ผลการจัดการเรียนรู้แบบใฝ่รู้ รายวิชา การประดิษฐ์ดอกไม้เลียนแบบธรรมชาติเพื่ออุตสาหกรรม โดยใช้เทคนิคการคิดเดี่ยว คิดคู่ ร่วมกันคิด และเทคนิคการสร้างแบบ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

Main Article Content

อัฐพงศ์ แสงงาม

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์  เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้แบบใฝ่รู้  เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาก่อนและหลังเรียน และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษา ต่อ รายวิชา  การประดิษฐ์ดอกไม้เลียนแบบธรรมชาติเพื่ออุตสาหกรรม  โดยใช้เทคนิคการคิดเดี่ยว คิดคู่ ร่วมกันคิด  และเทคนิคการสร้างแบบ   ระดับปริญญาตรี  มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์  ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่  นักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 4  ที่กำลังศึกษารายวิชา การประดิษฐ์ดอกไม้เลียนแบบธรรมชาติเพื่ออุตสาหกรรม  รหัสวิชา (4653201)  อยู่ในปีการศึกษา 2556 จำนวน 14  คน   ผลการวิจัยครั้งนี้พบว่าคะแนนเฉลี่ยวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้  คือนักศึกษา  14  คนมีค่าคะแนนเฉลี่ยรวมก่อนการจัดการเรียนรู้เท่ากับ  43.43  คะแนน  คิดเป็นร้อยละ 72.38  และมีค่าคะแนนเฉลี่ยรวมหลังการจัดการเรียนรู้เท่ากับ  52.79  คะแนน  คิดเป็นร้อยละ  87.98  นักศึกษามีค่าเฉลี่ยคะแนนวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการจัดการเรียนรู้  ( = 52.79)  สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้  ( = 43.43)   มีความพึงพอใจด้วยการจัดการเรียนรู้โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.70)     

Article Details

Section
บทความวิจัยในชั้นเรียน