ปริมาณ คุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมีของน้ำมันหอมระเหยจาก ผลมะกรูด ขมิ้นและไพล จากระบบการกลั่นด้วยไอน้ำ สำหรับกิจกรรมสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน

Main Article Content

Kritsada - Boonchom

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และเศรษฐศาสตร์ จากระบบกลั่นน้ำมันหอมระเหยด้วยไอน้ำที่สร้างขึ้น สำหรับการพัฒนาเป็นชุดกิจกรรมจัดการเรียนการสอนบูรณาการสวนพฤกษศาสตร์ของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ โดยทำการศึกษาปริมาณสมบัติทางกายภาพและต้นทุนการผลิตน้ำมันหอมระเหยจาก มะกรูด ขมิ้นและไพล จากการกลั่นด้วยไอน้ำ โดยเตรียมวัตถุดิบในลักษณะที่แตกต่างกันเพื่อศึกษาถึงเวลาในการเตรียมวัตถุดิบ และเตรียมวัตถุดิบชนิดละ 2 กิโลกรัม เก็บตัวอย่างน้ำมันหอมระเหย ทุก ๆ 30 นาที เป็นเวลา 2 ชั่วโมง ผลการวิจัยพบว่า ร้อยละของผลผลิตโดยมวลและความหนาแน่นของน้ำมันหอมระเหย จาก ผิวมะกรูด มะกรูดหั่นเป็นแว่น ขมิ้นหั่นเป็นชิ้นบาง ขมิ้นหั่นเป็นชิ้นและทุบ ไพลหั่นเป็นชิ้นบางและไพลหั่นชิ้นและทุบ มีค่าดังนี้ 0.407 0.314  0.107 0.076 0.187 0.185 และ 0.88±0.01 0.89±0.01 0.87±0.01 0.85±0.02 0.91±0.01 0.89±0.01 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร ตามลำดับ และพบว่าการเตรียมไพลใช้เวลาน้อยกว่าขมิ้นเนื่องจากหัวใหญ่และเนื้อไม่แข็ง เมื่อเปรียบเทียบการเตรียมในสองลักษณะ สำหรับมะกรูดการเตรียมผิวใช้เวลามากว่า น้ำมันที่ได้ออกมามีคุณสมบัติใกล้เคียงกันและปริมาณแตกต่างกันไม่มาก เมื่อนำปัจจัยเวลามาคำนวณต้นทุนการผลิตในรูปค่าแรงงานในการผลิตน้ำมันหอมระเหยจาก ผิวมะกรูด มะกรูดหั่นเป็นแว่น ขมิ้นหั่นเป็นชิ้นบาง ขมิ้นหั่นเป็นชิ้นและทุบ ไพลหั่นเป็นชิ้นบางและไพลหั่นชิ้นและทุบ พบว่ามีค่าดังนี้ 44.79 38.68 68.57 88.40 51.85 และ 49.93 บาทต่อลูกบาศก์เซนติเมตร ตามลำดับ ซึ่งข้อมูลที่ได้จะถูกนำไปใช้ประกอบการพัฒนาชุดกิจกรรมที่บูรณาการสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนและสะเต็มศึกษาต่อไป

Article Details

Section
บทความวิจัย

References

กองการแพทย์ทางเลือก. (2550). ตำราวิชาการสุคนธบำบัด. กรุงเทพมหานคร: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

นำพน พิพัฒน์ไพบูลย์, นิรุต อ่อนสลุง, สัณหวัจน์ ทองแดง, มงคล มีแสง, และศรายุทธ พลสีลา. (2562). การวิเคราะห์ต้นทุนการกลั่นน้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้หอมเพื่อการจำหน่ายเชิงพาณิชย์. การประชุมวิชาการสมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทย ระดับชาติ ครั้งที่ 20 (หน้า 56 - 60). ชลบุรี: โรงแรมฮาร์ดร็อค พัทยา.

มุกริน หนูคง, นักรบ นาคประสม และภาวิณี อารีศรีสม. (2557). การศึกษาหาสภาวะที่เหมาะสมในการสกัดน้ำมันหอมระเหยจากไพลด้วยการกลั่นด้วยน้ำและไอน้ำ. เชียงใหม่ :มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

สายสมร ลำลอง, และพงษ์นรินทร์ ยอดสิงห์. (2559). การใช้น้ำมันหอมระเหยจากสมุนไพรไทยในการยับยั้งการเจริญของเชื้อราที่พบ บนแผ่นยางพารา. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 18 (1), 30-38.

Brown, G. R. (2007). Introductory physics I elementary mechanics. North Carolina: Duke University.

Bua-in, S. & Paisooksantivatana, Y. (2009). Essential oil and antioxidant activity of Cassumunar ginger (Zingiberaceae: Zingiber montanum (Koenig) Link ex Dietr.) collected from various Parts of Thailand. Kasetsart Journal : Natural Science, 43 (3), 467 – 475.

Chandra, A., Sumit, P., Garg, S.K. & Rathore, A.K. (2016). Extraction of turmeric oil by continuous water circulation distillation. International Journal of Scientific Engineering and Applied Science, 2(2), 404-410.

Kasuan, N., Muhammad, Z., Yusoff, Z., Rahiman, M.H.F., Taib, M.N. & Haiyee, Z.A. (2013). Extraction of Citrus hystrix D.C. (kaffir lime) essential oil using automated steam distillation process: analysis of volatile compounds. Malaysian Journal of Analytical Sciences, 17(3), 359 – 369.

Kumar, K.S. (2010). Extraction of essential oil using stream distillation. (Bachelor’s thesis). National Institute of Technology Rourkela, Department of Chemical Engineering.

Moghaddam, M., Omidbiagi, R. & Sefidkon, F. (2007). Changes in content and chemical composition of Tagetes minuta oil at various harvest times. Journal of Essential Oil Research, 19(1), 18–20.

Sukatta, U., Rugthaworn, P., Punjee, P., Chidchenchey, S., Keeratinijakal, V. (2009). Chemical composition and physical properties of oil from Plai (Zingiber cassumunar Roxb.) obtained by hydro distillation and hexane extraction. Kasetsart Journal : Natural Science, 43 (5), 212 – 217.