เปรียบเทียบความสามารถในการดูดซับของถ่านกัมมันต์ที่ได้รับจาก วิธีการผลิตและวัสดุที่แตกต่างกัน

Main Article Content

พีระพงษ์ เนียมเสวก

Abstract

ได้ศึกษาหาสภาวะที่เหมาะสมสำหรับการผลิตถ่านกัมกัมมันต์จากวิธีการผลิต 2 วิธีและวัสดุ ที่แตกต่างกัน 3 ชนิด คือการผลิตโดยวิธีทางกายภาพโดยใช้ไอน้ำความร้อนสูงที่อุณหภูมิ 600-800 °C และการผลิตโดยวิธีชุบด้วยซิงค์คลอไรด์ที่ที่อุณหภูมิ 600-800 °Cโดยใช้เวลาในการคาร์บอไนซ์ 3 ชั่วโมง ในวัสดุ 3 ชนิดได้แก่ กะลามะพร้าว เปลือกทุเรียน และเปลือกมังคุด สภาวะที่เหมาะสม ในด้านต่าง ๆ คือ ด้านปริมาณความชื้น ถ่านที่ผลิตจากกะลามะพร้าวผลิตโดยวิธีไอน้ำความร้อนสูง ที่อุณหภูมิ 600 °C มีปริมาณความชื้นน้อยที่สุดมีค่าเท่ากับร้อยละ 6.48 ด้านปริมาณความหนาแน่น เชิงปริมาณ คือถ่านที่ผลิตจากเปลือกทุเรียนโดยวิธีไอน้ำความร้อนสูงที่อุณหภูมิ 800 °C มีความหนาแน่น น้อยที่สุด มีค่าเท่ากับ 0.458 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร ด้านปริมาณเถ้า คือ ถ่านที่ผลิตจากเปลือกทุเรียนโดยวิธีไอน้ำความร้อนสูงที่อุณหภูมิ 800 °C มีค่าต่ำสุด มีค่าเท่ากับ ร้อยละ 11.61 ค่าไอโอดีนนัมเบอร์ คือถ่านที่ผลิตจากเปลือกทุเรียนโดยวิธีไอน้ำความร้อนสูง ที่อุณหภูมิ 800 °C มีค่าเท่ากับ 917.44 กล่าวโดยสรุปถ่านกัมมันต์ที่มีคุณสมบัติดีที่สุดคือถ่านกัมมันต์ ที่ผลิตจากวัสดุเปลือกทุเรียนโดยวิธีไอน้ำความร้อนสูงที่อุณหภูมิ 800 °C

Article Details

Section
บทความวิจัย