เชื้อเพลิงอัดแท่งจากเศษตะไคร้และเปลือกกล้วย

Main Article Content

มาศสกุล ภักดีอาษา

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตเชื้อเพลิงอัดแท่ง และวิเคราะห์สมบัติของเชื้อเพลิงอัดแท่งจากเศษถ่านไม้และของเสียจากกระบวนการผลิตสเปรย์ตะไคร้หอมและกล้วยฉาบอินทรีย์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จากการศึกษาพบว่ากากตะไคร้และเปลือกกล้วยมีคุณสมบัติทางกายภาพที่เหมาะสมในการผลิตเชื้อเพลิงอัดแท่ง ซึ่งมีค่าความร้อนของตะไคร้อบแห้งและเปลือกกล้วยเผา เท่ากับ 5001.8±4.2 และ 3855.8±8.3 แคลอรี่ต่อกรัม ตามลำดับ โดยผลิตเชื้อเพลิงอัดแท่ง 3 ชุดการทดลอง คือ ถ่านไม้ผสมถ่านเปลือกกล้วย ถ่านเปลือกกล้วยผสมถ่านตะไคร้ และถ่านไม้ผสมถ่านตะไคร้ แต่ละชุดการทดลองมีสัดส่วนผสม 100:0, 80: 20, 60:40, 40:60, 20:80 และ 0:100 โดยใช้กาวแป้งมันสำปะหลังเป็นตัวประสาน ผลการทดลองพบว่าเชื้อเพลิงผสมถ่านเปลือกกล้วยผลิตเป็นแท่งได้ง่ายกว่าผสมถ่านตะไคร้ เชื้อเพลิงอัดแท่ง 2 การทดลองมีความเหมาะสมและผ่านมาตรฐานถ่านอัดแท่ง มผช.238/2547 คือ ถ่านไม้ผสมถ่านเปลือกกล้วย สัดส่วน 80:20 มีค่าความร้อนเท่ากับ 5,199.5±1.5 แคลอรี่ต่อกรัม และ ถ่านไม้ผสมถ่านตะไคร้ สัดส่วน 80:20 มีค่าความร้อนเท่ากับ 5,388.4±4.4 แคลอรี่ต่อกรัม เชื้อเพลิงอัดแท่งมีปริมาณความชื้นไม่เกินร้อยละ 8 โดยน้ำหนัก ลักษณะรูปทรงและขนาดใกล้เคียงกัน สีดำสม่ำเสมอและไม่เปราะ สรุปผลได้ว่าการผลิตเชื้อเพลิงอัดแท่งควรใช้สัดส่วนของถ่านไม้เป็นหลักผสมกับถ่านตะไคร้หรือถ่านเปลือกกล้วย ไม่เกินร้อยละ 20 โดยน้ำหนัก

Article Details

Section
บทความวิจัย

References

กรมโรงงานอุตสาหกรรม. (2555). คู่มือแนวทางและเกณฑ์คุณสมบัติของเสียเพื่อการแปรรูปเป็นแท่งเชื้อเพลิงและบล็อกประสาน. โครงการพัฒนาศักยภาพการใช้ประโยชน์กากของเสีย ประจำปี 2554. การนำร่องการใช้ประโยชน์ของเสีย. สำนักบริหารจัดการกากอุตสาหกรรม.

กรรณิการ์ มิ่งเมือง. (2560). เชื้อเพลิงอัดแท่งจากขยะย่อยสลายได้ภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ “ท้องถิ่นภิวัฒน์” ครั้งที่ 2. วันที่ 10 สิงหาคม 2560 (หน้า 1-8). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

กรมวิชาการเกษตร. (2561) .การปรับปรุงพันธุ์กล้วย. https://www.doa.go.th/hort/wp-content/uploads/2020/10/

กฤษฎา บุญชม และคณะ. (2563). สมบัติทางกายภาพและอัตราการดูดซับความชื้นของถ่านผลไม้. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 15(2), 77-89. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/vrurdistjournal/article/download/241636/165518/

นฤภัทร ตั้งมั่นคงวรกูล. (2557). การผลิตแท่งเชื้อเพลิงจากวัสดุเหลือใช้ในอุตสาหกรรมการเกษตรและครัวเรือน. วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 6(11), 66-77. http://ejournals.swu.ac.th/index.php/SWUJournal/article/view/4488

พัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติสำนักงาน. (2554). ถ่าน: การผลิตที่ถูกวิธีและประโยชน์. กรุงเทพฯ.

ลักษมี สุทธิวิไลรัตน์ ประภัสสร ภาคอรรถ และ ขวัญรพี สิทตรีสะอาด. (2560) การผลิตเชื้อเพลิงอัดแท่งจากเศษวัสดุชีวมวล เอกสารทางวิชาการ. กลุ่มพัฒนาพลังงานจากไม้. ส่วนวิจัยและพัฒนาผลิตผลป่าไม้.

สัมฤทธิ์ โม้พวง และคณะ. (2549). การผลิตถ่านและถ่านกัมมันต์จากเปลือกกล้วยและก้านเครือกล้วย. สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.).

สำนักงานพลังงานเชียงใหม่ กระทรวงพลังงาน (2563) คู่มือการผลิตและการใช้งานเตาเผาผลิตถ่านแบบถัง 200 ลิตร ชนิดลดควัน, เอกสารประกอบการอบรมโครงการเตาเผาถ่าน 200 ลิตร ชนิดลดควัน. สำนักงานพลังงานเชียงใหม่ กระทรวงพลังงาน. เชียงใหม่.

สำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม (สมอ.). (2562). มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ถ่านอัดแท่ง มผช. 238/2547. กระทรวงอุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ.

อัจฉรา อัศวรุจิกุลชัย และคณะ. (2554). การนำเปลือกทุเรียนและเปลือกมังคุดมาใช้ประโยชน์ในรูปเชื้อเพลิงอัดแท่ง. เรื่องเต็มการประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 49: สาขาวิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ. 2554 (หน้า 162-168).