การกักเก็บคาร์บอนของไม้ต้นบริเวณเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ ในพื้นที่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ จังหวัดนครสวรรค์

Main Article Content

ธนิษฐา กันทะวงค์

Abstract

การเพิ่มขึ้นของก๊าซเรือนกระจก โดยเฉพาะก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ส่งผลต่อสถานการณ์โลกร้อนอย่างรุนแรง การศึกษาการกักเก็บคาร์บอนจึงเป็นวิธีที่หลายภาคส่วนใช้ส่งเสริมให้เกิดกิจกรรมเพื่อเป็นข้อมูลในการจัดทำบัญชีก๊าซเรือนกระจก พื้นที่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ จังหวัดนครสวรรค์เป็นพื้นที่ป่าเต็งรังอยู่ใกล้เขตชุมชนและพื้นที่เกษตรกรรมและยังไม่มีข้อมูลการกักเก็บคาร์บอนในพื้นที่ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสํารวจพันธุ์ไม้ในพื้นที่เส้นทางศึกษาธรรมชาติเพื่อทราบปริมาณมวลชีวภาพของต้นไม้และทราบปริมาณการกักเก็บคาร์บอนในพื้นที่โครงการฯ ขนาดพื้นที่ 3.68 เฮกตาร์ โดยการสุ่มวางแปลงตัวอย่าง 3 แปลง  คิดเป็นร้อยละ 13 ของพื้นที่ทั้งหมด โดยวางแปลงจากความหนาแน่นของจำนวนต้นไม้ 3 ระดับ คือ ความหนาแน่นมาก ปานกลาง และน้อย ขนาด 0.16 เฮกตาร์ ผลการศึกษา พบว่า บริเวณพื้นที่ศึกษาพบพรรณไม้ทั้งหมด 409 ต้น 48 ชนิด 42 สกุล 24 วงศ์ โดยพันธุ์ไม้ที่พบมากที่สุด คือ เหียง (Dipterocarpus obtusifolius Teijsm. ex Miq.) มีค่าดัชนีความสำคัญของพันธุ์ไม้เท่ากับ 55.18 รองลงมา คือ ประดู่ป่า (Pterocarpus macrocarpus Kurz) 22.49 ตามด้วย กุ๊ก (Lannea coromandelica (Houtt.) Merr.) งิ้วป่า (Bombax anceps Pierre var. Anceps) และตะแบกเลือด (Terminalia corticosa Pierre ex Laness.) 21.48, 19.77, 11.93 ตามลำดับ มวลชีวภาพเฉลี่ย 173.88 ตัน/เฮกตาร์ มวลชีวภาพรวม 639.86 ตัน สามารถกักเก็บคาร์บอนได้เฉลี่ย 81.71 ตัน/เฮกตาร์ กักเก็บคาร์บอนได้ทั้งหมด 300.69 ตัน ข้อมูลที่ได้นี้สามารถนำไปส่งเสริมการเพิ่มพื้นที่ป่าและเป็นฐานข้อมูลทรัพยากรป่าไม้ของสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 12 (นครสวรรค์) กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ต่อไป

Article Details

Section
บทความวิจัย

References

กลุ่มงานวิจัยระบบนิเวศป่าไม้และสิ่งแวดล้อม. (2566). ข้อมูลภาคสนามการศึกษาการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศและการกักเก็บคาร์บอนในพื้นที่ป่าไม้ของประเทศไทย. สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช, กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. https://portal.dnp.go.th/Content/ForestResearch?

contentId=14342.

กองพัฒนาป่าไม้ชุมชน. (2557). คู่มือการสำรวจการกักเก็บคาร์บอนและความหลากหลายทางชีวภาพในป่าชุมชน. สำนักจัดการป่าชุมชน กรมป่าไม้. https://www.forest.go.th/communityevelopment/2020/03/09/958/.

ชิงชัย วิริยะบัญชา. (2563). คู่มือการศึกษาแหล่งสะสมคาร์บอนในพื้นที่ป่าธรรมชาติ. กลุ่มงานวิจัยระบบนิเวศป่าไม้และสิ่งแวดล้อม, สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช, กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. https://www.nstda.or.th/library/opac/Book/49477?c=1707328020

ชัญษา กันฉิ่ง, ณัฐพงษ์ ฟองมณี, ปาริฉัตร ประพัฒน์, สิทธิศักดิ์ ปิ่นมงคลกุล, เกื้อกูล กุสสลานุภาพ และ บัณฑิตา ใจปินตา. (2559). การกักเก็บคาร์บอนในมวลชีวภาพของพืชที่มีเนื้อไม้ ป่าชุมชนห้วยข้าวก่่า อำเภอจุน จังหวัดพะเยา. ใน Biological and Cultural Diversity : Living in Harmony การประชุมวิชาการการบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 3. (หน้า 89-95). น่าน: โรงแรม ดิอิมเพรส จังหวัดน่าน. https://www.biodconference.org/wp-content/uploads/2017/03/14.-page-089-095.pdf

ณิชาภัทร์ ดวงทิพย์, นิวัติ อนงค์รักษ์, ปณิดา กาจีนะ และ สุนทร คำยอง. (2565). โครงสร้างสังคมพืชและปริมาณการกักเก็บคาร์บอนในป่าชุมชนป่าเต็งรังที่ใช้ใบพลวงเป็นของป่า ในภาคเหนือของประเทศไทย. วารสารวิจัยนิเวศวิทยาป่าไม้เมืองไทย, 6(1), 13-30. https://tferj.forest.ku.ac.th/jn_file/ fA4GCyQimTKMDpEn.pdf

