ระดับคุณภาพชีวิตและปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ ที่ได้รับยาต้านไวรัสเอชไอวีในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดตรัง
Main Article Content
Abstract
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตและปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ติดเชื้อ เอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ ที่รับยาต้านไวรัสเอชไอวีใน โรงพยาบาลชุมชน จังหวัดตรัง จำนวน 190 คน เก็บรวบรวมข้อมูลคุณภาพชีวิตโดยใช้แบบสอบถามขององค์การ อนามัยโลก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติการถดถอยอย่างง่าย ผลการศึกษาพบว่า ระดับคุณภาพ ชีวิตภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (68.9%) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า คุณภาพชีวิตด้านร่างกาย (80.5%) จิตใจ (60.0%) ความสัมพันธ์ทางสังคม (68.9%) และสิ่งแวดล้อม (72.6%) อยู่ในระดับปานกลาง สำหรับปัจจัยที่มีผลต่อ คุณภาพชีวิตพบว่า การศึกษา อาชีพ ระยะเวลาที่ทราบว่าติดเชื้อเอชไอวี ระดับ CD4 ครั้งหลังสุด ระยะเวลาที่ได้รับยา ต้านไวรัสเอชไอวี และการสนับสนุนทางสังคม มีผลต่อคุณภาพชีวิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < .05) จาก ผลการศึกษาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจัดบริการที่ส่งเสริมให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวี และผู้ป่วยเอดส์ได้รับการสนับสนุน ทางสังคม และสร้างเครือข่ายให้เข้มแข็ง เพื่อเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตต่อไป
The purpose of this study was to investigate the level of quality of life and factors affecting quality of life among HIV Infected and AIDS Patients in community hospitals, Trang province. Of these, 190 patients were selected and received antiretroviral drug. The quality of life was gathered and developed by World Health Organization. The descriptive statistics and simple regression analysis was employed. Results found that the overall of quality of life was rated at moderate (68.9%). In addition, physical (80.5%) psychological (60.0%) social relationship (68.9%) and environmental domains (72.6%) were rated at moderate level. Furthermore, the factors affecting to quality of life showed that education, occupation, time of HIV-infected, CD4 count, time of receiving antiret roviral drug and social support were statistical significant affected to quality of life. (p-value < .05) The result suggested that health-related organization should arrange health service to promote social support and strengthen social network in order to develop quality of life.