การสร้างสมการพยากรณ์ปัจจัยที่ส่งผลต่อปริมาณผลผลิตมันสำปะหลัง
Main Article Content
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยและสร้างสมการทำนายปริมาณผลผลิตมันสำปะหลังในเขตพื้นที่ชุมชนบ้านละลม ตำบลละลมใหม่พัฒนา อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งทำการศึกษาทั้งหมด 4 ปัจจัย ได้แก่ 1) พื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง 2) การใช้ปุ๋ยบำรุงต้นมันสำปะหลัง 3) พันธุ์มันสำปะหลังที่ปลูก 4) โรคและศัตรูมันสำปะหลัง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง ปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อปริมาณผลผลิตมันสำปะหลัง กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้ปลูกมันสำปะหลังหรือผู้ทำไร่มันสำปะหลัง ที่มีกรรมสิทธิ์เป็นเจ้าของไร่ในเขตพื้นที่ในเขตพื้นที่ชุมชนบ้านละลม ตำบลละลมใหม่พัฒนา อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 98 คน ผลการศึกษาพบว่าทั้ง 4 ปัจจัย มีความสัมพันธ์กับปริมาณผลผลิตมันสำปะหลังในระดับค่อนข้างสูง โดยสามารถพยากรณ์ปริมาณการผลิตได้ร้อยละ 55.3 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แสดงว่าปัจจัยดังกล่าวสามารถอธิบายการเปลี่ยนแปลงของปริมาณผลผลิตมันสำปะหลังได้ร้อยละ 55.3 และเมื่อพิจารณาค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยของตัวพยากรณ์ พบว่ามีเพียง 2 ปัจจัยเท่านั้นที่สามารถพยากรณ์ปริมาณผลผลิตได้ ได้แก่ พื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง และพันธุ์มันสำปะหลังที่ปลูก มีนัยสำคัญทางสถิติ ณ ระดับ 0.05 ซึ่งสามารถเขียนสมการพยากรณ์ปริมาณผลผลิตมันสำปะหลัง ดังนี้ สมการพยากรณ์ในรูปแบบคะแนนดิบ Y = 6.862 + 1.450X1 + 1.536X3 สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน Z = 0.332Z1 + 0.295Z3
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมการค้าต่างประเทศ. (2565). ปริมาณการส่งออกมันสำปะหลัง ปี 2565. https://www.dft.go.th/th-th/dft-service-data-statistic/cid/610
กฤตพร ธิตะจาร, จุฑาภรณ์ สินสมบูรณ์ทอง และธิดาพร ศุภภากร. (2561). การเปรียบเทียบประสิทธิภาพวิธีการประมาณค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยสำหรับตัวแบบการถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ เมื่อข้อมูลมีค่านอกเกณฑ์ในตัวแปรตาม. วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา, 23(2), 820-838. https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/science/article/view/5499
กาญจนา ปล้องอ่อน. (2561). การวิเคราะห์จุดคุ้มทุนการปลูกข้าวเล็บนกปัตตานีของเกษตรกร จังหวัดพัทลุง. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต, 14 (2), 325-348. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pkrujo/article/view/242049/164648
เฉลิมพล จตุพร. (2560). การวิเคราะห์การถดถอย (Regression Analysis). คู่มือการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางเศรษฐ์มิติ GRETL, สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. https://cj007blog.files.wordpress.com/2020/04/01-regression-analysis.pdf
บุญศรี พรหมมาพันธุ์. (2564). เทคนิคการแปลผลการวิเคราะห์ข้อมูลสาหรับการใช้สหสัมพันธ์และการถดถอยในการวิจัย. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ., 11(1), 32-45. https://so05.tcithaijo.org/index.php/edjour_stou/article/view/131213/98480
ปภาดา เผ่าเพ็ง. (2562). แนวทางการส่งเสริมเทคโนโลยีการเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกร ตำบลพันดุง อำเภอขามทะเลสอ จังหวัดนครราชสีมา [วิทยานิพนธ์ปริญญาเกษตรศาสตร์มหาบัณฑิต ส่งเสริม และพัฒนาการเกษตร]. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
วัลลีย์ อมรพล, กอบเกียรติ ไพศาลเจริญ, ศรีสุดา ทิพยรักษ์, ศุภกาญจน์ ล้วนมณี, จิณณจาร์ หาญเศรษฐสุข, ประพิศ วองเทียน และ สมพงษ์ ทองช่วย. (2560). การศึกษาอัตรา ปุ๋ยเคมีที่เหมาะสมสำหรับมันปะหลังที่ปลูกในกลุ่มดินร่วนปนทรายชุดดินห้วยโป่ง. Thai Agricultural Research Journal, 35(2), 151-163. https://www.thaiscience.info/journals/Article/TARJ/10987237.pdf
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2564). เนื้อที่เพาะปลูก เนื้อที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ระดับประเทศ ภาค จังหวัด และอำเภอ ปี 2563 และ 2564. https://www.oae.go.th/view/1/