กระถางพืชอินทรีย์จากมะพร้าวน้ำหอมเหลือทิ้งและวัสดุรองพื้นคอกสุกร
Main Article Content
Abstract
เปลือกมะพร้าวน้ำหอมและวัสดุรองพื้นสำหรับคอกสุกรเป็นของเสียที่เกิดขึ้นมากในจังหวัดราชบุรี ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงได้ศึกษาการใช้เปลือกมะพร้าวน้ำหอม วัสดุรองพื้นคอกสุกร โดยนำเปลือกมะพร้าวน้ำหอมผสมวัสดุรองพื้นคอกสุกรในอัตราส่วน 1:1 โดยน้ำหนัก ซึ่งใช้แป้งข้าวโพดเป็นตัวประสาน ศึกษาสมบัติทางกายภาพและเคมี และทดสอบการปลูกกะเพราเป็นเวลา 30 วัน ผลการศึกษาพบว่า เปลือกมะพร้าวและวัสดุรองพื้นคอกสุกร มีค่าคาร์บอนต่อไนโตรเจนเท่ากับ 74.42 และ 9.86 ตามลำดับ กระถางอินทรีย์สามารถปลดปล่อยแอมโมเนีย ไนเตรท ฟอสฟอรัส และแทนนินออกมาได้ เมื่อนำมาใช้ปลูกกะเพราเปรียบเทียบกับกระถางพลาสติก พบว่าการใช้วัสดุรองพื้นคอกสุกรเป็นกระถาง มีจำนวนต้นและความสูงเฉลี่ยสูงที่สุด ให้ผลที่ดีกว่าการใช้กระถางพลาสติก การใช้กระถางเปลือกมะพร้าวยังมีข้อจำกัด เนื่องจากมีการปลดปล่อยแทนนินออกจากกระถางและเกิดการสะสม ทำให้มีผลในทางลบต่อการเจริญของพืช กระถางอินทรีย์จากวัสดุรองพื้นคอกสุกรสามารถนำมาใช้เป็นกระถางพร้อมปลูกลงดิน ย่อยสลายได้ง่าย และมีธาตุอาหารที่เหมาะสมสำหรับการเจริญของพืช
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมวิทยาศาสตร์บริการ. (2555) วิธีทดสอบการดูดซึมน้ำ ความหนาแน่นบัลค์ ความพรุนตัวปรากฏ และความถ่วงจำเพาะปรากฏของดินเนื้อเซรามิก คู่มือการวิธีทดสอบ เล่มที่ 1/2555.
กิตติชัย โสพันนา, วิชชุดา ภาโสม, กนกวรรณ วรดง และอนันตสิทธิ์ ไชยวังราช. (2558) การประดิษฐ์และสมบัติของกระถางชีวภาพ, SNRU Journal of Science and Technology ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2558 หน้า 1-7.
ปิยณัฐ โตอ่อน, วรรณรพ ขันธิรัตน์ และ จรุงรัตน์ พันธุ์สุวรรณ. (2557) การวิเคราะห์อัตราการเจริญเติบโตของพืชที่ใช้กระถางต้นไม้จากปุ๋ยคอก ขุย และใยมะพร้าว โดยใช้หลักการออกแบบทดลอง การวิเคราะห์อัตราการเจริญเติบโตของพืชที่ใช้กระถางต้นไม้จากปุ๋ยคอก ขุยและใยมะพร้าวโดยใช้หลักการออกแบบทดลอง, วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2557 หน้า 140-147.
ศศิธร กู้สุวรรณวิจิตร, สุดารัตน์ ตรีเพชรกุล และแสงชัย เอกปทุมชัย. (2561). คุณลักษณะและประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อราก่อโรคพืชของสารสกัดจากขุยมะพร้าวและปุ๋ยน้ำสกัดจากขุยมะพร้าว, การประชุมวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 56 (หน้า327-334).กรุงเทพ:มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ศิริศักดิ์ แสนสุขกะโต และจรัสชัย เย็นพยับ. (2562). การศึกษาอัตราส่วนการผสมและคุณภาพของกระถางปลูกจากวัสดุเหลือใช้จากมะพร้าว, แก่นเกษตร, ปีที่ 47 ฉบับพิเศษ 1, 1485-1490. https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=142_Hor25.pdf&id=3614&keeptrack=2
สำนักงานจังหวัดราชบุรี. (2567). แผนพัฒนาจังหวัดราชบุรี พ.ศ. 2566-2570 (ฉบับทบทวน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568) https://rbpho.moph.go.th/upload-file/doc/files/25122023-093716-6010.pdf
Baird, R.B., Eaton, A.D. & Rice, E.W. (2017). Standard Methods for the Examination of Water and Wastewater (23rd eds.) Am. Public Heal. Assoc. (APHA), Am. Water Work. Assoc. Water Environ. Fed. (WEF). Washington DC.
Chen C., Qiu H., Ma H., Imran S., Raza T., Gao R. Yin Y.F. (2020). Response of the subtropical forest soil N transformations to tannin acid-organic nitrogen complexes, SN Applied Science, 2, 1209, http://doi.org/10.1007/s42452-020-3006-7
Dehghanian Z., Habibi K., Dehghanian M., Aliyar S., Lajayer B.A., Astatkie T., Minkina T., Keswani C., Reinforcing the bulwark: unravelling the efficient applications of plant phenolics and tannins against environmental stresses. (2022). Heliyon, 8(3), https://doi.org/10.1016/j.heliyon.2022.e09094
Domeno, I., Irigoyen, N., & Muro, J. (2009). Evolution of organic matter and drainages in wood fibre and coconut fibre substrates. Scientia Horticulture, 122(2). https://doi.org/10.1016/j.scienta.2009.05.006
FAO. (2021). Assessment of agricultural plastics and their sustainability. A call for action. Rome. https://doi.org/10.4060/cb7856en
Farha A.K., Yang O.O., Kim G., Li H.B., Zhu F., Liu H.Y., Gan R.Y., Corke H. (2020) Tannins as an alternative to antibiotics, Food Bioscience, 38, 100751 https://doi.org/10.1016/j.fbio.2020.100751
Rezvani M., Nadimi S., Zaefarian F, Chauhan B.S. (2021). Environmental factors affecting seed germination and seedling emergence of three Phalaris species, Crop Protection, 148. https://doi.org/10.1016/j.cropro.2021.105743
Sirisangsawang, R., & Phetyim, N. (2023) Optimization of tannin extraction from coconut coir through response surface methodology. Heliyon, 9(2), https://doi.org/10.1016/j.heliyon.2023.e13377
Tiquia, S. (2010). Reduction of compost phytotoxicity during the process of decomposition. Chemosphere, 79(5), 506–512. https://doi.org/10.1016/j.chemosphere.2010.02.040
Torillo, J.E. Jr., & Mihara, M. (2012) Nitrogen and phosphorus released from coconut husk during retting treatment. International Journal of Environmental and Rural Development, 3(2), 94-98. https://doi.org/10.32115/ijerd.3.2_94
Wang, G., Qu, W., Huang, H., Wu, G. & Yan, H. (2000). Evaluation of coconut coir dust/modified urea-formaldehyde resins as a growing medium for pepper seedlings, Hort Technology, 30(3), 322-330. https://doi.org/10.21273/HORTTECH04542-19