ผลการจัดการเรียนแบบใฝ่รู้ฯ และความพึงพอใจในการเรียน รายวิชาจุลชีววิทยาและปรสิตวิทยา นักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
Main Article Content
Abstract
ผลของการจัดการเรียนแบบใฝ่รู้ของผู้วิจัยเองด้วย เทคนิคการคิดเดี่ยว คิดคู่ คิดร่วมกัน เทคนิคแบบต่อภาพ และการใช้แผนผังทางปัญญา ต่อพฤติกรรมการเรียนรู้ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความพึงพอใจในการเรียนรายวิชาจุลชีววิทยาและปรสิตวิทยา ต่อนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ ชั้นปีที่ 2 ที่กำลังศึกษาอยู่ในปีการศึกษา 2556 จำนวนทั้งหมด 39 คน เมื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการเรียนรู้และผลสัมฤทธิ์ (รวมถึงเปรียบเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 60) ของการเรียนรายวิชาจุลชีววิทยาและปรสิตวิทยา ก่อนและหลังเรียนของนักศึกษาที่ได้รับการจัดการเรียนแบบใฝ่รู้ด้วยเทคนิคดังกล่าวข้างต้น รวมทั้งการศึกษาความพึงพอใจในการเรียนของนักศึกษา โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ (1) แผนการสอนรายวิชาจุลชีววิทยาและปรสิตวิทยา สำหรับการเรียนแบบใฝ่รู้ด้วยเทคนิคการคิดเดี่ยว คิดคู่ คิดร่วมกัน เทคนิคแบบต่อภาพ และการใช้แผนผังทางปัญญาที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพแล้วอยู่ในเกณฑ์ที่มีความเหมาะสมมาก (2) แบบประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจในการเรียน ผลจากการวิจัยสามารถสรุปได้ดังนี้
1) พฤติกรรมการเรียนรู้รวมถึงผลสัมฤทธิ์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 60 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ
2) นักศึกษาที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคดังกล่าวข้างต้นมีความพึงพอใจในการเรียนในระดับมาก