การศึกษาความเป็นไปได้ทางเทคโนโลยี เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม น้ำมันอากาศยานชีวภาพจากของเหลือทิ้งชีวภาพและพืชพลังงาน

Main Article Content

SUJANYA CHANTRASIRI

Abstract

วิกฤตภาวะโลกร้อนเป็นปัญหาสำคัญระดับโลก โดยมีสาเหตุหลักจากการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลทำให้เกิดการสะสมก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศ ส่งผลให้อุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกและน้ำทะเลในปี พ.ศ. 2565 เพิ่มสูงถึง 1.15 องศาเซลเซียส เมื่อเทียบกับยุคก่อนอุตสาหกรรม (พ.ศ. 2493) ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลกสร้างความเสียหายทั่วโลกเฉลี่ย 480 ล้านเหรียญสหรัฐต่อวัน ในปี พ.ศ. 2557 ประเทศไทยได้ร่วมกับประชาคมโลก เพื่อควบคุมอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไม่ให้เพิ่มเกินกว่า 1.5 องศาเซลเซียส และมุ่งสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนในปี พ.ศ. 2593 อุตสาหกรรมการบินไทยยุคก่อนโควิด 19 ในปี พ.ศ. 2562 มีการใช้น้ำมันอากาศยานฟอสซิลสูงสุด 19.5 ล้านลิตรต่อวัน และปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่บรรยากาศในระดับสูงสุด 34.949 ล้านตันต่อปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2573 สายการบินประเทศไทยต้องรักษาระดับการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิให้อยู่ระดับคงที่ (neutralize) ไม่ให้เกินระดับการปล่อยสูงสุดของปี พ.ศ. 2562 น้ำมันอากาศยานชีวภาพสามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้สูงถึงร้อยละ 80 เมื่อเทียบกับน้ำมันอากาศยานฟอสซิล การผลิตน้ำมันอากาศยานชีวภาพเริ่มจากการนำน้ำมันชีวภาพมาทำปฏิกิริยากับไฮโดรเจนในถังปฏิกิริยาความดันสูง จะได้เชื้อเพลิงเหลวไฮโดรคาร์บอนสูงร้อยละ 80 - 95 แล้วนำเข้าสู่กระบวนการกลั่นที่อุณหภูมิสูงจะได้ผลิตภัณฑ์น้ำมันอากาศยานชีวภาพร้อยละ 21 - 25 น้ำมันก๊าซโซลีนชีวภาพร้อยละ 8 - 18 น้ำมันไบโอดีเซลร้อยละ 20 - 25          ก๊าซชีวภาพร้อยละ 22 - 25 และกากน้ำมันชีวภาพร้อยละ 8 - 10 วัตถุดิบที่เหมาะสำหรับผลิตน้ำมันอากาศยานชีวภาพ ได้แก่ ปาล์มน้ำมัน น้ำมันพืชใช้แล้ว สบู่ดำ อ้อย และมันสำปะหลัง เทคโนโลยีการผลิตน้ำมันอากาศยานชีวภาพที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย คือ กระบวนการไฮโดรโปรเซสเอสเทอร์และกรดไขมัน เทคโนโลยีไบโอแมสก๊าซซิฟิเคชั่นร่วมกับอโรมาติกฟิชเชอร์ทรอปซ์ และกระบวนการแอลกอฮอล์ทูเจ็ท

Article Details

Section
บทความวิจัย

References

กระทรวงพลังงาน. (2562). แผนปฏิบัติการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2564 – 2573. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน.

กรมอุตุนิยมวิทยา. (2565). ความผันแปรและ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. 2564. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์ภูมิอากาศ กองพัฒนาอุตุนิยมวิทยา กรมอุตุนิยมวิทยา.

