การพัฒนาตู้อนุบาลกล้วยไข่กำแพงเพชร โดยใช้เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตทุกสรรพสิ่ง

Main Article Content

bhoomin tunut

Abstract

            การพัฒนาตู้อนุบาลต้นกล้ากล้วยไข่เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการปรับสภาพต้นกล้าจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อก่อนนำออกปลูก โดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตทุกสรรพสิ่ง จึงได้มีการพัฒนาตู้อนุบาลต้นกล้ากล้วยไข่เพื่อควบคุมและติดตามสภาวะของการปรับสภาพของสภาวะภายในตู้อนุบาลได้จากทุกสถานที่ อีกทั้งยังมีการทดสอบประสิทธิภาพของซอฟต์แวร์และระบบ หลังจากที่ได้พัฒนาตู้อนุบาลพืชเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อแล้ว การทดสอบประสิทธิดภาพแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ประกอบด้วย 1) การทดสอบการควบคุมและการตรวจสอบความชื้นภายในตู้อนุบาล และ 2) การทดสอบการควบคุมจากเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสำหรับการแสดงผลและการส่งคำสั่งควบคุมการทำงานจากระยะไกล จากการทดลองพบว่า ตู้อนุบาลพืชเพาะเลี้ยงเนื้อเยื้อสามารถควบคุมความชื้นให้อยู่ในช่วง 60 ถึง 90 เปอร์เซ็นต์ สามารถใช้ระบบควบคุมอัตโนมัติ และควบคุมอุปกรณ์ภายในกล่องผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ อีกทั้งยังมีประสิทธิภาพในการปรับสภาพต้นกล้ากล้วยไข่ที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อให้มีอัตราการรอดชีวิตและสามารถออกปลูกในสภาพแวดล้อมปกติได้

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biography

bhoomin tunut, Kamphaeng Phet Rajabhat University

computer engineering

References

เจษฎา ขจรฤทธิ์, ปิยนุช ชัยพรแก้ว และหนึ่งฤทัย เอ้งฉ้วน. (2560). การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี Internet of Things ในการควบคุมระบบส่องสว่างสำหรับบ้านอัจฉริยะ. วารสารวิทยาการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร, 7(1), 1-11.

ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพทางการเกษตร จังหวัดสุพรรณบุรี. (2557). องค์ความรู้ที่ 1 เรื่อง กล้วยจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื้อ. สืบค้นจาก http://www.aopdt01.doae.go.th/KM/กล้วยจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ.pdf

ชลาธิป ทุมกานนท์, สุธรรม อัศวศักดิ์สกุล, นิกร โภคอุดม และกัญจน์ณิชา โภคอุดม. (2560). การประมวลผลบนคลาวนด์ : โครงสร้างพื้นฐานสำหรับ Internet of Things. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอิสเทิร์นเอเชีย, 11(1), 31-37.

พรรณวิภา อรุณจิตต์, นาวี โกรธกล้า และปิจิราวุธ เวียงจันดา. (2558). โรงเรือนปลูกพืชควบคุมและมอนิเตอร์อัตโนมัติผ่านระบบเครือข่าย. การประชุมวิชาการสมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทยระดับชาติ ครั้งที่ 16 และระดับนานาชาติครั้งที่ 8 (หน้า 52-59). กรุงเทพฯ: ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา.

รัตนสุดา สุภดนัยสร, ธีรถวัลย์ ปานกลาง, วีรพล วงค์บุดดี และกษิดิ์เดช สันโดษ. (2561). ระบบควบคุมการเปิด-ปิดหลอดไฟผ่านเครือข่ายอินเตอร เน็ตด้วย NETPIE. วารสารวิชาการคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม : เทพสตรี I-TECH, 13(1), 19-28.

สันติพงษ์ ศุภกิจเจริญ, ธเนศ ศรีวิชัยลาพันธ์ และกาญจนา โชคถาวร. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการปลูกกล้วยไข่ของเกษตรกรในจังหวัดกำแพงเพชร. สักทอง : วารสารมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ (สทมส.), 20 (3), 115-123.

Gupta, S.D. & Jatothu, B. (2013). Fundamentals and applications of light-emitting diodes (LEDs) in in vitro plant growth and morphogenesis. Plant Biotechnology Reports, 7 (3), 211-220.

Gubbi, J., Buyya, R., Marusic, S. & Palaniswami, M. (2013). Internet of things (IoT): A vision, architectural elements, and future directions. Future Generation Computer Systems, 29 (7), 1645–1660.

Katagiri, F., Canelon-Suarez, D.o, Griffin, K., Petersen, J., Meyer, R.K., Siegle, M. & Mase,K. (2015). Design and construction of an inexpensive homemade plant growth chamber. PloS one, 10(5).

Setiyono, B., Sumardi. & Harisuryo, R. (2015). Measurement system of temperature, humidity and air pressure over 433 MHz radio frequency: An application on quadrotor. 2015 2nd International Conference on Information Technology, Computer, and Electrical Engineering (ICITACEE) (pp. 438-441). Semarang: Diponegoro University.