ปัจจัยที่เหมาะสมเพื่อการปรับตั้งค่าเครื่องหั่นใบตะไคร้ด้วยเทคนิคออกแบบการทดลอง

Main Article Content

ยศวรรธน์ จันทนา

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาปัจจัยที่เหมาะสมเพื่อปรับตั้งค่าเครื่องหั่นใบตะไคร้ โดยเครื่องมีขนาดความกว้าง 450 มิลลิเมตร ยาว 530 มิลลิเมตร สูง 740 มิลลิเมตร และมีชุดใบมีดหั่น 11 ใบ จำนวน 2 เพลา การหาปัจจัยที่เหมาะสมใช้การออกแบบการทดลองโดยวิธีทดลองแบบแฟกทอเรียลเต็มรูปแบบ (2k Full Factorial Design) ศึกษาปัจจัยที่ 3 ระดับ ได้แก่ ระยะห่างใบมีดช่วง 30-50 มิลลิเมตร ระยะเหลื่อมใบมีดช่วง 1-4 มิลลิเมตร และความเร็วรอบมอเตอร์ช่วง 100-130 รอบ/นาที ผลการทดลองพบว่า การปรับตั้งค่าที่เหมาะสมของระยะห่างใบมีดที่ 40 มิลลิเมตร ระยะเหลื่อมใบมีดที่ 2.5 มิลลิเมตร และความเร็วรอบมอเตอร์ที่ 115 รอบ/นาที สามารถหั่นใบตะไคร้ได้ 20 กิโลกรัม ใช้เวลาหั่น 2 นาที 35 วินาที จากเดิมที่ใช้แรงงานคนหั่น 20 กิโลกรัม ใช้เวลาหั่น 15 นาที ซึ่งเครื่องหั่นใบตะไคร้สามารถทำงานได้เร็วกว่าแรงงานคนถึง 5.8 เท่า สามารถเพิ่มกำลังการผลิตให้ทันต่อความต้องการของโรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์สมุนไพร 

Article Details

Section
บทความวิจัย

References

จงกลณี ตุ้ยเจริญ, ณิชกานต์ วงษ์ประกอบ กฤตกร หมั่นสระเกษ และ ธิดารัตน์ นิ่มกระโทก. (2563). การรับมือกับไวรัสโคโรนา COVID-19 ในงานสาธารณสุขมูลฐาน. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี, 4(3), 1-20.

เจษฎา วิเศษมณี และ อภิรักษ์ ขัดวิลาศ. (2560). การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณน้ำมันตะไคร้หอมจากเครื่องกลั่นด้วยการออกแบบการทดลอง. วารสารวิชาการและวิจัย มทร.พระนคร, 11(1), 34-42.

ธันวมาส กาศสนุก และ คงเดช พะสีนาม. (2563). การออกแบบและสร้างเครื่องสับย่อยผักตบชวา. วารสารมทร.อีสาน, 13(3), 57-68.

ปรัชญา พละพันธุ์. (2560). คู่มือวิเคราะห์และจัดการข้อมูลสถิติด้วย Minitab. นนทบุรี: ไอดีซี พรีเมอร์.

ประไพศรี สุทัศน์ ณ อยุธยา และ พงศ์ชนัน เหลืองไพบูลย์ (2551). การออกแบบและวิเคราะห์การทดลอง. กรุงเทพ: บริษัท สำนักพิมพ์ท้อป.

พงษ์ศักดิ์ นาใจคง และ สุทัศน์ ยอดเพ็ชร. (2557). การศึกษาการส่งป้อนตะไคร้หั่นซอยด้วยระบบเฟือง.คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์มทร.อีสาน (บรรณาธิการ), การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัย ครั้งที่ 5 (หน้า 192-196). นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.

พิมพ์ชนก พริกบุญจันทร์. (2555). การศึกษากระบวนการผลิตเครื่องดื่มจากตะไคร้ผสมใบเตย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 13(1), 27-33.

เพลิงฟ้า เฮียงสา และคณะ. (2560). การพัฒนาเครื่องหั่นใบสมุนไพร. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร, 48(3) (พิเศษ), 35-38.

รักชนก ภูวพัฒน์ และคณะ. (2560). การเปรียบเทียบสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากลำต้นและใบของตะไคร้หอมในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนคินทร์, 9(1), 136-142.

วัฒนา วิริวุฒิกร. (2562). ผลของสารให้ความหวานต่อการผลิตชาสมุนไพรตะไคร้ผสมใบเตย. วารสารแก่นเกษตร มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 47(1), 1379-1384.

วรเชษฐ์ ศรีประไหม และคณะ. (2562). การออกแบบและสร้างเครื่องหั่นสมุนไพรกึ่งอัตโนมัติ.คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (บรรณาธิการ), การประชุมวิชาการเครือข่ายวิศวกรรมเครื่องกลแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 33 (หน้า 314-319). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ศุภชัย แสงบัวท้าว และ ระพี กาญจนะ. (2559). การวิเคราะห์ปัจจัยที่เหมาะสมเพื่อการออกแบบสร้างเตาเผาขยะชุมชนขนาดเล็กด้วยเทคนิคการออกแบบการทดลอง. วารสารวิศวกรรมศาสตร์ ราชมงคลธัญบุรี, 12(1), 43-53.

ศุภลักษณ์ อริยภูชัย และคณะ. (2559). พืชสมุนไพรและเครื่องเทศที่มีศักยภาพในการผลิตในพื้นที่ภาคใต้. วารสารวิศวกรรมศาสตร์ ราชมงคลธัญบุรี, 3 (ฉบับพิเศษ), 25-30.

Aboagye, G. et al. (2021). Comparative evaluation 364 of antioxidant properties of lemongrass and other tea brands. Scientific African, 11, 1-9. https://doi.org/10.1016/J.SCIAF.2021.E00718

Chaijan, S., Panpipat, W., Panya, A., Cheong, L-Z., & Chaijan, M. (2020). Preservation of chilled Asian sea bass (Lates calcarifer) steak by whey protein isolate coating containing polyphenol extract from ginger, lemongrass, or green tea. Food Control Journal, 118, 1-10. https://doi.org/10.1016/j.foodcont.2020.107400

Pyzdek, T. (2003). The Six Sigma Handbook. New York: McGraw-Hill.