การวิเคราะห์เส้นทางรถโดยสารประจำทางในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาด้วยขั้นตอนวิธีของไดก์สตรา
Main Article Content
Abstract
ขั้นตอนวิธีของไดก์สตราถูกคิดค้นขึ้นเพื่อหาวิถีสั้นที่สุดจากจุดยอดหนึ่งไปจุดยอดใด ๆ ในกราฟถ่วงน้ำหนัก งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเส้นทางของรถโดยสารประจำทางที่เดินทางระหว่างอำเภอในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการเดินทางที่ต้องการพิจารณาระยะเวลาที่ใช้และค่าใช้จ่ายในการเดินทาง โดยพิจารณาปัญหาในรูปกราฟถ่วงน้ำหนัก จุดในกราฟแทนจุดรับ–ส่งหลักในแต่ละอำเภอ ซึ่งจังหวัดพระนครศรีอยุธยามีทั้งหมด 16 อำเภอ โดยบางอำเภอมีจุดรับ–ส่งหลักมากกว่าหนึ่งจุด จะได้กราฟที่มีทั้งหมด 22 จุด โดยเส้นในกราฟแทนเส้นทางของรถโดยสารประจำทางที่เดินทางระหว่างอำเภอ และเมื่อนำกราฟที่ได้มาพิจารณาในรูปกราฟถ่วงน้ำหนักสองกราฟ คือ กราฟแรกน้ำหนักคือเวลาที่ใช้ในการเดินทางของแต่ละเส้นทาง ซึ่งนำมาจากแผนที่ของกูเกิล (Google map) และกราฟที่สองน้ำหนักคือค่าโดยสารของแต่ละเส้นทางซึ่งได้จากการสอบถามข้อมูลจากพนักงานขับรถและผู้โดยสาร จากนั้นสร้างกราฟทั้งสองให้เป็นกราฟเชิงเดี่ยว โดยเส้นทางที่มีทางเลือกในการเดินทางมากกว่าหนึ่งเส้นทางจะพิจารณาเลือกเส้นทางที่มีน้ำหนักน้อยที่สุดเพียงเส้นทางเดียว และประยุกต์ใช้ขั้นตอนวิธีของไดก์สตรากับกราฟทั้งสอง ผลลัพธ์ของกราฟแรกจะได้เส้นทางที่ใช้เวลาในการเดินทางน้อยที่สุดจากอำเภอพระนครศรีอยุธยาไปยังทุกจุดรับ–ส่งหลักของอำเภออื่น และผลลัพธ์ของกราฟที่สองจะได้เส้นทางที่มีค่าโดยสารที่น้อยที่สุดในการเดินทางจากอำเภอพระนครศรีอยุธยาไปยังทุกจุดรับ–ส่งหลักของอำเภออื่น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
นวรัตน์ อนันต์ชื่น. (2540). ทฤษฎีกราฟ 1. นครปฐม. ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
นิรุชา อาภามงคลรัตน์ และ เปรมรัตน์ พูลสวัสดิ์. (2560). ระบบวางแผนการเดินทางท่องเที่ยวในจังหวัดสมุทรปราการโดยใช้ Dijkstra’s algorithm. การประชุมวิชาการระดับชาติวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 5 (หน้า 1476-1483). http://sci-database.hcu.ac.th/science/file/rsID195_F1_20170706160143.pdf
ปภัสรา ทิพย์ทำมา, วรดา นามวงษ์สา, ปรางทิพย์ ขวัญพุก และ วิสุทธิ์ กิจชัยนุกูล. (2562). การวิเคราะห์เส้นทางจราจรในเขตเทศบาลเมืองเลย โดยใช้ Dijkstra’s Algorithm. การประชุมวิชาการระดับชาติด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ครั้งที่ 1 (หน้า 132-138). https://ncst.lru.ac.th/downloadPaper.php?paper_id=19
สุวรรณี อัศวกุลชัย. (2560). การประยุกต์ใช้ไดค์สตราอัลกอริทึมกับเส้นทางจราจรเพื่อหาเส้นทางที่สั้นที่สุด. สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, 6(1), 5-14. https://apheit.bu.ac.th/jounal/science-vol6-1/1_04_formatted%20V6-1.pdf