การประยุกต์ใช้ระบบลีนของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน อ.เก้าเลี้ยว จ.นครสวรรค์
Main Article Content
Abstract
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประยุกต์การผลิตแบบลีนในการลดความสูญเปล่าสำหรับการผลิตกล้วยฉาบ ด้วยเครื่องมือสายธารแห่งคุณค่าวิเคราะห์ความสูญเปล่า และออกแบบแนวทางปรับปรุงด้วยเครื่องมือ ECRS เพื่อลดความสูญเปล่าที่เกิดขึ้น และปรับปรุงวิธีการทำงาน ซึ่งจากการศึกษาพบว่ากระบวนการผลิตเป็นการผลิตแบบไม่ต่อเนื่อง ต้องทำเสร็จสิ้นทีละขั้นตอนก่อนที่จะเริ่มขั้นตอนต่อไป จากการวิเคราะห์ขั้นตอน 8 ขั้นตอนแล้วพบว่ามีกิจกรรมที่ไม่เพิ่มคุณค่า และกิจกรรมที่ไม่เพิ่มคุณค่าแต่จำเป็นต้องมี แอบแฝงอยู่ในกระบวนการขั้นตอนต่าง ๆ 5 ขั้นตอน โดยทั้งหมดเป็นความสูญเปล่าด้านการรอคอย ทางทีมผู้วิจัยจึงทำการปรับปรุงโดยเปลี่ยนลำดับขั้นตอนการทำงาน เปลี่ยนอุปกรณ์การสไลด์กล้วย และขั้นตอนที่สามารถเริ่มกิจกรรมได้โดยไม่ต้องรอคอย หลังจากปรับปรุงตามที่กล่าวมาข้างต้นแล้วพบว่าสามารถกำจัดกิจกรรมการรอคอยร้อยละ 94.98 ทำให้ระยะเวลาในการทำงานลดลงร้อยละ 44.18 และจำนวนพนักงานลดลงจากเดิมร้อยละ 50 ซึ่งทำให้กระบวนการผลิตเปลี่ยนไปเป็นกระบวนการผลิตแบบต่อเนื่อง ทำให้ประสิทธิภาพในการผลิตเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 45.21 แต่อย่างไรก็ตามบางขั้นตอนต้องใช้ความเชี่ยวชาญเฉพาะทางซึ่งต้องได้รับการฝึกอบรมและพัฒนาต่อไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กชกรณ์ ชุมพลวงศ์ และ ศักดิ์ดา ศิริภัทรโสภณ. (2561). การประยุกต์ใช้ระบบการผลิตแบบลีน เพื่อลดต้นทุนในกระบวนการผลิตของผลิตภัณฑ์คอลลาเจนชนิดผง. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและวิจัย, 2(1), 27-36. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/248429
จันทนา ฤทธิ์สมบูรณ์ และ ทักษนา สง่าโยธิน. (2562). ห่วงโซ่คุณค่าเพื่อการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนอย่างยั่งยืนด้วยแนวคิดผู้ประกอบการรุ่นใหม่ (YEC). วารสารวิทยาบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 30(1), 104-117. https://journal.oas.psu.ac.th/index.php/asj/article/view/1351
ชยันต์ คำบันลือ, ธันย์นรี พรไพรเพชร และ ไกรสร วงษ์ปู่. (2562). การเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการตัดกระยาสารท กลุ่มวิสาหกิจชุมชนขนมไทยบ้านตาก. วารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา, 4(2), 45-53. https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/RMUTLEngJ/article/view/231835/158150
ฐิติพร มุสิกะนันทน์. (2558). การประยุกต์ใช้หลักการผลิตแบบลีนในการเพิ่มกำลังผลิตของกระบวนการ ผลิตปลาเส้น [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ณัฐวดี พัฒนโพธิ์. (2560). การพัฒนาศักยภาพกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์จากต้นกก บ้านโนนนาค ตำบลบัวบาน อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารการบริหารปกครอง (Governance Journal), 6(2) ฉบับพิเศษ), 120-132. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu/article/view/98237
มงคล กิตติญาณขจร, นภัสสร โพธิสิงห์ และ ธนวัตร พัดเพ็ง. (2562). การประยุกต์ใช้เครื่องมือทางวิศวกรรมอุต สาหการเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพกระบวนการผลิต: กรณีศึกษา กระบวนการผลิตก้อนเชื้อเห็ด. วิศวกรรมสารเกษมบัณฑิต, 9(2), 71-89. https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/kbej/ article/ view/180900/149733
วิชัย ก้องเกียรตินคร. (2563). ผลของการประยุกต์ใช้แนวคิดแบบลีนในการปรับปรุงระบบเติมเต็มยาคงคลังของงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลศรีนครินทร์. North-Eastern Thai Journal of Neroscience, 15(4), 56-65. https://neurosci.kku.ac.th/wp-content/uploads/2020/12/06-Original-วิชัย-2.pdf
ศศิชา ทองอำไพ และ วิมลิน เหล่าศิริถาวร. (2562). การลดเวลานำและชิ้นงานระหว่างกระบวนการผลิตในการผลิตชิ้นส่วนตู้รถเข็นโดยใช้เทคนิคการผลิตแบบลีน. วารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 27(1), 104-117. http://cmuir.cmu.ac.th/handle/6653943832/68695
สายันต์ มากมูล. (2556). การประยุกต์การผลิตแบบลีนในกระบวนการผลิตเครื่องขยายเสียง. วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี, 22-27. http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6005
Greene, B.M. (2002). Taxonomy of The Adoptation of Lean Production Tools and Technics. [Ph.D. Thesis]. The University of Tennessee.
Womack, J.P. & Jones, D.T. (2003). Lean Thinking: Banish Waste and Create Wealth in Your Corporation (2nd ed.). New York, NY: Free Press, Simon & Schuster, Inc.