ปวีณา พาณิชยพิเชฐ. (2565). ประเทศไทยกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจก. องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก. ลดโลกร้อนกับ LESS วันที่ 8 ธันวาคม 2565

ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (2563). โครงการศึกษาแนวทางการส่งเสริม เชื้อเพลิงชีวภาพอากาศยานอย่างยั่งยืน [รายงานวิจัย]. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ. (2563). การผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพจากฟูเซลแอลกอฮอล์ที่ได้จากโรงงานเอทานอล (รายงานโครงวิจัย) สาขาวิชาเคมีประยุกต์ คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.

อธิสิทธิ์ นุชเนตร. (2556). ไบโอดีเซลจากน้ำมันพืชที่ใช้แล้ว: พลังงานทางเลือกระดับชุมชนกับความคุ้มค่าในการผลิตพลังงานทดแทน. วารสารการวิจัยกาสะลองคำ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 7(2), 131-141. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/ksk/article/view/128142/96404

Arter, C.A., Buonocore, J.J., Moniruzzaman, C., Yang, D., Huang, J. & Arunachalam, S. (2022). Air quality and health-related impacts of traditional and alternate jet fuels from airport aircraft operations in the US. Environment International, 158, 106958. https://doi.org/10.1016/j.envint.2021.106958

Austin. (2023). Groundbreaking transatlantic flight using greener fuel lands ln the US. BBC; Royal Watch Newsletter. https://www.bbc.com/news/business-67548961

cCarbon. (2023). Global Sustainable Aviation Fuel Outlook 2030. A specialized analysis platform for environmental, commodity, markets and climate finance. https://www.ccarbon.info/insight/global-sustainable-aviation-fuel-outlook-2030/

Frontier Energy Research. (2023). Bio-aviation Fuel: A Comprehensive Review and Analysis of the Supply Chain Components. Sec. Process and Energy Systems Engineering. https://www.frontiersin.org/articles/10.3389/fenrg.2020.00110/full

IATA. (2023). Sustainable aviation fuel output increases, but volumes are still low. Chart of the Week. The International Air Transport Association. https://www.iata.org/en/iata-epository/publications/economic-reports/sustainable-aviation-fuel-output-increases-but-volumes-still-low/

ICAO. (2023). Third ICAO Conference on Aviation and Alternative Fuels (CAAF/3). Dubai, United Arab Emirates. International Civil Aviation Organization. https://www.icao.int/Meetings/CAAF3/Pages/default.aspx

IEA. (2023). CO2 Emissions in 2022: International Energy Agency. Flagship report.

IPCC. (2023). AR6 Synthesis Report: Climate Change 2023. The IPCC finalized the Synthesis Report for the Sixth Assessment Report., Intergovernmental Panel on Climate Change., Geneva, Switzerland. https://www.ipcc.ch/report/sixth-assessment-report-cycle/

ITF. (2021). Decarbonizing Air Transport: Acting Now for the Future; International Transport Forum Policy. https://www.itf-oecd.org/decarbonising-air-transport

United Nation. (2023). Hottest July ever signals ‘era of global boiling has arrived’ says UN chief. UN News, Global perspective Human stories, Climate and Environment. https://news.un.org/en/story/2023/07/1139162

Watson, M.J., Machado, P.G., da Silva, A.V., Saltar, Y., Ribeiro, C.O., Nascimento, C.A.O. & Dowling, A.W. (2024). Sustainable aviation fuel technologies, costs, emissions, policies, and markets: A critical review. Journal of Cleaner Production, 449, 141472. https://doi.org/10.1016/j.jclepro.2024.141472

WMO. (2024). State of the Global Climate in 2023. Document. World Meteorological Organization. https://library.wmo.int/records/item/68835-state-of-the-global-climate-2023

World Economic Forum and Frontiers Science News. (2023). Top 10 Emerging Technologies of 2023: Sustainable aviation fuel; Centre for the Forth Industrial Revolution., Flagship Report. https://blog.frontiersin.org/2023/06/27/frontiers-and-the-world-economic-forum-collaboration-reveals-the-top-10-emerging-technologies-of-2023-report/