การพัฒนาวิธีโฟลอินเจคชันสเปกโทรโฟโตเมทรีสำหรับตรวจวัดปริมาณออกซาลิกในตัวอย่างชา

Main Article Content

apichart boonmalai

Abstract

งานวิจัยนี้เป็นการพัฒนาวิธีโฟลอินเจคชันสเปกโทรโฟโตเมทรีสำหรับตรวจวัดหาปริมาณออกซาลิกในตัวอย่างชา โดยอาศัยหลักการพื้นฐานของปฎิกิริยารีดอกซ์ ซึ่งสารละลายโพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนตจะถูกฉีดเข้าไปในระบบโฟลอินเจคชันเข้าทำปฏิกิริยากับสารละลายออกซาลิกที่อยู่ในสภาวะกรด และตรวจวัดสัญญาณสีของสารละลายโพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนตที่ลดลงที่ความยาวคลื่น 525 นาโนเมตร ด้วยเครื่องสเปกโทรโฟโตมิเตอร์ ได้ทำการศึกษาสภาวะที่เหมาะสมคือ อุณหภูมิที่ทำปฏิกิริยา ความเข้มข้นของกรดซัลฟิวริก อัตราการไหลของสารในระบบ ความเข้มข้นของสารละลายโพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนต และความยาวท่อส่วนผสม จากนั้นศึกษาประสิทธิภาพของระบบที่สร้างขึ้นได้ช่วงความเป็นเส้นตรงของสารละลายมาตรฐานออกซาลิกความเข้มข้น        0 – 400 มิลลิกรัมต่อลิตร ขีดจำกัดการตรวจวัด 7.5 มิลลิกรัมต่อลิตร ขีดจำกัดของการตรวจวัดเชิงปริมาณ  25.0 มิลลิกรัมต่อลิตร (จำนวน 7 ซ้ำ) และร้อยละความเที่ยง 2.7 ได้นำระบบดังกล่าวไปประยุกต์ใช้หาปริมาณออกซาลิกในตัวอย่างชา 10 ตัวอย่าง พบปริมาณออกซาลิก 1.40 – 2.82 มิลลิกรัมต่อกรัมชาแห้ง ได้ร้อยละค่าคืนกลับในช่วง  83 – 115 ซึ่งวิธีโฟลอินชันสเปกโทรโฟโตเมทรีที่สร้างขึ้นเป็นระบบที่ง่ายและอัตโนมัติ ใช้สารปริมาณน้อยเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม วิเคราะห์รวดเร็ว 30 ตัวอย่างต่อชั่วโมง มีความถูกต้องและแม่นยำสูง

Article Details

Section
บทความวิจัย

References

ขวัญจิตต์ เหมะวิบูลย์ และ สายรุ้ง อวยพรกชกร. (2560). ระบบโฟลอินเจคชันสเปกโทรโฟโตเมตรีสําหรับการประเมินฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ. วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการ เรียนรู้, 8(1), 172-180. https://doi.org/10.14456/jstel.2017.11

ธีรารัตน์ ปันอ่วม, สุภาดา คนยัง และ จรูญ จักร์มุณี. (2561). การวิเคราะห์หาปริมาณซัลไฟต์ด้วยระบบโฟลอินเจคชันคัลเลอริเมตริกโดยใช้รีเอเจนต์จากธรรมชาติ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 26(3), 438-448. https://doi.org/10.14456/tstj.2018.39

ปิยวรรณ พันสี, จันทิรา กออินทร์, และ ดวงใจ นาคะปรีชา. (2563). การตรวจวัดปริมาณฟอสเฟตในน้ำผิวดิน จังหวัดลพบุรีด้วยระบบวิเคราะห์แบบไหลชนิดโฟลอินเจคชันอย่างง่าย. วารสารวิชาการและวิจัย มทร.พระนคร, 14(2), 122-134. https://doi.org/10.14456/jrmutp.2020.26

พิมพ์เพ็ญ พรเฉลิมพงศ์ และ นิธิยา รัตนาปนนท์. (ม.ป.ป.). Oxalic acid/กรดออกซาลิก. Food Network Solution ศูนย์เครือข่ายข้อมูลอาหาร. https://www.foodnetworksolution.com/wiki/word/3311/oxalic-acid-กรดออกซาลิก

สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2563). ปริมาณสารอาหารอ้างอิงที่ควรได้รับประจำวัน สำหรับคนไทย พ.ศ. 2563. https://www.thaidietetics.org/wp-content/uploads/2020/04/dri2563.pdf

อภิชาติ บุญมาลัย, คณภรณ์ แสงชัยมงคลลาภ, และ กนกนิภา บุตรศรี. (2562). การวิเคราะห์ออกซาเลตในตัวอย่างผักโดยใช้ขั้วไฟฟ้าต้นทุนต่ำด้วยวิธีโพเทนชิโอเมทริกไมโครไทเทรชัน. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 14(2), 148-160. https://li01.tci-thaijo.org/index.php/PRRJ_Scitech/article/download/122163/149887/685555

อภิชาติ บุญมาลัย และ ธนัชพร พัฒนาธรชัย. (2564). การประยุกต์ใช้พอลิไดอะเซทติลีนรีเอเจนต์ในระบบโฟลอินเจคชันสเปกโทรโฟโตเมทริกอย่างง่ายสำหรับการวิเคราะห์ไอออนตะกั่ว. Life Sciences and Environment Journal, 22(2), 274-286. https://doi.org/10.14456/lsej.2021.14

ChemCollective. (2022, November 13). Volumetric Analysis: Potassium Permanganate Titration: Calculate the concentration of oxalic acid. https://chemcollective.org/chem/ubc/exp04/oxalicacid.php

Kassie, W., Washe, A.P. & Etsay, H. (2019). Spectrophotometric determination of oxalic acid in dietary sources through catalytic titration with hexavalent chromium. Food Science and Quality Management, 83, 30-38. https://doi.org/10.7176/FSQM

Kimoto, H., Hirahara, Y., Sato, K., Iiyama, M., Hashimoto, T. & Hayashita, T. (2023). High-throughput determination of lipopolysaccharide by flow injection analysis using dipicolylamine- type fluorescent probe. Talanta Open, 7, 100204. https://doi.org/10.1016/j.talo.2023.100204

Mahanin, N. & Pongthananikorn, S. (2012). Determination of oxalate content in tea samples by high performance liquid chromatography. Journal of Health Research, 26(3), 109-112. https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jhealthres/article/view/85060

Salimi, M., & Nouroozi, S. (2022). Photometric flow injection analysis of As(III) by using a homemade, LED-based flow-cell device and methyl orange reagent. Spectrochimica Acta Part A: Molecular and Biomolecular Spectroscopy, 283, 121713. https://doi.org/10.1016/j.saa.2022.121713