จลนพลศาสตร์และการบาบัดแอมโมเนียของดินตะกอนจากบ่อเลี้ยงกุ้งขาว
Main Article Content
บทคัดย่อ
แหล่งไนโตรเจนหลักที่เข้าสู่บ่อเลี้ยงกุ้งมาจากอาหารที่เหลือจากการกินและของเสียอินทรีย์ที่กุ้งปลดปล่อยออก ของเสียจะสะสมบริเวณดินพื้นบ่อเลี้ยงกุ้ง และจุลินทรีย์บริเวณดินพื้นบ่อทำหน้าที่ในกระ บวนการเ ปลี่ยนแปลงสารประกอบไนโตรเจน งานวิจัยนี้ได้ศึกษาประสิทธิภาพของดินตะกอนบ่อกุ้งในการบำบัดแอมโมเนีย บ่อเลี้ยงกุ้งอยู่ในอำเภอท่าใหม่จังหวัดจันทบุรี ขนาด 7 ไร่ ให้ผลผลิต 12 ตัน ได้เก็บดินจากบ่อทันทีหลังจากเก็บผลผลิตกุ้ง นำดินมาบรรจุในถัง 10 ซม.(0.37 ตร.ม.) เติมน ้าเสียสังเคราะห์ 30 พีพีที ปริมาตร 20 ล. และเติมอากาศตลอด 40 วัน ทดลองบำบัดแอมโมเนียความเข้มข้นแตกต่างกัน คือ 0 10 20 30 40 และ 50 มก.-ไนโตรเจน/ล. พบว่าการเติมแอมโมเนีย 50 มก.-ไนโตรเจน/ล. มีอัตราการบำบัดแอมโมเนียสูงสุด 8.75 มก.-ไนโตรเจน/ล./วัน ซึ่งสูงกว่าชุดการทดลองอื่น (P<= 0.05) และ กระบวนการไนตริฟิเคชันเกิดภายใน 28 วัน ทุกชุดทดลอง โดยแอมโมเนียและไนไตรต ์ถูกบำบัดเกือบหมด ส่วนไนเตรตต่ำกว่า 7.97 มก.-ไนโตรเจน/ล. อัตราการบำบัดแอมโมเนียสูงสุด (maxV)ที่คำนวณได้เท่ากับ 18.18 มก.-ไนโตรเจน/ล./วัน และ sKเท่ากับ 92.41 มก.-ไนโตรเจน/ล. อัตรา การบำบัดแอมโม เนียนี้สามารถ ใช้ประเมินความสามารถ ในการรองรับของเสียไนโตรเจนในบ่อกุ้งขาวได้