การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันการปรับตัวภายใต้สถานการณ์โควิด-19 ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

Main Article Content

AWEEPORN PANTHONG

Abstract

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันการปรับตัวภายใต้สถานการณ์โควิด-19 ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏในปีการศึกษา 2565 จำนวน 320 คน ผลการวิจัยพบว่า ตัวแบบการปรับตัวในสถานการณ์โควิด-19 ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ประกอบด้วยตัวแปรแฝง จำนวน 3 ตัวแปร คือ องค์ประกอบด้านการเรียน ด้านสังคม และด้านอารมณ์ในแต่ละตัวแปรแฝงวัดได้จากตัวแปรสังเกตได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และเมื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสองของการปรับตัวในสถานการณ์โควิด-19 ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ พบว่ามีดัชนีภาวะสารูปดีของตัวแบบกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พิจารณาได้จากค่าไค-สแควร์ มีค่าเท่ากับ 745.94  ค่า p เท่ากับ 0.000 ที่องศาอิสระเท่ากับ 395 ดัชนีวัดระดับความกลมกลืน ค่า gif.latex?\chi&space;^{2} / df เท่ากับ 1.888 ค่า CFI เท่ากับ 0.99 ค่า GFI เท่ากับ 0.96 ค่า AGFI เท่ากับ 0.95 และค่าดัชนีรากกำลังสองเฉลี่ยของความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่า (RMSEA) มีค่าเท่ากับ 0.067 แสดงให้เห็นว่าตัวแปรแฝงแต่ละตัวสามารถอธิบายความแปรปรวนของตัวแปรสังเกตได้อย่างเป็นเอกภาพดี ตัวแบบการวัดการปรับตัวนิยามตัวแปรแฝงทั้งหมดถูกต้องและเชื่อถือได้

Article Details

Section
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมโรค. (2564). สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. http://ddc.moph.go.th/uploads/files/2017420210820025238.pdf

ธเนศ แม้นอินทร์. (2564). การปรับตัวของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต, 16(2), 74-90. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rbac/article/download/255076/171929/942979

วัณยรัตน์ คุณาพันธ์. (2561). การศึกษากระบวนการปรับตัวที่มีประสิทธิผลสาหรับนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน [วิทยานิพนธ์ปริญญา ดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยบูรพา.

สมชาย รัตนทองคำ. (2558). การสอนทางกายภาพบำบัด. https://ams.kku.ac.th/aalearn/resource/edoc/tech/book58/6std58.pdf

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2019). เทคนิคการสุ่มตัวอย่างและการประมาณค่า. (พิมพ์ครั้งที่ 1), http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/Toneminute/files/55/A3-16.pdf

Baker, R. W. & Siryk, B. (1984). Measuring adjustment to college. Journal of Counselling Psychology, 31(2), 179-189. https://doi.org/10.1037/0022-0167.31.2.179

Diamantopoulos, A., & Siguaw, J. A. (2000). Introducing LISREL. London: Sage Publications. https://doi.org/10.4135/9781849209359

Fornell, C., & Larcker, D. F. (1981). Evaluating Structural Equation Models with Unobservable Variables and Measurement Error. Journal of Marketing Research, 18(1), 39–50. https://doi.org/10.2307/3151312

Schumacker, R. E., & Lomax, R. G. (2004). A beginner’s guide to structural equation Modeling (2nd ed.). New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates.

Worchel, S. & Goethalo, G. R. (1985). Adjustment Pathways to Personal Growth. Englewood Cliffs : Prentice – Hall.