ผลของน้ำหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวพันธุ์ กข 41
Main Article Content
Abstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของน้ำหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวพันธุ์ กข41 โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มในบล็อกสมบูรณ์ (RCBD) ณ สาขาพืชศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พิษณุโลก ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมถึงเดือนตุลาคม 2560 ประกอบด้วย 4 สิ่งทดลอง จำนวน 4 ซ้ำ ได้แก่ สิ่งทดลองที่ 1ไม่ใส่น้ำหมักชีวภาพ, สิ่งทดลองที่ 2 ใส่น้ำหมักชีวภาพสูตรผลไม้, สิ่งทดลองที่ 3 ใส่น้ำหมักชีวภาพสูตรนมสด และสิ่งทดลองที่ 4 ใส่น้ำหมักชีวภาพสูตรหน่อกล้วย พบว่าน้ำหมักชีวภาพสูตรนมสดให้ค่าเฉลี่ยจำนวนแตกกอ จำนวนรวง ความยาวของรวงเฉลี่ย (10.15 กอ 14.40 รวง 26.00 เซนติเมตร) ตามลำดับ และให้ผลผลิตต่อไร่ 158.96 กิโลกรัมต่อไร่ จากการวิเคราะห์ทางด้านเคมีพบว่าน้ำหมักชีวภาพสูตรนมสดมีระดับปริมาณของไนโตรเจนและฟอสเฟตสูงสุด (ร้อยละ 0.23 และ 0.010 ตามลำดับ) เมื่อเทียบกับน้ำหมักชีวภาพจากสูตรอื่นพบว่ามีความแตกต่างกันทางสถิติที่ 0.01 ซึ่งเป็นธาตุหลักที่ช่วยในการเจริญเติบโตและคุณภาพของผลิตผล แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของน้ำหมักชีวภาพสูตรนมสดต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตข้าวพันธุ์ กข41
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กาญจนา และ เอื้องฟ้า (2544). ปุ๋ยน้ำหมัก: ดีจริงหรือ?. วารสารเคหการเกษตร 25(4), 179-186.
กองวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว. (2563). องค์ความรู้เรื่องข้าว. http://www.ricethailand.go.th/rkb3/title-index.php-file=content.php&id=121.htm
ข้าวหอมล้านนา. (2561). ข้าวหอมล้านนา เรื่องเล่าจากบ้านสามขา. http://homlaannarice.blogspot.com/2014/04/kaohomlaanna.html.
สาลี่ ชินสถิตย์. (2544). เทคโนโลยีการผลิตไม้ผลให้ปลอดภัยจากสารพิษ. กรุงเทพฯ: สํานักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6 กรมวิชาการ เกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
สำนักวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว. (2558). คลังข้อมูลสารสนเทศข้าวเชิงลึก. http://www.ricethailand.go.th
สำนักวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาที่ดิน (2553). คู่มือการปฏิบัติงานกระบวนการวิเคราะห์ตรวจสอบดินทางเคมี, กรมพัฒนาที่ดิน
อธิศพัฒน์ วรรณสุทธิ์. (2558). ปราชญ์เกษตรผลิต NGV ด้วยเศษอาหารและจุลินทรีย์หน่อกล้วย. https://www.rakbankerd.com/agriculture/rbk-view.php?id=176
Aguilar, M. L., Espadas, F., Maust, B., & Sáenz, L. (2009). Endogenous cytokinin content in coconut palms affected by lethal yellowing. Journal of Plant Pathology, 91(1), 141 – 146. http://doi.org/10.4454/jpp.v91i1.634
Apiwat, I., Phakpen, P., & Ornprapa, T. (2016). Comparison on quality of rice var. Khao Dawk Mali 105 planted by using chemical and organic fertilizers in Surin Province. Journal of science and technology, 24(5), 766-774. http://doi.org/10.14456/tstj.2016.63
Apiwat, T. (2015). Pesticides used in Thailand and toxic effects to human health. Medical Research Archives, 3, 1-8. https://esmed.org/MRA/mra/article/view/176
Aslam, M., Travis, R. L., & Rains, D. W. (2001). Enhancement of nitrate reductase activity and metabolic nitrate concentration by methionine sulfoximine in barley roots. Plant Sciences, 161(1), 133–142. http://doi.org/10.1016/S0168-9452(01)00396-X
Division of Agricultural Chemistry (2002). Hormones and nutrients of plant in fermented bioextracts. Department of Agriculture, Ministry of Agriculture and Cooperatives.
Nisit, K. (2008). Role of Fermented Bio-extracts Produced by Farmers on Growth, Yield and Nutrient Contents in Cowpea (Vigna unguiculata (L.) Walp.) in Northeast Thailand. Biological Agriculture & Horticulture, 25(4), 353-368. https://doi.org/10.1080/01448765.2008.9755061
Panjaitan, S. B., Aziz, M. A., Rashid, A. A., & Saleh, N. M. (2007). In-vitro plantlet regeneration from shoot tip of field-grown hermaphrodite papaya (Carica papaya L. cv. Eksotika). International Journal of Agriculture and Biology, 9(6), 827 - 832. https://agris.fao.org/agris-search/search.do?recordID=PK2008000681
Phakpen, P., Voraphat, L., Chavin P., & Phiraya C. (2017). Effect of high quality organic fertilizer on production of Suphan Buri 1 rice. Journal of Science and Technology, 25(2), 248-257. http://opac02.rbru.ac.th/cgi-bin/koha/opac-detail.pl?biblionumber=3223
Ratneetoo, B. (2009). Organic fertilizer improves deteriorated soil. Princess of Naradhiwas University Journal, 1, 1-16.
Renoo, T. (2013). Effect of fertilizers application on growth and yield of some vegetable crops. Prawarun Agricultural Journal, 10(1), 19-27.
Saowapa, C. (2011). Study the processing and quality of liquid fertilizer of swine manure fermentation for organic agriculture, Tambon Kongtool, Amphor Nongphai, Phetchabun Province. Phetchabun Rajabhat University. http://research.pcru.ac.th/rdb/project/dataview/445_445.html