การศึกษาแนวทางการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกระดับเมือง กรณีศึกษา: เทศบาลเมืองพะเยา

Main Article Content

Amnaj Vichai
Surat Sedpho
Karun Chaivanich

Abstract

งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการลดก๊าซเรือนกระจกระดับเมืองกรณีศึกษา เทศบาลเมืองพะเยา โดยมีการนำข้อมูลปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของเทศบาลเมืองพะเยาที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ.2561 ทำการวิเคราะห์เพื่อเสนอแนวทางการลดก๊าซเรือนกระจกอย่างมีเป้าหมาย เนื่องจากหากไม่มีการดำเนินการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้น ภายในปี พ.ศ.2573 เทศบาลเมืองพะเยาจะมีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเท่ากับ 54,257.60 tCO2eq จึงได้ทำการศึกษาแนวทางการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสำหรับเทศบาลเมืองพะเยาจำนวน 4 แนวทาง ได้แก่ มาตรการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ (PV) การสร้างโรงคัดแยกขยะ การผลิตเชื้อเพลิงขยะ (RDF) และการจัดการขยะแบบฝังกลบ Semi aerobic landfill พบว่า จะสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่จะเกิดขึ้นในปี 2573 ลงได้เท่ากับ 4,282.91 tCO2eq คิดเป็นร้อยละ 18.51 นอกจากนี้หากเริ่มการดำเนินการทั้ง 4 มาตรการตั้งแต่ปี พ.ศ.2562 พบว่ามาตรการลดก๊าซเรือนกระจกด้วยการผลิตเชื้อเพลิงขยะมีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์มากที่สุด รองลงมาเป็นมาตรการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ การสร้างโรงคัดแยกขยะ และการฝังกลบขยะแบบ Semi aerobic landfill ตามลำดับ

Article Details

Section
บทความวิจัย

References

การุณย์ ชัยวณิชย์ และ สุรัตน์ เศษโพธิ์. (2561). วิธีการประเมินก๊าซเรือนกระจกจากการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้า จากเซลล์แสงอาทิตย์: กรณีศึกษา ระบบสมาร์ตกริดมหาวิทยาลัยพะเยา. วารสารมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลสุวรรณภูมิ, 6(2), 194-206. https://li01.tci-thaijo.org/index.php/rmutsb-sci/article/download/114345/116700/

กองนโยบายสิ่งแวดล้อม สำนักสิ่งแวดล้อม จังหวัดฟุกุโอกะ. (2563, 6 มกราคม). เทคโนโลยีการฝังกลบแบบฟุกุโอกะ: ระบบฝังกลบขยะมูลฝอยแบบกึ่งใช้อากาศ. https://www.pref.fukuoka.lg.jp/uploaded/life/542225_60422739_misc.pdf

ชนนิกานต์ คำยันต์ และ เศรษฐ์ สัมภัตตะกุล. (2559). การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ระดับเมืองและการสำรวจ แผนทางเลือกเพื่อลดก๊าซเรือนกระจกสำหรับเมืองคาร์บอนต่ำ, การประชุมวิชาการการถ่ายเทพลังงาน ความร้อนและมวลในอุปกรณ์ด้านความร้อนและกระบวนการ ครั้งที่ 15. (9 หน้า). สุราษฏร์ธานี .

ธนวรกฤต โอฬารธนพร, สันติ วงค์ใหญ่, นราธิป วงษ์ปัน และ สุรัตน์ เศษโพธิ์. (2563). การประเมินก๊าซเรือน กระจกและแนวทางการลดก๊าซเรือนกระจกของเทศบาลตำบลแม่ทะ จังหวัดลำปาง. วารสารวิชาการคณะเทคโนโลยี อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 13(2), 1-11. https://li01.tci-thaijo.org/index.php/Itech/article/view/247935/170090

ภัทรานิษฐ์ ปริญญากุลเสฏฐ์. (2560). การวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยของโรงจัดการขยะแบบครบวงจร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี สุรนารี. วารสารการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย, 4, 46-55. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jpr2r/article/view/95519

รัชพร สิงขโรทัย. (2565, 26 มกราคม). โครงการ “การพัฒนาแนวทางลดก๊าซเรือนกระจกระดับจังหวัดกรณีศึกษาจังหวัดกาฬสินธุ์”. http://www.tgo.or.th/2020/index.php/th/post/โครงการ-การพัฒนาแนวทางลดก๊าซเรือนกระจกระดับจังหวัด-กรณีศึกษา-จังหวัดกาฬสินธุ์-19”

วิไลพร ชินพีระเสถียร. (2553). การศึกษาความเป็นไปได้ของโรงคัดแยกขยะกรณีศึกษา เทศบาลตำบลทรายขาว อำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี [วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต] มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

สำนักงานสนับสนุนการวิจัย (วช.). (2556, 20 มกราคม). สู่สังคมคาร์บอนต่ำ: กระบวนทัศน์การพัฒนาและการขับเคลื่อน TRF Policy Brief. http://prp.trf.or.th/download/810/

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.). (2561, 4 มกราคม). ผลผลิตภัณฑ์ภาคและจังหวัดแบบปริมาณลูกโซ่ ฉบับ พ.ศ.2561. https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=5628&filename=gross_regional

องค์การบริหารก๊าซเรือนกระจก (อบก.). (2559ข, 4 มกราคม). โครงการการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์บนพื้นที่หลังคาอาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (Solar rooftop project at SET building). โครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจมาตรฐานของประเทศไทย (Thailand Voluntary Emission Reduction Program: T-VER). http://ghgreduction.tgo.or.th/tver-database-and-statistics/t-ver-registered-project/item/904-set.html

องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.). (2562ก, 20 กันยายน). คู่มือการดำเนินโครงการลดก๊าซเรือนกระจกเพื่อมุ่งสู่เมืองคาร์บอนต่ำ (Low Carbon City). http://ghgreduction.tgo.or.th/pmr-project-list/download/2588/217/17.html

องค์การบริหารก๊าซเรือนกระจก (อบก.). (2562ข, 4 มกราคม). ระเบียบวิธีการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจ. http://ghgreduction.tgo.or.th/tver-method/tver-methodology-for-voluntary-greenhouse-gas-reduction.html

องค์การบริหารก๊าซเรือนกระจก (อบก.). (2563, 4 มกราคม). ค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Emission Factor). http://thaicarbonlabel.tgo.or.th/admin/uploadfiles/emission/ts_578cd2cb78.pdf

อำนาจ วิชัย, สุรัตน์ เศษโพธิ์ และ นเรศ ใหญ่วงค์. (2564). การประเมินก๊าซเรือนกระจกระดับเมือง กรณีศึกษา:เทศบาลเมืองพะเยา. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 29(4), 701-713. http://www.intech.crru.ac.th/research_ind/doc/197_dissemin_241532-Article-Text-898861-1-10-20211016%20(1).pdf

Sununta, N., Sedpho, S., & Sampattagul, S.(2018).City Carbon Footprint Evaluation and Forecasting Case Study:Dan Sai Municipality.Chemical Engineering Transactions, 63, 277-282. https://doi.org/10.3303/CET1863047