การพัฒนาแอปพลิเคชันให้ความรู้การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และการปลูกไม้มีค่า ด้วย Glide Platform
คำสำคัญ:
ทรัพยากรธรรมชาติ, ไม้มีค่า, Glide Platformบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้นำเสนอการการพัฒนาแอปพลิเคชันให้ความรู้การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและการปลูกไม้มีค่า ด้วย Glide Platform มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและพัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับการจัดเก็บข้อมูลการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและข้อมูลการปลูกไม้มีค่าให้มีประสิทธิภาพ ในการบริหารจัดการข้อมูล เพื่ออำนวยความสะดวกแก่บุคคลทั่วไปและผู้ที่ต้องการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับไม้มีค่า ซึ่งผู้วิจัยออกแบบและพัฒนาแอปพลิเคชันโดยใช้ Glide Platform ในด้านการจัดการส่วนการติดต่อประสานกับผู้ใช้กับผู้ใช้งาน รวมไปถึงใช้สำหรับการจัดเก็บข้อมูลในแอปพลิเคชัน ส่วนของการประเมินความสามารถของแอปพลิเคชันที่ออกแบบและพัฒนาขึ้น ได้ทำการทดสอบความสามารถของแอปพลิเคชัน โดยให้ผู้ใช้งานจริงทั้งสิ้น 113 ราย ได้ทำการใช้ระบบพร้อมทั้งตอบแบบสอบถามเพื่อนำมาประเมินความพึงพอใจในการใช้งานแอปพลิเคที่ได้พัฒนาขึ้นในด้านความพึงพอใจของผู้ใช้ ด้านคุณภาพของภาพรวมของระบบ ด้านคุณภาพของแอปพลิเคชัน ด้านคุณภาพของบริการ และด้านการนำแอปพลิเคชันไปใช้งานและพัฒนาต่อไป ผลการประเมินด้านความพึงพอใจของผู้ใช้อยู่ในเกณฑ์ระดับมากที่สุด ด้านคุณภาพของภาพรวมของระบบอยู่ในเกณฑ์ระดับมากที่สุด ด้านคุณภาพของแอปพลิเคชันอยู่ในเกณฑ์ระดับมาก ด้านคุณภาพของบริการอยู่ในเกณฑ์ระดับมากที่สุด และด้านการนำแอปพลิเคชันไปใช้งานและพัฒนาต่อไปอยู่ในเกณฑ์ระดับมาก
References
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2559). ชุมชนไม้มีค่า. ค้นจาก https://www.mnre.go.th/th/application/page/4.
จารุวัส หนูทอง. (2560). ผลการพัฒนาชุดการสอนมินิคอร์ส บนระบบปฏิบัติการ iOS เรื่องการถ่ายภาพในสตูดิโอ สำหรับนิสิตระดับปริญญาตรีสาขาการผลิตภาพยนตร์และสื่อดิจิตอล. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 5(1), 8-20.
ธนกฤต โพธิ์ขี. (2560). การพัฒนาแอปพลิเคชันบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ “Taladnut Night Market”. คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ. มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ. ค้นจาก https://app.northbkk.ac.th/research_/themes/downloads/abstract/1535452217_abstract.pdf.
ประคอง กรรณสูต. (2528). สถิติเพื่อการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์ (ฉบับปรับปรุงแก้ไข). กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือ ดร.ศรีสง่า.
ผู้จัดการออนไลน์. (2566). โฆษกรัฐบาลเผย นายกฯ ส่งเสริมการปลูกไม้มีค่า 58 ชนิด ทางเลือกใหม่ในการสร้างรายได้. ค้นจาก https://mgronline.com/politics/detail/9660000058969.
สมใจ จิตคำนึงสุข, ทิพย์มณฑา ผกาแก้ว และพิเชษฎ์ จุลรอด. (2559). การเปรียบเทียบการทำงานของอัลกอริทึมกับฐานข้อมูลเอสควิแอลและโนเอสควิแอล. Joint Conference on ACTIS & NCOBA Chachoengsao. ค้นจาก https://fund.pkru.ac.th/storage/download/6088e88b0e8e3d0001f24021?sector=files2021&bucket=publish_paper&ver=0&sk=4c315070546bd062926aedfc5c9fc9a1.
สุคนธ์ทิพย์ คำจันทร์ และประภาพร กุลลิ้มรัตน์ชัย. (2565). การประยุกต์ใช้ User Interface (UI) และ User Experience (UX) ในการออกแบบแพลตฟอร์ม. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 16(2), 63-77.
สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. (2544). โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี.
ค้นจาก http://www.rspg.or.th/.
สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2567) . ทรัพยากรธรรมชาติ. ค้นจาก https://www.onep.go.th/.
อรรถพล จันทร์สมุด. (2564). การประยุกต์ Google sheet เพื่อการจัดการเอกสารสำหรับสำนักงานคณบดีคณะเทคโนโลยี
คหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ. วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม
มหาวิทยาลัยแม่โจ้, 7(2), 12-23.
Glide's, T. (2560). glideapps. ค้นจาก https://www.glideapps.com/apps.
Jeeradate. (2563). การทำแอปมือถือด้วยตัวเองด้วย Glide. ค้นจาก https://jeeradate.wordpress.com/2020/06/17/การทำแอปมือถือด้วยตัวเอง/.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 Loei Rajabhat University
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์