การดูดซับสีย้อมผ้าด้วยถ่านกัมมันต์ที่ผลิตจากเปลือกไข่และเปลือกหอยแครงโดยวิธีกระตุ้นทางเคมี

Main Article Content

วิรังรอง แสงอรุณเลิศ

Abstract

งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาถ่านกัมมันต์ที่เตรียมขึ้นจากเปลือกไข่ผสมเปลือกหอยแครงซึ่งเป็นวัสดุเหลือทิ้งจากการบริโภค โดยการกระตุ้นทางเคมี การเตรียมถ่านกัมมันต์จากเปลือกไข่ผสมเปลือกหอยแครง เตรียมได้ 2 ขั้นตอน ขั้นแรกคือกระบวนการคาร์บอไนเซชันตามด้วยกระบวนการกระตุ้นทางเคมีด้วยซิงค์คลอไรด์ งานวิจัยนี้ได้ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อสภาวะการเตรียมถ่านกัมมันต์ เพื่อหาสภาวะที่เหมาะสมในการเตรียมถ่านกัมมันต์ความพรุนสูงจากเปลือกไข่ผสมเปลือกหอยแครงซึ่งได้แก่  อุณหภูมิ และอัตราส่วนโดยน้ำหนักระหว่างเปลือกไข่ผสมเปลือกหอยแครง จากการทดลองพบว่าสภาวะที่เหมาะสมสำหรับการเตรียมถ่านกัมมันต์จากเปลือกไข่ผสมเปลือกหอยแครง ได้แก่ อุณหภูมิในการเผาให้เป็นถ่าน 600 องศาเซลเซียส และอัตราส่วนโดยน้ำหนักระหว่างเปลือกไข่ผสมเปลือกหอยแครง 1:3 โดยใช้เวลาในการเผาให้เป็นถ่าน 30 นาที ที่สภาวะดังกล่าวได้ถ่านกัมมันต์ที่มีค่าไอโอดีนนัมเบอร์สูงที่สุดเท่ากับ   510.44 มิลลิกรัมต่อกรัม และพื้นที่ผิวจำเพาะ –BET เท่ากับ 717.45 ตารางเมตรต่อกรัมนอกจากนี้ได้นำถ่าน    กัมมันต์ที่เตรียมขึ้นจากเปลือกไข่ผสมเปลือกหอยแครงที่สภาวะที่เหมาะสมมากำจัดสีเมทิลเรดจากน้ำเสียสังเคราะห์โดยกระบวนการดูดซับ โดยศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถในการดูดซับสีเมทิลเรด ที่สภาวะต่างๆ ได้แก่ เวลาในการดูดซับ ปริมาณถ่านกัมมันต์ ความเข้มข้นของสารละลายเริ่มต้น ค่าความเป็นกรด-ด่างของสารละลาย และชนิดของถ่านกัมมันต์ ผลการวิจัยพบว่าถ่านกัมมันต์ที่เตรียมขึ้นมีประสิทธิภาพในการกำจัดสีเมทิลเรดได้ดีที่สุด คือ 64,471.79 มิลลิกรัมต่อกรัมของถ่านกัมมันต์ คิดเป็นร้อยละของการกำจัดสีย้อมเมทิลเรด 64.47 สภาวะที่เหมาะสมในการดูดซับคือ เวลาในการดูดซับ 60 นาที ปริมาณถ่านกัมมันต์ 0.5 กรัม ความเข้มข้นของสารละลายสีเมทิลเรดเริ่มต้นสูงสุด 300 มิลลิกรัมต่อลิตร และความเป็นกรดด่างของสารละลายสีเมทิลเรดที่สภาวะเป็นกรด

Article Details

Section
บทความวิจัย