ผลของสารควบคุมการเจริญเติบโตต่อการขยายพันธุ์ข้าวพันธุ์เล้าแตกและข้าวพันธุ์เหนียวแดงในสภาพปลอดเชื้อ
Main Article Content
Abstract
งานวิจัยนี้เพื่อศึกษาผลของสารควบคุมการเจริญเติบโตต่อการชักนำให้เกิดแคลลัสและเกิดต้นของข้าวพันธุ์เล้าแตกและข้าวพันธุ์เหนียวแดง โดยการเพาะเมล็ดข้าวบนอาหารสังเคราะห์สูตร Murashige and Skoog (MS) ที่เติม 2,4-Dichlorophenoxyacetic acid (2,4-D) ที่ระดับความเข้มข้นต่างๆ เป็นเวลา 4 สัปดาห์ พบว่า ความเข้มข้นของ 2,4-D ที่เหมาะสมต่อการชักนำให้เมล็ดข้าวพันธุ์เล้าแตกและข้าวพันธุ์เหนียวแดงเกิดแคลลัสเท่ากับ 3 มิลลิกรัมต่อลิตร และ 1 มิลลิกรัมต่อลิตร ตามลำดับ โดยเมล็ดข้าวพันธุ์เหนียวแดงมีเปอร์เซ็นต์การเกิดแคลลัสมากที่สุดเท่ากับ 100% และข้าวพันธุ์เล้าแตกมีเปอร์เซ็นต์การเกิดแคลลัสมากที่สุดคือ 96% เมื่อนำแคลลัสมาเพาะเลี้ยงบนอาหารสังเคราะห์ที่เติม α-naphthaleneacetic acid (NAA) ความเข้มข้น 0-2 มิลลิกรัมต่อลิตร ร่วมกับ N6-benzyladenine (BA) ความเข้มข้น 0-4 มิลลิกรัมต่อลิตร เป็นเวลา 8 สัปดาห์ เพื่อชักนำให้เกิดต้น พบว่า อาหารสังเคราะห์ที่เติม NAA ความเข้มข้น 1.5 มิลลิกรัมต่อลิตร ร่วมกับ BA ความเข้มข้น 2 มิลลิกรัมต่อลิตร สามารถชักนำให้แคลลัสของข้าวทั้ง 2 สายพันธุ์เกิดต้นได้มากที่สุด โดยในแคลลัสข้าวพันธุ์เล้าแตกมีเปอร์เซ็นต์การเกิดต้นมากที่สุดเท่ากับ 96% มีจำนวนต้นเฉลี่ยเท่ากับ 5.60 ต้น/แคลลัส และจำนวนรากเฉลี่ยเท่ากับ 5.30 ราก/ต้น และแคลลัสข้าวพันธุ์เหนียวแดงพบเปอร์เซ็นต์การเกิดต้นมากที่สุด 92% มีจำนวนต้นและจำนวนรากเฉลี่ยเท่ากับ 3.30 ต้น/แคลลัส และ 5.80 ราก/ต้น ตามลำดับ การขยายพันธุ์ข้าวพันธุ์เล้าแตกและข้าวพันธุ์เหนียวแดงสามารถทำได้ในสภาพปลอดเชื้อ โดยเปอร์เซ็นต์การเกิดแคลลัสและเกิดต้น ขึ้นอยู่กับระดับความเข้มข้นของ 2,4-D และสัดส่วนของ NAA และ BA ที่เหมาะสม
Article Details
References
ประดิษฐ์ พงศ์ทองคำ, เผดิม ระติสุนทร, เสาวนีย์ สุพุทธิธาดา, สุรินทร์ ปิยะโชคณากุล, เลิศลักษณ์ เงินศิริ, เบญจมาศ ศิลาย้อย, พรรณี รอดแรงบุญ, กาญจนา กล้าแข็ง และรังสิต เส็งหะพันธุ์. (2537). การชักนำให้เกิดการกลายในข้าวโดยวิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ, วารสารเกษตรศาสตร์ (วิทย.) 28 (3), 381-389.
เผดิม ระติสุนทร, ประดิษฐ์ พงศ์ทองคำ, เสาวนีย์ สุพุทธิธาดา, สุรินทร์ ปิยะโชคณากุล, และเลิศลักษณ์ เงินศิริ. (2536). การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อในข้าวพันธุ์ต่างๆ. วิทยาสารเกษตรศาสตร์ (สาขาวิทยาศาสตร์), 27 (3), 278-285.
พันทิวา ทีรวม และขวัญเดือน รัตนา. (2560). การชักนำให้เกิดแคลลัสและต้นใหม่ของข้าวเจ้าหอมนิล. แก่นเกษตร 45 (ฉบับพิเศษ 1), 1052-1059.
เมธาพร ผลวา, อังคณา จันทรพลพันธ์ และทัดดาว ภาษีผล. (2560). ผลของระยะเวลาในการพัฒนาเมล็ดข้าวต่อคุณสมบัติทางเคมีและกายภาพของข้าวเหนียวดำ. แก่นเกษตร. 45 (ฉบับพิเศษ 1), 1099-1104.
เมธาพร ผลวา, อังคณา จันทรพลพันธ์ และทัดดาว ภาษีผล. (2561). คุณลักษณะทางเคมี และกายภาพของข้าวเหนียวแดงระหว่างการพัฒนาของเมล็ดข้าว 3 ระยะหลังการออกดอก. แก่นเกษตร. 46 (ฉบับพิเศษ 1), 526-532.
รัตนา ขามฤทธิ์. (2558). แนวโน้มการทนเค็มของข้าวพันธุ์ซิวเกลี้ยงและพญาลืมแกง ที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ. วารสารเกษตร, 31(3), 259-268.
อรุณี ยูโซ๊ะ และสมปอง เตชะโต. (2558). การขยายพันธุ์ข้าวหอมกระดังงาโดยการเพาะเลี้ยงปลายยอดภายใต้ระบบไบโอรีแอคเตอร์. วารสารพืชศาสตร์สงขลานครินทร์, 2(3), 12-16.
Bhaskaran, S. & Smith, R.H. (1990). Regeneration in cereal tissue: culture: a review. Crop Science, 30, 1328-1336.
Buddharaksa, P., U-kong, W., Chundet, R., Wongsawad, P. & Sanguansermsri, M. (2013). Callus induction from seeds in vitro culture of rice KDML 105 and glutinous rice RD 6. Naresuan Phayao Journal, 6(2), 100-105.
Htwe, N.N., Maziah, M.H., Ling, C., Zaman, F.Q. & Zain, A.M. (2011). Responses of some selected malaysian rice genotypes to callus induction under in vitro salt stress. African Journal of Biotechnology, 10 (3), 350-362.
Michiba, K., Okamoto, T. & Mii, M. (2001). Increasing ploiding level in cell suspension cultures of Doritaenops
is by exogenous application of 2,4-dichlorophenoxyacetic acid. Physiology Planta, 112, 142-148.
Murashige, T. & Skoog, F. (1962). A reverse medium for rapid growth and bioassays with tobacco tissue culture. Plant Physiology, 15, 473-497.
Sahrawat, A.K. & Chand, S. (2001). High frequency plant regeneration from coleoptile tissue of indica rice (Oryza sativa L.). In vitro Cellular & Developmental Biology – Plant, 37, 55-61.