Author Guidelines
รูปแบบการเตรียมต้นฉบับบทความ
ดาวน์โหลดรูปแบบการเตรียมต้นฉบับบทความ (Word)ดาวน์โหลดรูปแบบการเตรียมต้นฉบับบทความ (pdf)ดาวโหลดแบบส่งบทความเพื่อตีพิมพ์
คำแนะนำสำหรับผู้เขียน ในการเตรียมต้นฉบับบทความ
วารสารวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ เป็นวารสารที่พิมพ์เผยแพร่ผลงานทางวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ของนักวิจัย นักวิชาการและบุคคลทั่วไปที่สนใจ ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
บทความวิจัย (Research paper) ต้องเป็นผลงานที่เตรียมจากข้อมูลที่ผู้เขียนหรือกลุ่มผู้เขียนได้ค้นคว้าวิจัยด้วยตัวเอง พิมพ์ต้นฉบับด้วยโปรแกรม Microsoft Word ความยาวทั้งเรื่องไม่เกิน 15 หน้า พิมพ์หน้าเดียว คอลัมน์เดียว ลงในกระดาษขนาด B5 (182 x 257 มิลลิเมตร) ตั้งขอบกระดาษทั้ง 4 ด้าน ขนาด 2 เซนติเมตร จัดขอบให้ชิดทั้งสองด้านพร้อมระบุหมายเลขหน้ามุมขวาบน โดยกำหนดตัวอักษรภาษาไทยและตัวอักษรภาษาอังกฤษ TH Sarabun New
รูปแบบการเขียนอ้างอิง
รายชื่อเอกสารที่ใช้เป็นหลักในการค้นคว้าวิจัยที่ได้ตรวจสอบเพื่อนำมาเตรียมรายงานและมีการอ้างถึง โดยใช้ระบบชื่อผู้เขียนและปี (Author-date system) โดยยึดการอ้างอิงตามรูปแบบ APA (American Psychological Association) 7th edition ตัวอย่างการอ้างอิง
การส่งต้นฉบับ
ส่งต้นฉบับบทความผ่านระบบออนไลน์ทางเว็ปไซต์วารสารวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ https://www.tci-thaijo.org/index.php/JSTNSRU
การพิจารณาลงตีพิมพ์
1. วารสารนี้จะรับตีพิมพ์บทความในสาขาวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ และวิทยาศาสตร์ประยุกต์ ได้แก่ สาขาฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา สิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีชีวภาพ คณิตศาสตร์ คอมพิวเตอร์ และศาสตร์ที่เกี่ยวข้องเท่านั้น
2. ต้นฉบับที่ส่งมาให้พิจารณาลงตีพิมพ์จะต้องไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารฉบับอื่นมาก่อน และจะต้องไม่ส่งตีพิมพ์ซ้ำซ้อนในวารสารหลายฉบับในเวลาเดียวกัน
3. การตีพิมพ์บทความลงในวารสาร จะเรียงตามลำดับก่อน-หลัง ตามวันที่ได้รับเรื่อง ทุกบทความจะจัดส่งให้กองบรรณาธิการพิจารณาถึงความเหมาะสมของบทความ และอาจจะจัดส่งให้เจ้าของบทความปรับแก้ไขในเบื้องต้นก่อนจัดส่งให้ผู้ประเมินอิสระ (Peer Review)
4. กองบรรณาธิการ ขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตีพิมพ์บทความทุกเรื่อง รวมทั้งการปรับปรุงบทความบางส่วนตามข้อเสนอแนะของกรรมการภายนอกที่เป็นผู้อ่านบทความ
5. กรณีเป็นบทความวิทยานิพนธ์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ กองบรรณาธิการจะคัดเลือกบทความที่นักศึกษาส่งตามประกาศของมหาวิทยาลัย ซึ่งอาจไม่ได้ตีพิมพ์ทุกบทความ
6. บทความที่จัดส่งเพื่อขอตีพิมพ์ในวารสารฯ ต้องผ่านการพิจารณาจากกองบรรณาธิการเบื้องต้น ประกอบด้วย
1) ความสอดคล้องกับศาสตร์ที่ตรงตามวัตถุประสงค์ของวารสารฯ
2) การคัดลอกผลงาน (plagiarism) (ไม่ควรเกิน 10%)
3) ความลุ่มลึกของเนื้อหา
4) ตรงตามรูปแบบการเตรียมต้นฉบับบทความ ที่วารสารกำหนด
7. บทความที่ตีพิมพ์ลงในวารสาร ถือว่าเป็นผลงานทางวิชาการหรืองานวิจัยของคณะผู้เขียน ไม่ใช่ความคิดเห็นของกองบรรณาธิการ ผู้เขียนและคณะต้องรับผิดชอบต่อบทความของตน
8. ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร