การประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์จากการผลิตพลังงานไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดินภายในโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า

Main Article Content

Karun Chaivanich

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการผลิตพลังงานไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดิน และประเมินทางความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของการผลิตพลังงานไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ที่มีขนาด1500 กิโลวัตต์ภายในโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ผลการศึกษาสรุปได้ว่า สามารถผลิตไฟฟ้าได้ทั้งหมดประมาณ 2.73 GWh/ปี และสามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ประมาณ 1549 tCO2e /ปี เมื่อพิจารณาผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์ พบว่า มีอัตรามูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) ที่อัตราดอกเบี้ย 5% ต่อปีเท่ากับ 6,646,610.37 บาทและมีค่าอัตราส่วนของผลตอบแทนต่อต้นทุน (Benefit-cost ratio: B/C Ratio) เท่ากับ 1.05 ซึ่งมีค่ามากกว่า 1 โครงการนี้มีความคุ้มค่าที่ลงทุนและมีระยะเวลาคืนทุนของโครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดินประมาณ 12.3 ปี

Article Details

Section
บทความวิจัย

References

เกริกรัฐ ตั้งวงษ์อุทัย. (2559). การอนุรักษ์พลังงานในครัวเรือน โดยใช้ระบบการจัดการพลังงาน 8 ขั้นตอนกรณีศึกษาชุมชนบ้านสาลวัน ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม. ใน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินต์, การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินต์ ครั้งที่ 1 เรื่องนวัตกรรมอาคาร (Building Innovation : B-inno2016) (หน้า 296-304). นครปฐม: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินต์.

จารินี ม้าแก้ว. (2552). การใช้พลังงานไฟฟ้าที่ได้จากเซลล์แสงอาทิตย์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 4 (1), 18-26.

วิรัตณ์ พิชิตกุญชร และกีรติ ชยะกุลคีรี. (2561). การออกแบบและการวิเคราะห์ความคุ้มค่าในการติดตั้งระบบไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาของอาคารกองบัญชาการกรมยุทธโยธาทหารบก.วิศวกรรมสารฉบับวิจัยและพัฒนา, 29 (1), 25-35.

บริษัทปูนซีเมนต์ไทย จำกัด มหาชน. (2560). รายงานประจำปี 2560 ของบริษัท ปูนซีเมนต์ไทย จำกัดมหาชน : SCG. กรุงเทพฯ: บริษัทปูนซีเมนต์ไทย จำกัด มหาชน.

องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก. (2559). ระเบียบวิธีการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจสำหรับการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเพื่อทดแทนการใช้พลังงานไฟฟ้าจากระบบสายส่งหรือจำหน่ายพลังงานไฟฟ้าเข้าสู่ระบบสายส่ง (T-VER-METH-AE-01). กรุงเทพฯ: องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก(องค์การมหาชน).

IPCC The National Greenhouse Gas Inventories Programme. (2006). 2006 IPCC Guidlines for National Greenhouse Gas Inventories. Japan: The Institute for Global Environmental Strates (IGES).

Koner, P.K., Dutta, V. & Chopra, K.L., (2000). A comparative life cycle energy cost analysis of photovoltaic and fuel generator for load shedding application, Solar Energy Materials Solar Cells, 60,309-322.

European Commission. (2005). A Vision for photovoltaic technology. Luxemburg: European Commission official publications.

Limmanee, A., Udomdachanut, N., Songtrai, S., Kaewniyompanit, A., Sato, Y., Nakaishi, M., Kittisontirak, S., Sriprapha, K. & Sakamoto,Y. (2016). Field performance and degradation rates of different types of photovoltaic modules: Acase study in Thailand, Renew Energ, 89, 12-17.