การศึกษาพิษเรื้อรังของสารสกัดเมล็ดหมามุ่ยอินเดียในสัตว์ทดลอง

Main Article Content

พราว ศุภจริยาวัตร
เดชมนตรี วจีสุนทร
บุญญาณี ศุภผล
ว่าที่ ร.ต.ธนวัฒน์ ทองจีน
บรรจง ชาวไร่
พรชัย สินเจริญโภไคย

Abstract

วัตถุประสงค์เพื่อประเมินความปลอดภัยของสารสกัดเมล็ดหมามุ่ยอินเดีย (MPU) ในสัตว์ทดลองโดยวิธีการป้อนทางปาก ติดต่อกันนาน 180 วัน ผลการศึกษาพบว่า หนูเพศผู้และเพศเมียที่ได้รับสารสกัดเมล็ดหมามุ่ยอินเดียทุกขนาดไม่ก่อให้เกิดความผิดปกติต่อสุขภาพ การกินอาหาร และค่าทางโลหิตวิทยา ส่วนค่าทางเคมีคลินิกพบว่าหนูเพศผู้และเพศเมียที่ได้รับสารสกัดขนาด 500 และ 1000 มก./กก./วัน มีระดับโพแทสเซียมต่ำแต่คงอยู่ในช่วงค่าอ้างอิงของหนูปกติ และที่ขนาด 1000 มก./กก./วัน ในหนูเพศผู้พบค่า uric acid สูงแต่ยังในช่วงค่าอ้างอิงของหนูปกติ  ในหนูเพศเมียน้ำหนักอวัยวะสัมพัทธ์ที่ขนาด 1000 มก./กก./วัน พบว่า หัวใจ ไตซ้าย และตับ มีน้ำหนักสัมพัทธ์สูงกว่ากลุ่มควบคุม ผลการตรวจอวัยวะทางจุลพยาธิวิทยา พบว่า หนูเพศผู้พบพยาธิสภาพเกิดขึ้นที่ตับ ไต และหัวใจ แต่การเกิดรอยโรคไม่สัมพันธ์กับขนาดที่ได้รับ และอุบัติการณ์ที่เกิดขึ้นพบว่าไม่แตกต่างจากหนูกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ จากการทดลองสรุปได้ว่าสารสกัดเมล็ดหมามุ่ยอินเดียไม่ก่อให้เกิดความเป็นพิษเรื้อรังที่รุนแรง ผลการทดลองนี้อาจนำไปสู่การศึกษาความเป็นพิษในมนุษย์และการใช้ประโยชน์สารสกัดหมามุ่ยอินเดียในมนุษย์ต่อไป

Article Details

Section
บทความวิจัย

References

ปารยะ อาศนะเสน. (2553). คำแนะนำสำหรับผู้ที่มีระดับกรดยูริกในเลือดสูง. สืบค้นจาก https://www.si. mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=829

สมชาย เอื้อรัตนวงศ์. (2557). โรคเก๊าต์และโรคหัวใจ. วชิรเวชสาร, 58 (2), 57-64.

Acharya, B.K., Hemanth, K.M., Vinay, K.S. & Niti, S. (2016). Acute oral toxicity study in rats with Mucuna pruriens seed extract Asian Journal of Plant Science and Research, 6 (2), 1-5.

Chaudhari, B.A., Nehal, K.G., Komal, A.K., Lambole, V. & Gajera, V. (2017). A review: phytochemistry, therapeutic use and pharmacological activity of Mucuna pruriens Linn. Pharma Science Monitor, 8 (2), 136-42.

Dhanasekaran, M., Tharakan, B. & Manyam B.V. (2008). Antipakinson drug – Mucuna pruriens shows antioxidant and metal chelating activity. Phytotherapy Research, 22, 6-11.

Leon, I.G. & Thomas, L.W. (1971). Cardiovascular effects of levodopa. Clinical Pharmacology and Therapeutics journal, 12 (2), 376-382.

Suresh, S. & Prakash, S. (2012). Effect of Mucuna pruriens (Linn.) on sexual behavior and sperm parameters in streptozotocin-induced diabetic male rat. The Journal of Sexual Medicine, 9, 3066-78.

Yadav, M.K., Upadhyay, P., Purohi,t S., Pandey, B.L. & Shah, H. (2017). Phytochemistry and pharmacological activity of Mucuna pruriens : a review. International Journal of Green Pharmacy, 11 (2), 69-73.