ถิรายุ เกลี้ยงสะอาด. (2562). การดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และการกักเก็บคาร์บอนของไม้ต้นไม้ในสวนสันติภาพ กรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ธรรมนูญ เต็มไชย, ทรงธรรม สุขสว่าง, พันธุ์ทิพา ใจแก้ว, เพชรรัตน์ ดีแก้ว, ปิยภรณ์ มาตผาง, พนิดา ปุริตัง และ ณัฐชานนท์ ปุ๊ล๊ะ. (2560ก). ปริมาณกักเก็บคาร์บอนในพื้นที่โครงการก่อสร้างเขื่อนแม่วงก์ จังหวัดนครสวรรค์และกำแพงเพชร. ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมอุทยานแห่งชาติ จังหวัดเพชรบุรี, กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. https://www.biodconference.org/wp-content/uploads/2017/07/23.-นายธรรมนูญ-เต็มไชย.pdf

ธรรมนูญ เต็มไชย, เพชรรัตน์ ดีแก้ว, มยุรี แสงสว่าง, พันธุ์ทิพา ใจแก้ว, ดำรงศักดิ์ เฮงสว่าง, ชุมพล แก้วเกตุ, สว่างพงษ์ วรรณมณี, ณัฐนันท์ จิตรา, ปิยธิดา ทองสุข, ปิยภรณ์ มาตผาง, ตะหลก ทองเกิด, สุมาลี จีวพงษ์, ชะนุ้ย บัวศรี, ณัฐชานนท์ ปุ๊ล๊ะ, สุขวินัย คำกลั่น และ เชฐพงษ์ ทับทิมแดง. (2560ข). รายงานการศึกษาการสะสมคาร์บอนในพื้นที่มรดกอาเซียน: อุทยานแห่งชาติกุยบุรี. วารสารนภาเพชร, 1(1), 38-52. https://www.nprcenter.com/nprc1/downloads/Report%20on%20a%20carbon%20storage%20survey%20in%20Kuiburi%20national%20park,%20an%20ASEAN%20heritage%20site.pdf

นวลปราง นวลอุไร. (2548). การเปรียบเทียบค่าดัชนีพื้นที่ใบ มวลชีวภาพและปริมาณคาร์บอนสะสมที่อยู่เหนือพื้นดินของระบบนิเวศป่าจากการสำรวจด้านป่าไม้และการรับรู้จากระยะไกลบริเวณอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ประเทศไทย. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภานุพงศ์ พรหมมารัตน์ และ ดิเรกฤทธิ์ บัวเวช. (2565). การกักเก็บคาร์บอนในดินและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของป่าเบญจพรรณและป่าเต็งรังในอุทยานแห่งชาติเอราวัณ จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, 17(2), 73-90. https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/uruj/article/view/24830 6/170040

ยุพเยาว์ โตคีรี, ชวนพิศ จารัตน์, ดวงตา โนวาเชค และ น้องนุช สารภี. (2563). การกักเก็บคาร์บอนในมวลชีวภาพของไม้ต้นในป่าชุมชนบ้านแสงตะวัน จังหวัดสุรินทร์. PSRU Journal of Science and Technology, 5(3), 23-36. https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/Scipsru/article/view/ 240748/165511

สถาบันนวัตกรรมอุทยานแห่งชาติและพื้นที่คุ้มครอง. (2557, 17 กุมภาพันธ์). การศึกษาต้นทุนทางธรรมชาติ โดยใช้โปรแกรม InVEST ปีงบประมาณ 2557. https://www.slideshare.net/slideshow/invest-44769862/44769862.

องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก. (2560, 14 กันยายน). ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับก๊าซเรือนกระจก. https://ghgims.tgo.or.th/atmosphere/knowledgecontent.php?knowledgeid=2

องค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว. (2562, 24 มิถุนายน). แหล่งท่องเที่ยว เขาพระ อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์. https://www.nongbua.go.th/frontpage.

อัศมน ลิ่มสกุล, สุนทร งดงาม, นันท์ธีรา ศรีบุรินทร์, ภาฤทธิ์ดา สุวรรณี และ รัชนีกร ไพศาล. (2561). การพัฒนาวิธีการประเมินการกักเก็บและกระบวนการแลกเปลี่ยนคาร์บอน ภายใต้โครงการพัฒนาเครื่องมือ/วิธีการประเมินกักเก็บและกระบวนการ แลกเปลี่ยนคาร์บอน. กลุ่มการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ, ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม, กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม. https://eservice.dcce.go.th/storage/Media/C201912236906.pdf.

IPCC (Intergovernmental Panel on Climate Change). (2006). IPCC Guidelines for National Greenhouse Ges Inventories. International Panel on Climate Change, IGES. Hayama, Japan. https://www.ipcc-nggip.iges.or.jp/public/2006gl/

Ogawa, H., Yoda, K., Ogino, K., & Kira, T. (1965). Comparative ecological studies on three main types of forest vegetation in Thailand. II. Plant biomass. Nature and Life in Southeast Asia, 4, 49-80.