เยลลี่คาราจีแนนผสมเนื้อลูกจากเพื่อชุมชน

Main Article Content

ยุวดี ขุนภักดี
วรินทร กาวี
วุทธิกูล โพชกำเหนิด
ณรงค์ สุนทรอภิรักษ์

Abstract

          งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาวิธีการนำผลของต้นจาก (Nypa fruiticans Wrumb) ไปผลิตเป็นเยลลี่คาราจีแนน ผสมเนื้อลูกจาก โดยเริ่มจากวิเคราะห์องค์ประกอบพื้นฐานในเนื้อลูกจาก ได้แก่ เถ้า โปรตีน ไขมัน และคาร์โบไฮเดรต  พบว่ามีปริมาณร้อยละ  0.64  1.66  0.50  และ  97.20  ตามลำดับ หลังจากนั้นศึกษาปริมาณที่เหมาะสมของคาราจีแนน ซึ่งทำให้เกิดเจล เพื่อใช้เป็นสูตรมาตรฐานสำหรับผลิตเยลลี่คาราจีแนนผสมลูกจาก การทดลองพบว่าการใช้ คาราจีแนน 1.8% w/v กรัม ในส่วนผสมอื่นๆ ได้แก่ ผงบุก 0.1 % w/v น้ำตาลทราย 30 % w/v เกลือ 0.25 % w/v และ กรดซิตริก  0.2 % w/v ได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคซึ่งทดสอบโดยการชิมทางประสาทสัมผัสมากที่สุด  และนำ สูตรมาตรฐานไปศึกษาการเติมปริมาณเนื้อลูกจากที่เหมาะสมพบว่าการใช้เนื้อลูกจาก 10% (เนื้อลูกจาก 5 กรัม และเนื้อเยลลี่ 45 กรัม)ได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคสูงสุด จะเห็นได้ว่าการนำลูกจากมาแปรรูปให้เป็น ผลิตภัณฑ์เยลลี่เป็นแนวทางที่่น่าสนใจ ซึ่งผลิตภัณฑ์นี้อาจเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน ป่าจากและบริเวณใกล้เคียงได้ 

           This research investigates the method of using nipa palm (Nypa fruiticans Wrumb)  fruits (NPF) to produce NPF-carrageenan jelly. The NPF was first analysed to determine its constituents; they comprise ash, protein, fat, and carbohydrate with 0.64, 1.66, 0.50 and 97.20%, respectively. Next, the suitable amount of carrageenan that forming gel was examined of which was used as a standard formula to produce the NPF-carrageenan jelly. It was found that an experimental mixture containing of 1.8% w/v carrageenan, 0.1% w/v conjac powder, 30% w/v sugar, 0.25% w/v salt, and 0.2% w/v g citric acid is most satisfied by the consumers when tasted. Subsequently, the standard formula was analysed in details; and, it was found that the mixture having 10% of NPF (5g NPF in 45g jelly) is most accepted by the consumers. This implies that the NPF has a high potential for being processed as jelly thereby increasing the income for communities around the nipa palm areas. 

Article Details

Section
Research Articles