การศึกษาผลตอบแทนจากการทำประกันชีวิตแบบตลอดชีพสำหรับผู้หญิงอายุ 35 ปี

Main Article Content

Kamonrat Kamjornkittikoon

Abstract

ในการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบอัตราผลตอบแทนจากการทำประกันชีวิตแบบตลอดชีพสำหรับผู้หญิงอายุ 35 ปี ตามฐานภาษีของบุคคล จำนวน 5 แบบประกัน ได้แก่ แบบประกัน ทีทีบี แฮปปี้ ไลฟ์ โพรเทค ของบริษัท พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต จำกัด แบบประกัน 12 พีแอล ของบริษัท กรุงไทย-แอกซ่า ประกันชีวิต จำกัด แบบประกัน เมืองไทย คุ้มครองตลอดชีพ 99/5 ของบริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด แบบประกัน คุ้มธนกิจ 99/20 ของบริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด และแบบประกัน ประกันเพราะรัก มรดกจากใจ 99/5        ของบริษัท เอฟดับบลิวดี ประกันชีวิต จำกัด ผลการศึกษาพบว่า สำหรับทุกฐานภาษี แบบประกัน 12 พีแอล ให้อัตราผลตอบแทนสูงที่สุดในกรณีที่อยู่ครบอายุสัญญากรมธรรม์ และแบบประกัน คุ้มธนกิจ 99/20 ให้อัตราผลตอบแทนเฉลี่ยสูงที่สุดในกรณีที่มีการเสียชีวิตในระหว่างปีกรมธรรม์คุ้มครอง นอกจากนี้ แบบประกัน 12 พีแอล ยังคงให้อัตราผลตอบแทนสูงที่สุด สำหรับผู้ที่ยกเว้นภาษี และผู้ที่เสียภาษีร้อยละ 10 และร้อยละ 20 เมื่อมีการเวนคืนกรมธรรม์ในปีที่ 50 แต่สำหรับผู้ที่เสียภาษีร้อยละ 30 แบบประกัน ทีทีบี แฮปปี้ ไลฟ์ โพรเทค ให้อัตราผลตอบแทนสูงที่สุดเมื่อมีการเวนคืนกรมธรรม์ในปีที่ 15

Article Details

Section
บทความวิจัย

References

ณัฐนิชา เทพพรพิทักษ์. (2565, 23 สิงหาคม). ดอกเบี้ยนโยบายของไทย: ปรับขึ้นเพราะอะไร ทำไมต้องตอนนี้. ธนาคารแห่งประเทศไทย. https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/articles/Pages/Article_23Aug2022.aspx

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2565). ข้อมูลอัตราดอกเบี้ยเงินฝากย้อนหลัง. https://www.bot.or.th/th/statistics/interest-rate.html

ธันยารัศมิ์ สินทรัพย์ และ ฆนัทนันท์ ทวีวัฒน์. (2563). อัตราผลตอบแทนของกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ตามฐานภาษีของบุคคล บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด (มหาชน). ใน เอกธิป สุขวารี (บรรณาธิการ), การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิชาการระดับชาติ UTCC Academic Day ครั้งที่ 4 (หน้า 2508-2522). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

บุษบา ปัญญาชื่น. (2552). การเปรียบเทียบผลตอบแทนจากการซื้อประกันชีวิตประเภทสะสมทรัพย์ รวมทั้งประโยชน์ทางภาษีที่ได้รับจากการประกันชีวิต [วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ปิติ มูลระหัต, สุวพัชร วัฒกีเจริญ และ กมลรัตน์ กำจรกิตติคุณ. (2565). ผลตอบแทนจากการลงทุนในประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์สำหรับผู้หญิงอายุ 35 ปี. ใน สมเกียรติ ไทยปรีชา (บรรณาธิการ), เกษตรศาสตร์อัจฉริยะ สุขภาวะคนไทย สู้ภัยเศรษฐกิจ. การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 19 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน (หน้า 2127–2133). นครปฐม: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน.

วิชัย วิทยาเกียรติเลิศ. (2563). คณิตศาสตร์การเงินและการประยุกต์. กรุงเทพฯ: ปลาทอง ก็อปปี้ ปริ้นท์.

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. (ม.ป.ป.). สารประชากร มหาวิทยาลัยมหิดล ปีที่ 31: มกราคม 2565. https://ipsr.mahidol.ac.th/population-gazette/

สุกัญญา สังคะสัก. (2560). อัตราผลตอบแทนของกรมธรรม์ประกันชีวิตประเภทสะสมทรัพย์ตามฐานภาษีของบุคคล กรณีศึกษาของ บริษัท กรุงไทย - แอกซ่า ประกันชีวิต จำกัด [วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

อังคาร มาตรคำมี. (2549). การเปรียบเทียบผลประโยชน์จากการประกันชีวิตประเภทสะสมทรัพย์ตามสัญญาที่แตกต่างในบริษัทประกันชีวิต [วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ฮาซียะฮ์ ดอรอแซ, อัลอามีน มะแต, วสันตนาวิน หรินปพนวิชญ์ และอุมาพร เชิงเชาว์. (2563). การศึกษาผลตอบแทนจากการลงทุนในกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบตะกาฟุลของ บริษัทเมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน). ใน จิราพร เยี่ยมคำนวณ (บรรณาธิการ), มุ่งหน้าก้าวไกล พัฒนาวิจัยและนวัตกรรม. การประชุมวิชาการระดับชาติ ม.อ.ตรัง วิจัย ครั้งที่ 9 ประจำปี 2563 สาขาวิชาการบัญชี/การเงิน (หน้า 41-52). ตรัง: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง.

Feldblum, S. (1992). Pricing Insurance Policies: The Internal Rate of Return Model. Casualty Actuarial Society Part 10A Examination Study Note.

Mellichamp, D. A. (2017). Internal rate of return: Good and bad features, and a new way of interpreting the historic measure. Computers & Chemical Engineering, 106, 396-406. https://doi.org/10.1016/j.compchemeng.2017.06.005

Riahi-Belkaoui, A. (2001). Evaluating capital projects. USA: Greenwood Publishing Group.