เครื่องดื่มผงเพื่อสุขภาพจากข้าวเหนียวลืมผัวและไหมข้าวโพดสีม่วง

Main Article Content

apirada phonpannawit

Abstract

ข้าวและข้าวโพดเป็นพืชเศรษฐกิจของประเทศไทย ในข้าวและข้าวโพดที่มีสีบางสายพันธุ์ เช่นข้าวเหนียวลืมผัว ข้าวโพดสีม่วงเป็นแหล่งของสารต้านอนุมูลอิสระและสารแอนโทไซยานิน งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มผงเพื่อสุขภาพจากข้าวเหนียวลืมผัวและไหมข้าวโพดสีม่วง โดยศึกษาอัตราส่วนของข้าวเหนียวลืมผัวต่อไหมข้าวโพดสีม่วง และปริมาณของมอลโทเด็กซ์ทรินในการทำแห้งแบบพ่นฝอย พบว่าอัตราส่วนระหว่างข้าวเหนียวลืมผัวต่อไหมข้าวโพดสีม่วงที่ 85:15 สารสกัดที่ได้มีปริมาณแอนโทไซยานิน 11.53 mg/L   และมีความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระ (DPPH) มากที่สุดเท่ากับ 84.99% ในการศึกษาปริมาณของมอลโทเด็กซ์ทริน 5, 15 และ 25%w/w ในการทำแห้งแบบพ่นฝอย พบว่า ความชื้นและค่า Water activity             ของเครื่องดื่มผงมีค่าลดลงเมื่อใช้มอลโทเด็กซ์ทรินในปริมาณเพิ่มขึ้น เครื่องดื่มผงที่ใช้มอลโทเด็กซ์ทริน 5%w/w       มีปริมาณแอนโทไซยานินสูงที่สุดเท่ากับ 8.27 mg/L และมีค่าความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระสูงสุดเท่ากับ 70.64% ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มผงจากข้าวเหนียวลืมผัวและไหมข้าวโพดสีม่วงที่พัฒนาจากงานวิจัยนี้นอกจากจะเป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพแล้วยังช่วยเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรและสร้างความมั่นคงทางอาหารได้


 

Article Details

Section
บทความวิจัย

References

กรมการข้าว. (ม.ป.ป.). ข้าวเหนียวดำลืมผัว. https://www.thairicedb.com/rice-etail.php?id=24

คณิตนันท์ เอซัน, เบญจวรรณ ธรรมธนารักษ์, สุภาภรณ์ เลขวัติ และ รัฐกรณ์ จำนงผล. (2557). ผลของสภาวะการอบแห้งแบบพ่นฝอยต่อความสามารถในการต้านสารอนุมูลอสิระของน้ำตาลมะพร้าวผง. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร, 45(2)(พิเศษ), 493-496. http://www.crdc.kmutt.ac.th/Data%202015/CRDC9/data/785-788.pdf

จินตน์กานต์ งามสุทธา. (2558). ธัญพืชมากประโยชน์ข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วง. http://www.doa.go.th/pibai

จุฑามาศ ถิระสาโรช และ เฉลิมพล ถนอมวงค์. (2558). การผลิตเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพจากข้าวหอมนิล. วารสารวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 43(3), 395-402. http://scijournal.kku.ac.th/files/Vol_43_No_3_P_395-402.pdf

ทัตดาว ภาษีผล, รัตนา ประทุม และ สุนิสา สุริยขันธ์. (2561). องค์ประกอบทางพฤกษเคมีและปริมาณฟีนอลิกทั้งหมดของสารสกัดจากไหมข้าวโพดสองสี. วารสารแก่นเกษตรฉบับพิเศษ, 46(1), 1315-1320. https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=P145%20Hor25.pdf&id=3188&keeptrack=1

