ผลิตภัณฑ์กัมมี่เยลลี่จากน้ำสกัดส้มแขกผสมมะขามป้อมและกระชายขาว

Main Article Content

Nomjit Suteebut

Abstract

ส้มแขก มะขามป้อม และกระชายขาว เป็นสมุนไพรพืชอาหารที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพในการส่งเสริมภูมิคุ้มกันของร่างกาย การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพจากส้มแขกผสมมะขามป้อมและกระชายขาว เพื่อนำข้อมูลมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ ผลการสำรวจผู้บริโภคโดยใช้แบบสอบถามพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ (ร้อยละ 50) ให้ความสนใจผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพในรูปแบบของกัมมี่เยลลี่มากกว่าเจลลี่แบบแท่ง แบบเหลวและแบบพุดดิ้ง ด้วยเหตุผลง่ายในการรับประทานและสะดวกในการพกพา ผลการพัฒนาผลิตภัณฑ์กัมมี่เยลลี่จากน้ำสกัดส้มแขกผสมมะขามป้อมและกระชายขาว โดยศึกษาปริมาณเจลาตินที่เหมาะสมในสูตรร้อยละ 12 และร้อยละ 15 พบว่าการใช้เจลาตินร้อยละ 15 ของส่วนผสมทั้งหมด ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์กัมมี่เยลลี่มีสีจางลง มีความใสเพิ่มขึ้น เนื้อสัมผัสแข็งและเหนียวหนึบ ค่า aw และปริมาณความชื้นลดลง ปริมาณโปรตีนและเถ้าสูงขึ้น แต่ไม่มีผลต่อปริมาณไขมัน และการใช้เจลาตินร้อยละ 15 ยังได้รับคะแนนความชอบจากผู้ทดสอบชิมมากกว่าผลิตภัณฑ์กัมมี่เยลลี่ที่ใช้เจลาตินร้อยละ 12 ผลิตภัณฑ์กัมมี่เยลลี่ที่พัฒนาได้น้ำหนัก 100 กรัม มีปริมาณโปรตีน 17.47 กรัม ไขมัน 0.43 กรัม เถ้า 0.49 กรัม และคาร์โบไฮเดรต 81.66 กรัม มีปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระ DPPH 355.23 มิลลิกรัมสมมูลย์ Trolox/100 กรัม และฟีนอลิกรวม 192.55 มิลลิกรัมสมมูลย์กรดแกลลิก/100 กรัม จึงเป็นผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อสุขภาพที่เหมาะสำหรับส่งเสริมภูมิคุ้มกันของร่างกายได้  

Article Details

Section
บทความวิจัย

References

กมลทิพย์ กรรไพเราะ. (2561). ผลของการใช้สารทดแทนน้ำตาลต่อคุณภาพของกัมมี่เยลลี่ดาหลา. วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา, 23(2), 944-958. https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/science/article/view/5509

จันทนี ธีรเวชเจริญชัย, กมลวรรณ แจ้งชัด และ อนุวัตร แจ้งชัด. (2557). ผลของเจลาตินและกลูโคสไซรัปต่อคุณภาพเยลลี่แครอทแผ่น. ใน รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 52: สาขาอุตสาหกรรมเกษตร (หน้า 303-310). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

ธนกานต์ กิจนิธิประภา และ ภานุพงศ์ สานะสิทธิ์. (2565). มะขามป้อม. วารสารศููนย์์การศึกษาแพทย์ศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า, 39(3), 381-383. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ppkjournal/article/view/258920

ธัญลักษณ์ เกิดบัวทอง. (2556). การปรับปรุงสมบัติการเกิดเจลของเจลาตินจากหนังปลาทูน่าเพื่อประยุกต์ใช้ในอาหารสัตว์ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ธีรวรรณ สุวรรณ์, วัชระ ประดุจพรม, วิไรพร งามรูป, ณัฐธยาน์ ชูสุข และ จันทิมา ภูงามเงิน. (2560). การพัฒนาผลิตภัณฑ์กัมมี่เยลลี่ใบรางจืด. วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา, 22(1), 189-201. https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/science/article/view/4821

ปาริชาติ ราชมณี, อุดมศักดิ์ สีหาบันดิษ, สุลัยภรณ์ โฮมละคร, บุศรินทร์ เลไลคํา, ศนันธร พิชัย และ วญานิศา โพธิ์รัตน์โส. (2560). การพัฒนาผลิตภัณ์กัมมี่เยลลี่ขิง. ใน รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการ การเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาครั้งที่ 2 RMU GRC 2017 (หน้า 629-633). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ปิยะมิตร ศรีธรา. (2563). สมุนไพรที่มีฤทธิ์ต้านโควิด-19. กรุงเทพมหานคร: คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดีมหาวิทยาลัยมหิดล.

