แบบจำลองการแพร่ระบาดของโรคสเตรปโตคอคคัส ซูอิส โดยพิจารณาผลกระทบจากอุณหภูมิอากาศ
Main Article Content
บทคัดย่อ
โรคติดเชื้อสเตรปโตคอคคัส ซูอิส เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชนิดแกรมบวกที่มีสุกรเป็นพาหะนำโรค ในบทความวิจัยนี้เกี่ยวข้องกับการศึกษาถึงการแพร่เชื้อของแบคทีเรียสเตรปโตคอคคัส ซูอิสโดยสร้างแบบจำลองการแพร่ระบาดของโรค โดยเพิ่มปัจจัยอุณหภูมิอากาศที่ส่งผลต่อการแพร่เชื้อจากสุกรสู่มนุษย์ ผู้วิจัยได้ทำการหาจุดสมดุลและหาเงื่อนไขที่ทำให้เกิดความเสถียรภาพของจุดสมดุลภายใต้สภาวะไร้โรคและสภาวะระบาดเรื้อรังแล้วนำมาแสดงในรูปแบบของค่าสืบพันธุ์พื้นฐาน ซึ่งการวิเคราะห์ถึงความเสถียรภาพภายใต้สภาวะไร้โรคและความเสถียรภาพของจุดสมดุลภายใต้สภาวะระบาดเรื้อรังได้ผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับเงื่อนไขของเร้าท์เฮอร์วิท (Routh-Hurwitz) ผลการจำลองแบบเชิงตัวเลขพบว่าค่าอุณหภูมิอากาศมีความสัมพันธ์กับจำนวนสุกรที่ติดเชื้อเมื่อค่าอุณหภูมิอากาศสูงจะส่งผลให้จำนวนสุกรที่ติดเชื้อมีจำนวนที่มาก และอุณหภูมิอากาศต่ำจะส่งผลให้จำนวนสุกรที่ติดเชื้อมีจำนวนที่น้อย ดังนั้นค่าอุณหภูมิอากาศจึงมีผลกระทบต่อการระบาดของโรคสเตรปโตคอคคัส ซูอิสในสุกรที่แพร่เชื้อมาสู่มนุษย์
Article Details
References
มาลี ศรีพรหม, ณัฐกร จันทร์ชัย, เจษฎา กลยนีย์, ฤทธิเดช อินอุเทน และ ตระกูลไทย ฉายแม้น. (2016). ตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์ของโรคไข้หวัดใหญ่ โดยพิจารณาผลกระทบจากปริมาณน้ำฝน. SNRU Journal of Science and Technology, 8 (2), 233 – 239.
ยุทธพล เทียมสุวรรณ .(2562). สเตรปโตคอคคัส ซูอิส (Streptococcus Suis; S.suis) อย่าคิดว่าเรื่องเล็ก. สืบค้นจาก https://www.swinethailand.com/15586815/สเตรปโตคอคคัส-ซูอิส-อย่าคิดว่าเรื่องเล็ก
สมเกียรติ ขำนุกรักษ์ และกิติพงศ์ กลิ่นแมน.(2561). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ในการป้องกันโรคติดเชื้อสเตร็พโตค็อกคัส ซูอิสของประชาชน จังหวัดนครสวรรค์. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย, 8 (3), 430-440.
สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น.(2562). สคร. 7 เตือนประชาชนงดกินเนื้อหมูปรุงดิบ หรือสุกๆดิบๆ เสี่ยงป่วยด้วยโรคไข้หูดับ อาจทำให้หูหนวกถาวรหรือเสียชีวิตได้. สืบค้นจาก https://ddc.moph.go.th/th/site/newsview/view/7023
สำนักสารสนเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.(2561). กรมควบคุมโรค เตือนประชาชนระวังกินหมูสุก ๆ ดิบ ๆ เสี่ยง “โรคไข้หูดับ” อาจทำให้หูหนวกถาวรหรือเสียชีวิตได้. สืบค้นจาก
https://pr.moph.go.th/?url=pr/detail/2/02/118642/
Aranda, D.F., Villanueva, R.J., Arenas, A.J. & Gonzalez-Parra, G.C. (2008). Mathematical modeling of Toxoplasmosis disease in varying size populations. Computers and Mathematics with Applications, 56 (3), 690–696.
Gautam, K. & Gautam, K. (2015). Study of mathematical modeling on effect of swine Flu. International Journal of Research in Advance Engineering (IJRAE), 1 (8), 1-6.
Gonzalez-Parra, G.C., Arenas, A.J., Aranda, D.F., Villanueva, R.J. &Jodar, L. (2009). Dynamics of a model of Toxoplasmosis disease in human and cat populations. Computers and Mathematics with Applications, 57 (10), 1692–1700.
Edelstein-Keshet, L. (1988). Mathematical Models in Biology. New York: McGraw-Hil
Shen, C., Li, M., Zhang, W., Yi, Y., Wang, Y., Hou, Q., Huang, B. & Lu, C. (2014). Modeling transmission dynamics of Streptococcus suis with stage structure and sensitivity analysis. Hindawi Publishing Corporation Discrete Dynamics in Nature and Society, 2014, 1-10.
Yongzhen, P., Xuehui, J., Changguo, L. & Shujing, G. (2018). Dynamics of a model of Toxoplasmosis disease in cat and human with varying size populations. Mathematics and Computers in Simulation, 44, 52-59.
Yosyingyong, P. & Viriyapong, R. (2017). Mathematical modeling the effects of vaccination on HBV infection in Thailand. วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา (ฉบับพิเศษ), 22, 400-410.