การพัฒนาระบบฐานข้อมูลภูมิสารสนเทศออนไลน์เพื่อการบริหารจัดการน้ำเขตพื้นที่ภัยแล้งในจังหวัดบุรีรัมย์
Main Article Content
Abstract
จังหวัดบุรีรัมย์ประสบปัญหาภัยแล้ง ฝนทิ้งช่วงเป็นเวลานานทำให้เกิดการขาดแคลนน้ำ ในสภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลง จำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้นทำให้การบริหารจัดการน้ำในหลายพื้นที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการ บททความนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสำรวจแหล่งน้ำต้นทุน ความต้องการใช้น้ำอุปโภค บริโภคและการเกษตร จัดทำฐานข้อมูลในการบริหารจัดการน้ำและพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันเพื่อเผยแพร่ข้อมูลการใช้น้ำ พื้นที่ตำบลมะเฟือง อำเภอพุทไธสง ตำบลบ้านด่าน อำเภอบ้านด่าน ตำบลโคกเหล็ก อำเภอห้วยราชและตำบลเมืองฝาง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 61 คน ประกอบด้วย กรรมการกลุ่มบริหารจัดการบริหารจัดการน้ำระดับตำบล สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดบุรีรัมย์ สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดบุรีรัมย์ สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดบุรีรัมย์ และสถานีพัฒนาที่ดินบุรีรัมย์ การพัฒนาระบบโดยแนวคิดวงจรการพัฒนาระบบ วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 4 ระยะ ได้แก่ 1) ศึกษาความต้องการ 2) จัดทำฐานข้อมูลการใช้น้ำระดับตำบล 3) การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชัน 4) การทดลองประเมินประสิทธิภาพและความพึงพอใจผู้ใช้ระบบ ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนาระบบฐานข้อมูลประกอบไปด้วย 16 ตาราง ได้แก่ คำแนะนำ หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด ข้อมูลติดต่อ ประเภทปศุสัตว์ จำนวนปศุสัตว์ ครัวเรือน ปริมาณพืช ประเภทพืช ระบบสมาชิก แหล่งน้ำ ประเภทแหล่งน้ำ เจ้าของแหล่งน้ำและผู้ใช้แหล่งน้ำ ระบบภูมิสารสนเทศออนไลน์เพื่อการบริหารจัดการน้ำเขตพื้นที่ภัยแล้งประกอบด้วย 10 ส่วน ได้แก่ หน้าหลัก หมวดหมู่สัตว์ หมวดหมู่พื้นที่การเกษตร การจัดการแหล่งน้ำ การจัดการข้อมูลสมาชิก การจัดการหมู่บ้าน การบันทึกข้อมูล รายงาน คำแนะนำ และการติดต่อเจ้าหน้าที่ และการนำเข้าข้อมูลความต้องการใช้น้ำ ทั้งหมด 37 ชุมชน 2,714 ครัวเรือน ผลการประเมินประสิทธิภาพระบบภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก (=4.70) ผลการศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.76)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กมลรัตน์ สมใจ, สุริยา บุญทา และ ศักดิธร รัตนเมธาโกศล. (2562). การพัฒนาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อสนับสนุนการจัดการข้อมูลคลังปัญญาผู้สูงอายุใน เขตพื้นที่บ้านโคกเมือง ตำบลจรเข้มาก อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์, การประชุมวิชาการระดับชาติการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5 ประจำปี พ.ศ. 2562 (หน้า 2591-2597). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
กรมพัฒนาชุมชน. (2541). อัตราการใช้น้ำเพื่อการปศุสัตว์. สืบค้นจาก https://sites.google.com/site/ khongbasindwr11/na-chi-pheux-kar-psusatw
เกียรติพงษ์ อุดมธนะธีระ. (2562, 15 มีนาคม). วงจรการพัฒนาระบบ. สืบค้นจาก https://dol.dip.go.th/th/ category/2019-02-08-08-57-30/2019-03-15-11-06-29
ทวีสินธุ์ ตั้งเซ่ง, วารัชต์ มัธยมบุรุษ, พัจน์พิตตา ศรีสมพงษ์. (2559). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการท่องเที่ยวโดยชุมชนเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดสตูล. วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ, 19(2), 67-80. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/RMUTT-Gber/article/download/250281/169842
ธรรมพงศ์ เนาวบุตร. (2544). การประเมินความต้องการน้ำอุปโภคบริโภคและอุตสาหกรรม. สืบค้นจาก http://water.rid.go.th/wrd/const14/images/KL/KL4.pdf
บุญชม ศรีสะอาด. (2554). หลักการวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่9. กรุงเทพฯ : สุวิริยาสาส์น.
มณีรัตน์ บุญุเหลือ และนฤเบศร์ ศรีพรม. (2557). การประยุกต์ระบบภูมิสารสนเทศในการวิเคราะห์ความต้องการใช้น้ำภาคการเกษตร ตำบลโพธิ์ประทับช้าง อำเภอโพธิ์ประทับช้าง จังหวัดพิจิตร. (ปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2562, ธันวาคม). ทิศทางเกษตรไทยปี 2563. สืบค้นจาก https://kasikornresearch.com/th /analysis/k-econ/business/Pages/z3065.aspx
ส่วนประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ. (2561). ข้อมูลการใช้น้ำของพืชในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. สำนักบริหารจัดการน้ำและอุทกวิทยา กรมชลประทาน.
สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ. (2562, สิงหาคม). แผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ. สืบค้นจาก http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/234/T_0011.PDF
สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดบุรีรัมย์. (2563). แผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดบุรีรัมย์. สืบค้นจาก https://www.disaster.go.th/upload/download/file_attach/5fad0892df096.pdf
องค์การบริหารส่วนจังหวัดบุรีรัมย์. (2562). สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานจังหวัดบุรีรัมย์. สืบค้นจาก http://www.bpao.go.th/bpaoweb/index.php?option=com_content&view=article&id=14&Itemid=10
อมรเทพ เจริญสุข และนรุตม์ เกาะสมัน. (2556). การวิเคราะห์ปริมาณความต้องการใช้น้ำของจังหวัดนครปฐม. (ปริญญาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.