กระบวนการผลิตถ่านอัดแท่งจากวัสดุเหลือทิ้งในสวนยางพารา และการถ่ายทอด ผ่านเทคโนโลยีอินโฟกราฟิก

ผู้แต่ง

  • แพรตะวัน จารุตัน -
  • วิชชุดา ภาโสม

คำสำคัญ:

ถ่านอัดแท่ง, เชื้อเพลิงอัดแท่ง, เปลือกเมล็ดยางพารา, อินโฟกราฟิก

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เพื่อผลิตและทดสอบประสิทธิภาพเชิงความร้อนของถ่านอัดแท่งที่ผลิตจากวัสดุเหลือทิ้งจากสวนยางพารา และทำการวิเคราะห์ออกแบบการถ่ายทอดกระบวนการผลิตถ่านอัดแท่งผ่านเทคโนโลยีอินโฟกราฟิก ในการผลิตถ่านอัดแท่งนั้นจะใช้เศษกิ่งไม้ยางพารา และเปลือกผลยางพาราที่ตากแห้งแล้ว จากนั้นเผาจนเป็นถ่านและบดให้ละเอียด นำไปผสมกับแป้งมันและน้ำ ทั้งหมด 3 สูตร คือ สูตรที่ 1 กิ่งไม้ยางพารา : แป้งมัน : น้ำ ในอัตราส่วน คือ 2 kg : 250 g : 1,400 ml, สูตรที่ 2 เปลือกผลยางพารา : แป้งมัน : น้ำ ในอัตราส่วน คือ 2 kg : 250 g : 1,000 ml, และสูตรที่ 3 กิ่งไม้ยางพารา : เปลือกผลยางพารา : แป้งมัน : น้ำ ในอัตราส่วน คือ 1 kg : 1 kg : 250 g : 1,200 ml, ตามลำดับ แล้วอัดขึ้นรูป นำถ่านที่ได้ไปตากแดดให้แห้ง และทดสอบหาคุณสมบัติทางด้านความร้อนต่างๆ คือ ค่าความร้อน ปริมาณความชื้น ปริมาณเถ้า อุณหภูมิการเผาไหม้เฉลี่ย และระยะเวลาการเผาไหม้ ผลการทดสอบพบว่า สูตรที่ 1 คือ มีค่าความร้อน 6,853.21 kcal/kg มีปริมาณความชื้น 4.804% มีปริมาณเถ้า 26.250% มีอุณหภูมิการเผาไหม้เฉลี่ย 250.63 C และระยะเวลาการเผาไหม้จนเป็นเถ้าเฉลี่ย 160 นาที สูตรที่ 2 มีค่าความร้อน 8,127.21 kcal/kg มีปริมาณความชื้น 4.37%  มีปริมาณเถ้า 26.250% มีอุณหภูมิการเผาไหม้เฉลี่ย 270.2 C และระยะเวลาการเผาไหม้จนเป็นเถ้าเฉลี่ย 180 นาที  สูตรที่ 3  มีค่าความร้อน 7,657.40 kcal/kg มีปริมาณความชื้น 4.485% มีปริมาณเถ้า 26.641% มีอุณหภูมิการเผาไหม้เฉลี่ย 258 C และระยะเวลาการเผาไหม้จนเป็นเถ้าเฉลี่ย 180 นาที จะเห็นได้ว่าสูตรที่ 2 มีประสิทธิภาพเชิงความร้อนที่ดีที่สุด จากทั้ง 3 อัตราส่วนที่ผลิตขึ้นมา เป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช. 238/2547) สามารถใช้หุงต้มได้ดี  ไม่มีการแตกประทุ ติดไฟได้ดี มีเขม่า และควันเล็กน้อย หลังจากนั้นผู้วิจัยทำการออกแบบการถ่ายทอดองค์ความรู้ผ่านเทคโนโลยีอินโฟกราฟิก สำหรับผู้สนใจสามารถเรียกดูได้ในรูปแบบสื่อมัลติมีเดีย โดยมีการประเมินประสิทธิภาพสื่อโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน โดยแบ่งเป็น ด้านเนื้อหา จำนวน 1 คน ด้านการออกแบบสื่อ จำนวน 2 คน ด้านการนำเสนอสื่อ จำนวน 2 คน พบว่า ผลรวมการประเมินประสิทธิภาพสื่ออยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน ค่าเฉลี่ย 4.93 คะแนน และนำสื่อที่ได้ไปประเมินความพึงพอใจโดยผู้ที่สนใจ จำนวน 30 คน ปรากฏว่า ผลรวมการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.48 คะแนน

References

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน. (2564). สถานการณ์พลังงานของประเทศไทย มกราคม

ค้นจาก https://www.dede.go.th/download/stat63/

กรมพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน. (2555). แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก 25% ใน 10 ปี

(พ.ศ. 2555-2564). กระทรวงพลังงาน. กรุงเทพฯ: 15.

ธิรดา รอดเสียงลั้ง และจิตเรขา ปากสมุทร. (2561). คาร์บอนเครดิตอีกหนึ่งบทบาทของพลังงานชีวมวล. วารสารวิชาการ

เทคโนโลยีอุตสาหกรรม, 14(1), 86-101.

ฝ่ายวิจัยและพัฒนาเศรษฐกิจยาง การยางแห่งประเทศไทย. (2563). สถานการณ์ยางพาราปี 2564 และแนวโน้มปี 2564.

ค้นจาก http://www.raot.co.th/

พัชรา วาณิชวศิน. (2558). ศักยภาพของอินโฟกราฟิก (Infographic) ในการเพิ่มคุณภาพการเรียนรู้. วารสารปัญญาภิวัฒน์,

(ฉบับพิเศษ), 227-240.

สินีนาฏ กางทอง และวิชชุดา ภาโสม. (2562). สมบัติด้านความร้อนของเชื้อเพลิงอัดแท่งจากเปลือกเมล็ดยางพาราและกากน้ำตาล (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

สำนักนโยบายและแผนพลังงาน. (2556). รายงานสถิติพลังงานของประเทศไทย 2013. กรุงเทพฯ : กระทรวงพลังงาน

Hu, K. et al. 2021. The effect of energy resources on economic growth and carbon emissions: A way

forward to carbon neutrality in an emerging economy, Journal of Environmental Management, 15, 113448. doi: https://doi.org/10.1016/j.jenvman.2021.113448

Wang, Z. et al. 2023. Research on the improvement of carbon neutrality by utilizing agricultural waste:

Based on a life cycle assessment of biomass briquette fuel heating system, Journal of Cleaner Production, 140365. doi: https://doi.org/10.1016/j.jclepro.2023.140365

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-21