ผลการจัดการเรียนแบบใฝ่รู้ฯ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความพึงพอใจในการเรียนรายวิชาจุลชีววิทยาสิ่งแวดล้อม ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

Main Article Content

ทินพันธุ์ เนตรแพ

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการเรียนรู้  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  และความพึงพอใจ ก่อนเรียนและหลังเรียนรายวิชาจุลชีววิทยาสิ่งแวดล้อม ของนักศึกษาที่ได้รับการจัดการเรียนแบบใฝ่รู้ด้วยเทคนิคการคิดเดี่ยว  คิดคู่  คิดร่วมกัน  เทคนิคแบบต่อภาพ และการใช้แผนผังทางปัญญาโดยกลุ่มตัวอย่างได้แก่นักศึกษาระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม ชั้นปีที่ 3 และชั้นปีที่ 4 ที่กำลังศึกษาอยู่ในปีการศึกษา 2556 จำนวน 35 คนโดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ (1) แผนการสอนรายวิชาจุลชีววิทยาสิ่งแวดล้อม โดยใช้การจัดการเรียนแบบใฝ่รู้ด้วยเทคนิคการคิดเดี่ยว  คิดคู่  คิดร่วมกัน  เทคนิคแบบต่อภาพ และการใช้แผนผังทางปัญญาที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพแล้วอยู่ในระดับเหมาะสมมาก (2) แบบประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้ จำนวน 25 ข้อ มีความตรงเชิงโครงสร้างและมีความเที่ยง .88 (3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 20 ข้อ มีอำนาจจำแนกระหว่าง .16-.70  ความยากง่ายระหว่าง .22-.93 และความเที่ยง .52 และ (4) แบบสอบถามความพึงพอใจในการเรียน จำนวน 15 ข้อ มีความเที่ยง .87  ซึ่งผลการวิจัยพบว่า การจัดการเรียนแบบใฝ่รู้ด้วยเทคนิคการคิดเดี่ยว  คิดคู่  คิดร่วมกัน  เทคนิคแบบต่อภาพ และการใช้แผนผังทางปัญญา ทำให้ พฤติกรรมการเรียนรู้ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาจุลชีววิทยาสิ่งแวดล้อม ของนักศึกษาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนักศึกษามีความพึงพอใจในการเรียนในระดับมาก

Article Details

Section
บทความวิจัยในชั้นเรียน