ระยะการออกดอกเป็นผลและการแพร่พันธุ์เมล็ดของพรรณไม้ในอุทยานสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์

ผู้แต่ง

  • สุภาวรรณ วงค์คำจันทร์ -
  • ณัฐธชัย นุชชม
  • ดารณี กาญจนะ คุ้มสิน
  • ชลิตา การภักดี

คำสำคัญ:

ระยะออกดอก , ระยะเป็นผล , การแพร่พันธุ์เมล็ด , นครสวรรค์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของงานวิจัยเพื่อสำรวจพรรณไม้ในอุทยานสวรรค์ (หนองสมบูรณ์) ซึ่งมีเนื้อที่ทั้งหมด 316 ไร่ โดยการสำรวจบันทึกช่วงเวลาระยะออกดอกและเป็นผล ในช่วงเดือนกรกฎาคม 2564 - มิถุนายน 2565 ภายใต้สภาพภูมิอากาศที่มีปริมาณน้ำฝน เฉลี่ย 4.5 มิลลิลิตร อุณหภูมิสูงสุดและต่ำสุด 34.2 และ 23.8 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปี 29 องศาเซลเซียส  ตามแนวทางเดินภายในอุทยานสวรรค์ รวมระยะทางประมาณ 3.3 กิโลเมตร พร้อมทั้งถ่ายรูป จดบันทึก และเก็บตัวอย่างพรรณไม้ เพื่อจัดจำแนกและระบุชนิด ลักษณะวิสัย และการแพร่พันธุ์เมล็ด รวมทั้งวัดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางต้นไม้ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด 3 ลำดับ  ผลการศึกษาพบพรรณไม้ทั้งหมด 51 วงศ์ 121 สกุล 163 ชนิด แบ่งเป็นไม้ต้นมากที่สุด (100 ชนิด) รองลงมาคือ ไม้ต้นขนาดเล็ก (27 ชนิด) และไม้พุ่ม/ไม้ต้นขนาดเล็ก (13 ชนิด), ตามลำดับ  โดยพรรณไม้ที่พบมากที่สุดคือวงศ์ถั่ว (Fabaceae) จำนวน 33 ชนิด  21 สกุล รองลงมาคือวงศ์เข็ม (Rubiaceae) จำนวน 9 ชนิด 7 สกุล และวงศ์แคหางค่าง (Bignoniaceae) จำนวน 8 ชนิด 6 สกุล ต้นไม้ที่เส้นผ่านศูนย์กลาง (DBH) มากที่สุด 3 อันดับ พบว่า ไทรย้อยใบแหลม (3.34 เมตร) และอีก 2 ต้น คือ ไทรย้อย  (3.18 และ 2.86 เมตร) ตามลำดับ  พบการแพร่พันธุ์เมล็ดโดยสัตว์มากที่สุด (96 ชนิด) รองลงมาคือลม (57 ชนิด) แรงดันจากการแตกของผล (7 ชนิด) และน้ำ (3 ชนิด) ตามลำดับ ผลการศึกษาระยะการออกดอก พบในช่วงฤดูร้อนมากที่สุด ในเดือนมีนาคม จำนวน 100 ชนิด รองลงมาเป็นช่วงฤดูหนาว ในเดือนกุมภาพันธ์ จำนวน 88 ชนิด และช่วงฤดูฝน ในเดือนกรกฎาคม จำนวน 55 ชนิด ในขณะที่พบการเป็นผลในช่วงฤดูร้อนและช่วงฤดูฝน มากที่สุด ในเดือนเมษายน และเดือนกรกฎาคม (77 ชนิด) และช่วงฤดูหนาวน้อยที่สุดในเดือนกุมภาพันธ์ (64 ชนิด) ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาสามารถนำไปใช้สำหรับการวางแผนการอนุรักษ์และการปลูกจิตสำนึกในการอนุรักษ์ไม้ใหญ่ในเมืองและเพิ่มพื้นที่สีเขียวต่อไป

References

ก่องกานดา ชยามฤต และวรดลต์ แจ่มจำรูญ. (2559). คู่มือจำแนกพรรณไม้. กรุงเทพฯ: สิทธิโชค พริ้นติ้ง.

ราชันย์ ภู่มา. (2559). สารานุกรมพืชในประเทศไทย (ฉบับย่อ) เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงเจริญพระชนมายุ 60 พรรษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช.

ราชันย์ ภู่มา และสมราน สุดดี. (2557). (บรรณาธิการ). ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เต็ม สมิตินันทน์ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ: สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช.

สุกัญญา นาคะวงศ์, วรรณชัย ชาแท่น, และวิลาวัณย์ พร้อมพรม. (2558). การศึกษาสังคมพืชและการใช้ประโยชน์ของพรรณไม้บริเวณป่าช้าสาธารณประโยชน์ บ้านจาน เทศบาลตำบลทุ่งกุลา อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด. (วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.

สถานีอุตุนิยมวิทยานครสวรรค์. (2565). ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย อุณหภูมิสูงสุด อุณหภูมิต่ำสุด. ค้นจาก https://www.nakhonsawanmet.tmd.go.th/data/Ra

สุภาวรรณ วงค์คำจันทร์. (2558). พรรณไม้ในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์. เชียงใหม่: ศุภกฤษการพิมพ์.

หน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า. (2549). ปลูกป่าให้เป็นป่า: แนวคิดและแนวปฏิบัติสำหรับการฟื้นฟูป่าเขตร้อน. เชียงใหม่: ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อรอนงค์ เฉียบแหลม, นภวรรณ ฐานะกาญจน์, เสรี เวชชบุษกร, และสุวิทย์ แสงทองพราว. (2547). การวิเคราะห์สังคมเพื่ออกแบบการสื่อความหมายธรรมชาติ บริเวณเส้นทางศึกษาธรรมชาติในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่. วารสารวนศาสตร์, 23, 60-73.

Moungsrimuangdee, B., Waiboonya, P., Larpkern, P., Yodsa-gna, P., and Saeyang, M. (2017). Reproductive Phenology and Growth of RiParian Species along Pra Prong River, Sakaeo Province, Eastern Thailand. Journal of Landscape Ecology, 10(2), 5-18.

Vongkamjan, S. (2003). Propagation of Native Forest Tree Species for Forest Restoration in Doi Suthep-Pui National Park. PhD Thesis, Chiang Mai University, Thailand.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-17