การพยากรณ์ปริมาณการใช้น้ำประปาในเขตเทศบาลนครนครสวรรค์ ด้วยวิธีการวิเคราะห์อนุกรมเวลาโดยใช้เทคนิคของบอกซ์-เจนกินส์

Main Article Content

Woraphan Jareankam

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพยากรณ์ความต้องการใช้น้ำประปาในเขตเทศบาลนครนครสวรรค์ โดยใช้ข้อมูลปริมาณการใช้น้ำประปาในเขตเทศบาลนครนครสวรรค์ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2556 ถึงปีงบประมาณ 2566 จำนวน 132 ค่า โดยแบ่งข้อมูลออกเป็น 2 ชุด คือ ชุดที่ 1 ใช้สำหรับการวิเคราะห์เพื่อสร้างตัวแบบพยากรณ์ เป็นข้อมูลปริมาณการใช้น้ำประปาในเขตเทศบาลนครนครสวรรค์ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2556 ถึงปีงบประมาณ2565 จำนวน 120 ค่า และข้อมูลชุดที่ 2 เป็นข้อมูลปริมาณการใช้น้ำประปาในเขตเทศบาลนครนครสวรรค์ปีงบประมาณ 2566 จำนวน 12 ค่า ซึ่งเป็นข้อมูลที่ใช้สำหรับทดสอบประสิทธิภาพตัวแบบพยากรณ์ที่สร้างขึ้น โดยวิเคราะห์อนุกรมเวลาด้วยวิธีบอกซ์เจนกินส์ (Box-Jenkins) หาประสิทธิภาพความแม่นยำของตัวแบบการพยากรณ์โดยพิจารณา รากที่สองของความคลาดเคลื่อนเฉลี่ย (RMSE) ค่าเฉลี่ยร้อยละความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์ (MAPE) และค่าเฉลี่ยความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์เฉลี่ย (MAE)  พบว่า ตัวแบบที่วิเคราะห์อนุกรมเวลาด้วยวิธีบอกซ์เจนกินส์ที่เหมาะสมที่สุด คือ ตัวแบบ ARIMA(10,1,5) โดยให้ค่า RMSE = 58,551.27, MAPE = 5.36  และ MAE = 51,437.16 ผลการพยากรณ์ปริมาณการใช้น้ำประปาในเขตเทศบาลนครนครสวรรค์ปีงบประมาณ 2567 รวมเท่ากับ 10,632,157.04 ลูกบาศก์เมตร

Article Details

Section
บทความวิจัย

References

ณิชา สุภาพิมพ์ และ สุเมธ แก่นมณี. (2555). การพยากรณ์ความต้องการใช้นํ้าเพื่อการอุปโภคบริโภคในอนาคต โดยใช้แบบจำลองอารีมาและแบบจำลองการ์ช. วารสารวิจัย มข. ฉบับสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 11(1), 45-55. https://rtt.kku.ac.th/ejournal/pa_upload_pdf/843236.pdf

ณัฐภัทร ก้อนเครือ และ กัลยา บุญหล้า. (2559). การพยากรณ์ปริมาณหน่วยจำหน่ายไฟฟ้าจังหวัดพิษณุโลก. วารสารวิทยาศาสตร์ลาดกระบัง, 25(2), 54-64. https://li01.tci-thaijo.org/index.php/science_kmitl/article/view/73756/59509

ทรงศิริ แต้สมบัติ. (2549). การพยากรณ์เชิงปริมาณ. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

วิชิต หล่อจีระชุณห์กุล และ จิราวัลย์ จิตรถเวช. (2548). เทคนิคการพยากรณ์ (พิมพ์ครั้งที่3). กรุงเทพมหานคร: โครงการส่งเสริมเอกสารวิชาการสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

วรางคณา กีรติวิบูลย์. (2558). การพยากรณ์ปริมาณน้ำฝนอำเภอเมือง จังหวัดน่าน. วารสารวิจัยและพัฒนา มจธ., 38(3), 211-223. https://digital.lib.kmutt.ac.th/journal/loadfile.php?A_ID=773

Box G.E.P., Jenkins G.M., & Reinsel, G.C. (1994). Time Series Analysis: Forecasting and Control (3nd ed). New Jersey: Prentice Hall

Bowerman, B.L., & O’Connell, R.T. (1993). Forecasting and Time Series: An Applied Approach (3nd ed). California: Duxbury Press.

Bo, Z., Yezheng, L. & Feifei, Z. (2021). Annual Water Consumption Forecast of Hefei Based on ARIMA Model. Academic Journal of Computing & Information Science, 4(3), 88-93. https://doi:10.25236/AJCIS.2021.040314

Rajballie, A., Tripathib, V., & Chinchamee A. (2022). Water consumption forecasting models – a case study in Trinidad (Trinidad and Tobago). Journal of the International Water Supply Association, 22(5), 2534-5447. https://doi:10.2166/ws.2022.147

Ristow, D.C.M., Henning, E., Kalbusch, A. & Petersen, C.E. (2021). Models for forecasting water demand using time series analysis: a case study in Southern Brazil. Journal of Water, Sanitation and Hygiene for Development, 11(2), 231-240. http://doi:10.2166/washdev.2021.208

Viccione, G., Guarnaccia, C., Mancini S. & Quartieri J. (2020) On the use of ARIMA models for short-term water tank levels forecasting. Journal of the International Water Supply Association, 20(3), 787-799. https://doi:10.2166/ws.2019.190

Weiss, H.J., & Gershon, M.E. (1993). Production and operations management (2nd ed). USA: Allyn and Bacon.