ปิยะวรรณ โตเลี้ยง, รุ่งโรจน์ สงสระบุญ, พิจิตร เอี่ยมโสภณา และ จิตระวี ทองเถา. (2566). ลักษณะ ประชากรศาสตร์และปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมตัดสินใจซื้อ ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมในกรุงเทพมหานคร. สยามวิชาการ, 24(1), 22-34. https://so07.tci-thaijo.org/index.php/sujba/article/view/1214

ภาสุรี ฤทธิเลิศ และ กมลวรรณ วารินทร์. (2563). การพัฒนาผลิตภัณฑ์กัมมี่เยลลี่มะม่วงหาวมะนาวโห่. Thai Journal of Science and Technology, 9(2), 342-354. https://doi.org/10.14456/tjst.2020.45

มยุรา ธรรมวัฒนากุล และ ธัญนันท์ บุญอยู่. (2565). อิทธิพลของนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์และ คุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่มีต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคอาหารเสริมเพื่อสุขภาพในเขตกรุงเทพมหานคร โดยมีแรงจูงใจเป็นปัจจัยกำกับ. วารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 5(3), 85-99. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/ibas/article/view/258036

ศุภชัย พิทักษ์มงคล และ น้อมจิตต์ สุธีบุตร. (2562). กัมมี่เยลลี่ลดน้ำตาลเสริมเวย์โปรตีน. ใน รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการและนําเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 10 (หน้า 1348-1354). มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา.

สโรชา ถึงสุข. (2558). วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตส้มแขกในพื้นที่ภาคใต้ตอนบน [รายงานวิจัย]. กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

สุกัญญา เขียวสะอาด, สรัญญา ชวนพงษ์พานิช และ อัศวิน ดาดูเคล. (2564). การพัฒนาผลิตภัณฑ์กัมมี่เยลลี่จากสารสกัดดอกบุนนาค. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 28(12), 2185-2200. https://opac01.rbru.ac.th/multim/journal/04243.pdf

สุรียพร กังสนันท์, ศิริพร รักษ์แก้ว และ สการัตห์ คุมมะระ. (2566). การศึกษาชนิดและปริมาณของสารก่อเจลและสารให้ความหวานในผลิตภัณฑ์กัมมี่เยลลี่น้ำตาลโตนดสด. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย, 15(1), 236-247. https://ird.skru.ac.th/RMS/file/52315.pdf

สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. (2521). มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม แยม เยลลี่และมาร์มาเลด. สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม.

สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. (2547). มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน เรื่องเยลลี่แห้ง (มผช. 520/2547). กองบริหารมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน.

สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. (2560). เคมีวิเคราะห์คุณค่าโภชนะ เล่ม 1 ไขมัน โปรตีน ความชื้น เถ้า กาก น้ำตาลทั้งหมด โซเดียม คาร์โบไฮเดรตทั้งหมด และพลังงานทั้งหมด (มอก. 2867 เล่ม 1-2560). กระทรวงอุตสาหกรรม.

AOAC. (2000). Official Methods of Analysis. 17th ed. Association of official analytical chemists, Gaithersburg, Md.

Braca, A., Sortion, C., Politi, M., Morelli, I., & Meddez, J. (2002). Antioxidant activity of flavonoids from Liccania licaniaeflora. Journal of Ethnopharmacology, 79(3), 379–381. https://doi.org/10.1016/s0378-8741(01)00413-5

Cole, B. (2002). Gelatin: In Encyclopedia of Food Science and Technology 2nd. (Francis, F. J., ed.). Wiley.

Emergen research. (2022). Vitamins and Supplements Market Size Worth USD 196.5 Billion in 2030. https://www.emergenresearch.com/press-release/global-vitamins-and-supplements-market

Majhenic, L., Skerget, M., & Knez, Z. (2007). Antioxidant and antimicrobial activity of guarana seed extract. Food Chemistry, 104(3), 1258-1268. https://doi.org/10.1016/j.foodchem.2007.01.074

Polaris Market Research. (2023). Dietary Supplements Market Share, Size, Trends, Industry Analysis Report. https://www.polarismarketresearch.com/industry-analysis/dietary-supplements-market

Renaldi, G., Junsara, K., Jannu, T., Sirinupong, N., & Samakradhamrongthai, R. S. (2022). Physicochemical, textural, and sensory qualities of pectin/gelatin gummy jelly incorporated with Garcinia atroviridis and its consumer acceptability. International Journal of Gastronomy and Food Science, 28, 100505. https://doi.org/10.1016/j.ijgfs.2022.100505

Zhou, X. Y., Yu, J. H., & Yu, H. (2022). Effect of gelatin content and oral processing ability on vitamin C release in gummy jelly. Journal of Food Science and Technology. 59(2), 677–685. https://doi.org/10.1007/s13197-021-05061-0