :- light oil, wood vinegar and wood tar were compared and the result showed that only wood vinegar could repel American cockroach. Repelling effect of five different wood vinegars (santol, manila tamarind, mango, lychee and mixed wood) were tested. The result showed that 50 percent of lychee wood vinegar has the highest repellent efficacy to American cockroach. The study of effective concentration of lychee wood vinegar wastested. The concentration of 100 percent lychee wood vinegar showed the highest effective repelling effect which can repel  American cockroach up to 24 hours. The last experiment was using of wood vinegar for repelling American cockroach in commercial model. Lychee wood vinegar mixed with Glycerol in different ratios :- 90:10, 80:20, 70:30, 60:40 and 50:50 and glycerol mixed with water as control were tested. The result revealed that lychee wood vinegar mixed with glycerol at ratio 90 :10 showed the longest effective time which can repel American cockroach for 24 hours. 

Article Details

Section
Research Articles