การศึกษาระบบตัวทำละลายที่เหมาะสมของการสกัดและปริมาณฟีนอลิกฟลาโวนอยด์ และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดจากใบดาวเรือง

Main Article Content

ปิยนุช เจริญผล และ กาญจนา วงศ์กระจ่าง

Abstract

บทคัดย่อ

          วัตถุประสงค์ของการศึกษา คือ ศึกษาระบบตัวทำละลายที่เหมาะสมของการสกัด เพื่อวิเคราะห์หาปริมาณฟีนอลิกฟลาโวนอยด์ และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของใบดาวเรืองสดซึ่งยังไม่เคยมีรายงาน โดยใช้ระบบตัวทำละลายที่แตกต่างกันทั้งหมด 12 ระบบ พบว่า สารสกัดของระบบ 10% EtOH/EtOAcได้ปริมาณสารสกัดมากที่สุดคือร้อยละ 54ซึ่งสูงกว่าระบบอื่นเป็น 13 เท่า และการวิเคราะห์หาปริมาณฟีนอลิกและฟลาโวนอยด์ และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระโดยใช้วิธี Folin-CiocalteuColorimatric assay, วิธีAluminium chloride colorimetric assay และวิธีDPPH assay ตามลำดับผลการทดลองพบว่า ระบบ 60% H2O/EtOH มีปริมาณฟีนอลิก (56.1 mgGAE/g crude extract, 10%) ระบบ 50% H2O/EtOHฟลาโวนอยด์(8.52 mgQGE /g crude extract, 17%) มากที่สุด และ 40% H2O/EtOH แสดงฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่ดีที่สุด (IC50= 12.44±0.01ppm)ดังนั้นระบบตัวทำละลายที่เหมาะสมที่สุด มี 2 ระบบ คือ 10% EtOH:EtOAc (ได้ปริมาณสารสกัดมากที่สุด) และ ระบบ 40-60% H2O/EtOH(แสดงค่าปริมาณฟินอลิกฟลาโวนอยด์ และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่ดีที่สุด)(Gallic acid คือ 5.80 ppm)

Article Details

Section
บทความวิจัย