การพัฒนาแอปพลิเคชันแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดจันทบุรี

Main Article Content

วุฒิภัทร หนูยอด

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ออกแบบ พัฒนา และประเมินประสิทธิภาพแอปพลิเคชันแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดจันทบุรี ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีส่วนในการทดสอบ และใช้งานแอปพลิเคชันที่พัฒนาขึ้น จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แอปพลิเคชันแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดจันทบุรี และแบบประเมินประสิทธิภาพ ซึ่งการพัฒนาแอปพลิเคชันใช้ React Native  เป็นเฟรมเวิร์ก และ Golang พัฒนา API สำหรับใช้เป็นส่วนต่อประสานงานการจัดการข้อมูลในแอปพลิเคชันกับฐานข้อมูล Mysql วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า แอปพลิเคชันที่พัฒนาขึ้นสามารถแสดงผลการทำงานได้ทั้งระบบ Android และ iOS และการประเมินประสิทธิภาพของแอปพลิเคชันใน 5 ด้านอยู่ในระดับดี (gif.latex?\mu = 4.09) โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านความยืดหยุ่น ง่ายในการใช้งาน (gif.latex?\mu = 4.36) ด้านความสามารถ (gif.latex?\mu = 4.25) ด้านความถูกต้อง (gif.latex?\mu = 4.08) ด้านประสิทธิภาพ (gif.latex?\mu = 4.00) และ ด้านการรักษาความปลอดภัย (gif.latex?\mu = 3.78)

Article Details

Section
บทความวิจัย

References

ฉัตรชัย อินทรประพันธ์ และยุชิตา กันหามิ่ง. (2563). การพัฒนาโมบายแอปพลิเคชั่นส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนอำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร. วิทยาการจัดการวิชาการ 2020. การประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 9 และระดับนานาชาติครั้งที่ 2 (หน้า 1264-1273). เพชรบูรณ์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.

ชาญยุทธ หมูนสี. (2562). สร้าง Cross-Platform Mobile Application ด้วย React Native และ Expo. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ chancorphotmailcom.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่9). กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์สุวีริยาสาส์น.

ประยุทธ์ จันทร์โอชา. (2564, 29 มิถุนายน). นโยบายรัฐบาลด้านการท่องเที่ยว “คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีต่อรัฐสภา”. https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/elaw_parcy/ewt_dl_link.php?nid=2412.

ศุภกฤษฏิ์ นิวัฒนากูล. (2556). การเข้าถึงความรู้ทางการเกษตรด้วยเทคโนโลยีเว็บเชิงความหมาย. (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี, คณะเทคโนโลยีสังคม, สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ.

ศุภชัย สุมพานิช. (2563). พัฒนา Web Apps ด้วย React Bootstrap + Redux. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์โปรวิชั่น.

สุวิทย์ สุวรรณโณ และณัฐธิดา สุวรรณโณ. (2555). แอพพลิเคชั่นระบบสืบค้นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ : อุทยานนกน้ำทะเลน้อยจังหวัดพัทลุง. (รายงานวิจัย). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม.

สหัทยา สิทธิวิเศษ, วรรณวิรัตน์ ตุงคะเวทย์ และคณะ. (2562). การพัฒนาโมบายแอปพลิเคชันเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวด้วยตนเองตามเส้นทาง. วารสารมังรายสาร, 7(1), 117-128.

อัษฎา วรรณกายนต์, นิคม ลนขุนทด และคณะ. (2562). การพัฒนาแอพพลิเคชั่นการท่องเที่ยวเศรษฐกิจชุมชนและสินค้าโอทอป จังหวัดสุรินทร์. วิทยาศาสตร์ คชสาส์น, 41(1), 85-100.

Davis, F. D. (1989). Perceived usefulness, perceived ease of use, and user acceptance of information technology. MIS Quarterly, 13(3), 319-340. https://doi.org/10.2307/249008

Nielsen, J., & Mack, R. L. (Eds.). (1994). Usability Inspection Methods. John Wiley & Sons, NewYork, 173-202.