ธัญนันท์ ฤทธิ์มณี และ อภิรดา พรปัณณวิชญ์. (2561). การเอนแคปซูเลชันแอนโทไซยานินจากซังข้าวโพดหวานสีม่วงด้วยการทำแห้งแบบพ่นฝอย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 12(2), 169-180. https://he01.tci-thaijo.org/index.php/EAUHJSci/article/download/134671/105642/

นราพร พรหมไกรวร. (2558). การติดตามการเปลี่ยนแปลงของแอนโทไซยานินด้วยการวิเคราะห์ค่าสี. วารสารอาหาร, 4(2), 21-28. http://158.108.94.117/Public/PUB0745.pdf

พรพาชื่น ชูชิด, ศิริพร เรียบร้อย คิม และ อัญชนีย์ อุทัยพัฒนาชีพ. (2560). การเปรียบเทียบปริมาณสารสำคัญในข้าวเหนียวดำ 6 สายพันธุ์. Progress in Applied Science and Technology, 7(2), 271-279. http://www.sci.rmutt.ac.th/stj/index.php/stj/article/view/334/198

วิชิต เด่นดวงดี และ วรวรรธน์ สุบรรณทม. (2557). การสกัดสารแอนโทไซยานินจากข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วงด้วยวิธีคาร์บอนไดออกไซด์เหนือวิกฤติ. ขอนแก่น: ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สกุลกานต์ สิมลา และ อรุณทิพย์ เหมะธุลิน. (2559). ปริมาณแอนโทไซยานินทั้งหมดใน 5 ชิ้นส่วนของเชื้อพันธุกรรมข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วง. วารสารแก่นเกษตร, 44(2), 315-320. https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agkasetkaj/article/view/250341

สุรพงษ์ พินิจกลาง และ รัชนี ไสยประจง (2561) การผลิตเครื่องดื่มซุปเปอร์เบอรี่ที่มีสารสกัดแอนโธไซยานินจากข้าวหอมนิลบนพื้นฐานของการวิเคราะห์ทางด้านประสาทสัมผัส. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร, 49(2) (พิเศษ), 25-28. http://www.crdc.kmutt.ac.th/Data%202018/CRDC11/data/25-28.pdf

สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. (2558). มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนข้าวกล้องผงชงดื่ม มผช.1068/2558. http://tcps.tisi.go.th/pub/tcps1068_58.pdf

อรุณทิพย์ เหมะธุลิน. (2556). การประเมินปริมาณแอนโทไซยานินในเชื้อพันธุกรรมข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วง[วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

Giusti, M. M., & Wrolstad, R. E. (2003). Acylated anthocyanins from edible sources and their applications in food systems. Biochemical Engineering Journal, 14(3), 217-225. https://doi.org/10.1016/S1369-703X(02)00221-8

Hasanudin, K., Hashim, P., & Mustafa, S. (2012). Corn silk (Stigma maydis) in healthcare: a phytochemical and pharmacological review.Molecules, 17(8), 9697-9715. https://doi.org/10.3390/molecules17089697

Sonthong, J., Kanitsatranont, K., & Niwat, C. (2018). Physicochemical properties and bioactive compound of holy basil powder from spray-dried encapsulation with maltodextrin and gum arabic. The Journal of KMUTNB. 28(2), 439-452. https://doi.org/10.14416/j.kmutnb.2018.03.012

Suravanichnirachorn, W., Haruthaithanasan, V., Suwonsichon, S., Sukatta, U., Maneeboon, T., & Chantrapornchai, W. (2018). Effect of carrier type and concentration on the properties, anthocyanins and antioxidant activity of freeze-dried mao [Antidesma bunius (L.) Spreng] powders. Agriculture and Natural Resources, 52(4), 354-360. https://doi.org/10.1016/j.anres.2018.09.011

Yen, G. C. & Hsieh, C. L. (1997). Antioxidant effect of dopamine and related compounds. Bioscience Biotechnology and Biochemistry. 61(10), 1646-1649. https://doi.org/10.1271/bbb.61.1646