การศึกษาผลของการใช้ e-Commerce ในการส่งเสริมการตลาด ของผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชนในท้องถิ่น
Main Article Content
Abstract
โครงการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ โดยทำการศึกษาผลของการใช้ e-Commerce ในการส่งเสริมการตลาดของผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชนในท้องถิ่น โดยจะนำผลที่ได้ไปใช้เป็นข้อมูลในการส่งเสริมการสร้างศักยภาพผลิตภัณฑ์ บริการ และบุคลากรที่สอดคล้องกับความต้องการของวิสาหกิจชุมชนในท้องถิ่น และเพื่อเป็นการสนับสนุนการยกระดับองค์ความรู้ และทักษะผู้ประกอบการทางด้านการตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชนกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้ประกอบการธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในจังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดอุทัยธานี และจังหวัดชัยนาท จำนวน 100 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ และได้รับการตอบกลับ จำนวน 87 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 87 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล การแจกแจงความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) การหาค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) สัมประสิทธิ์การกระจาย และตรวจหาคุณภาพเครื่องมือโดยหาค่าอำนาจจำแนกของเครื่องมือและค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นของเครื่องมือ ใช้ระยะเวลาในการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลแบบสอบถาม 90 วัน
ผลการวิจัยพบว่า
ส่วนใหญ่เป็นเจ้าของธุรกิจ คิดเป็นร้อยละ 74.7 อายุระหว่าง 31 – 40 ปี คิดเป็นร้อยละ 50.6 ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 51.7 ระดับการศึกษาปริญญาตรี มากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 70.1 ซึ่งอยู่ในกลุ่มธุรกิจในวิสาหกิจชุมชนประเภทสินค้าอุปโภคมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 81.6 โดยมีจำนวน
การจ้างงานในสถานประกอบการ ในช่วงจำนวน 0-30 คน คิดเป็นร้อยละ 83.9 นอกจากนี้ส่วนใหญ่รูปแบบการบริหารธุรกิจเป็นแบบครอบครัว คิดเป็นร้อยละ 87.4 และระยะในการเปิดกิจการดำเนินธุรกิจในระยะ 1-2 ปี มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 52.9 โดยดำเนินธุรกิจ e-Commerce โดยใช้เว็บไซต์ (Website) ในการทำการซื้อขายและแลกเปลี่ยนข้อมูล คิดเป็นร้อยละ 49.4 ซึ่งส่วนมากจะมีวิธีการสั่งจอง/สั่งซื้อสินค้าเป็นระบบอีเมล์ คิดเป็นร้อยละ 39.1 โดยมีความนิยมเลือกรูปแบบการชำระเงินโดยการโอนผ่านบัญชีธนาคาร และรูปแบบการจัดส่งสินค้าที่เลือกใช้มากที่สุด คือ การส่งทางไปรษณีย์ และสำหรับกลุ่มลูกค้าเป้าหมายเป็นบุคคลธรรมดา ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 26-35 ปี คิดเป็นร้อยละ 82.8 ระดับการศึกษาของลูกค้าจบการศึกษาระดับปริญญาตรีมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 77 และลูกค้าส่วนใหญ่เลือกรูปแบบการชำระเงินโดยโอนผ่านบัญชีธนาคาร คิดเป็นร้อยละ 94.3 รวมถึงลูกค้าส่วนใหญ่เลือกวิธีการจัดส่งสินค้าทางไปรษณีย์ คิดเป็นร้อยละ 79.3 ซึ่งผู้วิจัยได้นำคะแนนที่ถอดจากความคิดเห็นนำมาหาความสัมพันธ์แล้วพบว่า ผู้ประกอบการธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ มีความคิดเห็นด้วยกลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นในการให้ความสำคัญต่อประเด็นการตัดสินใจเลือกใช้ e - Commerce ในการส่งเสริมการตลาดของผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชนในท้องถิ่นโดยรวม อยู่ในระดับมาก